ประเด็นน่าสนใจ
- คณะนักวิจัยชาวจีนพัฒนาฟิล์มสองชั้นทนความร้อนวัสดุพอลิเมอร์นาโนคอมโพสิตรุ่นใหม่ ใช้กับพื้นผิวภายนอกของยานอวกาศได้
- ปัจจุบันฟิล์มทนความร้อนวัสดุพอลิเมอร์คอมโพสิตทั่วไปถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในการปกป้องยานอวกาศ แต่ยังไม่ทนทานต่อออกซิเจนอะตอมในอวกาศ
- โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสารเนเคอร์สองชั้นซึ่งอยู่ในหอยมุก ที่มีความหนาแน่นสูงขึ้น
คณะนักวิจัยชาวจีนพัฒนาฟิล์มสองชั้นทนความร้อนวัสดุพอลิเมอร์นาโนคอมโพสิตรุ่นใหม่ (double-layer polyimide nanocomposite film) โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นผิวภายนอกของยานอวกาศได้
ปัจจุบันฟิล์มทนความร้อนวัสดุพอลิเมอร์คอมโพสิตทั่วไปถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในการปกป้องยานอวกาศจากสภาวะไม่เอื้ออำนวยของวงโคจรระดับต่ำของโลก เนื่องจากมีประสิทธิภาพด้านคุณสมบัติทางกลที่โดดเด่น มีความร้อนคงที่ และทนทานต่อสารเคมี ทว่าวัสดุดังกล่าวยังไม่ทนทานต่อออกซิเจนอะตอม (atomic oxygen) ในอวกาศ ซึ่งส่งผลให้คุณสมบัติทางกายภาพและทางกลลดลงอย่างรวดเร็ว
บทความวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารแอดวานซ์ แมตทีเรียลส์ (Advanced Materials) ระบุว่าคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (USTC) สร้างฟิล์มทนความร้อนวัสดุพอลิเมอร์นาโนคอมโพสิตขึ้นใหม่ ซึ่งมีคุณสมบัติทางกลและความทนทานต่อออกซิเจนอะตอมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผ่านการผสมไมกานาโนชีต (mica nanosheets) กับโพลิเอมายด์ลงในโครงสร้างที่แปลกใหม่ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสารเนเคอร์สองชั้นซึ่งอยู่ในหอยมุก ที่มีความหนาแน่นสูงขึ้น
ทั้งนี้ บทความเผยว่าฟิล์มชนิดดังกล่าวต้านทานออกซิเจนอะตอม รังสีอัลตราไวโอเลต และเศษซากอวกาศได้ อีกทั้งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าโพลิเอมายด์บริสุทธิ์ โพลิเอมายด์-ไมกาแบบชั้นเดียว และฟิล์มพอลิเอไมด์คอมโพสิตชนิดอื่นที่มีรายงานก่อนหน้านี้
ที่มา : Xinhua