ประเด็นน่าสนใจ
- มวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว
- ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
- ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีลมแรง
- ยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้มีฝนน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งทางตอนล่างของภาค
- ช่วง 15-17 ธ.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
เตือนฝนตกหนัก – คลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
กรมอุตุฯ ได้ออกประกาศ เรื่อง “ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ตอนล่าง” ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เมื่อเวลา 05.00 น. ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ในช่วง 15 – 17 ธ.ค. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ใกล้เกาะบอร์เนียว มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูลมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้
สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร สำหรับทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 15-17 ธ.ค. 2564
พยากรณ์อากาศ
ตั้งแต่เวลา 06.00 วันนี้ – 06.00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส
- บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส
- บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
อากาศเย็น กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
อากาศเย็น กับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ทางตอนบนของภาค: มีอากาศเย็นในตอนเช้า
ทางตอนล่างของภาค: มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
- อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
เมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
- อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
- ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
อากาศเย็น และมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
- ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-20 กม./ชม.
…
ผ่านปีใหม่ 2565 มาแล้ว สถานการณ์สภาพอากาศในประเทศไทย ยังคงได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศเย็น หรือความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาเป็นระลอก ๆ ทำให้สภาพอากาศยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว บริเวณประเทศไทยตอนบน แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่จะพัดเอาความชื้นจากอ่าวไทย เข้าไปยังบริเวณภาคใต้ ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง, ฝนตกหนักบางแห่งได้
ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 19 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส
ดังนั้นการติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศ สภาพอากาศวันนี้ จึงเป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพดินฟ้าอากาศ