ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล พายุเกย์

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล เล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งพายุเกย์ถล่มเมื่อ 30 ปีก่อน

นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล เล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งพายุเกย์ถล่มเมื่อ 30 ปีก่อน วันนี้ (6 ม.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Arak…

Home / NEWS / ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล เล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งพายุเกย์ถล่มเมื่อ 30 ปีก่อน

นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล เล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งพายุเกย์ถล่มเมื่อ 30 ปีก่อน

วันนี้ (6 ม.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Arak Wongworachat เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งพายุเกย์ถล่มเมื่อ 30 ปีก่อน โดยมีข้อความระบุไว้ว่า

“*เป็นหัวหน้าบัญชาการด้านการแพทย์ที่โรงพยาบาลปะทิว วิทยุสื่อสารใช้สั่งการประสานงานได้อย่างรวดเร็วดีที่สุดไม่ต้องกลัวหากสัญญานโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ทล่ม 30ปีก่อนก็มีวิทยุสื่อสารติดตัวตลอดเวลาคอยบัญชาการมาปาบึก ผมและหัวหน้างานรองลงไปกว่า50คนก็ใช้วิทยุสื่อสารในการบัญชาการคอยรับคำสั่งในการปฏิบัติ แต่ยุคนั้นไม่มีโทรศัพท์บ้าน ไม่มีเน็ท ไม่มีมือถือ

*การเตือนภัยสมัยก่อนยังไม่ทันสมัย ไม่ได้อพยพผู้คน เรือประมงไม่เข้าฝั่ง เช้ามาจึงมีศพลอยขึ้นฝั่งเป็นจำนวนมากกว่าพันคน

*ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่บ้านไม้ไม่แข็งแรง จึงมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจากบ้านเรือนลงทับเป็นจำนวนมาก บ้านแทบทุกหลังหลังคาเปิดถูกพายุยกไปทั้งหลัง ที่จะช่วยให้รอดตายคือส้วมเพราะเป็นปูนแข็งแรงที่สุด

*พายุมาสองระลอกชุดแรกมาทางทิศตะวันตกแต่แรงจนต้นไม้ล้มบ้านเรือนพังทะลาย และเงียบไปชั่วขณะมีผู้คนบางส่วนรีบออกนอกบ้านไปดูหรือจะกลับบ้าน คราวนี้มาอีกรอบของจริงจากทิศตะวันออก พัดยาวนานกว่าสามชั่วโมง ต้นไม้ วัสดุ กระเบื้องหลังคา พัดใส่ผู้คนบาดเจ็บน้อยจนถึงสาหัสจำนวนมาก เวลามีพายุต้องไม่ออกจากบ้านและต้องอยู่ในบ้านที่แข็งแรงมั่นคง

*ในรัศมี100กิโลเมตรจากศูนย์กลางพายุ ต้นไม้แทบไม่เหลือราบเป็นหน้ากลอง

*โรงพยาบาลอำเภอปะทิวสมัยก่อนเล็กๆ 20เตียง อยู่ห่างทะเลเพียง5 กิโลเมตร ไม่แข็งแรง พังจนใช้การไม่ได้ แต่มีผู้บาดเจ็บถูกส่งมาเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่แบกหามกันมา เพราะรถและถนนใช้การไม่ได้ต้นไม้ใหญ่หักโค่นขวางเต็มไปหมด แพทย์พยาบาลก็ดูแลผู้ป่วยไปตามสภาพที่ทำได้ แทบไม่ได้หลับนอน

*ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร ไม่มีเสื้อผ้าเพราะเปียกและพายุพัดหายไปหมด

*เร่งสร้างโรงพยาบาลสนามวิทยุติดต่อทหารขอส่งเต้นท์สนามช่วยกันฝนรักษาคนเจ็บเป็นการด่วนและเก็บเศษไม้ สังกะสี กระเบื้องที่พอใช้การได้มาทำเพิงพักรักษาผู้ป่วยที่หลับนอนคนไข้ ต้องผ่าตัด ทำแผล ทำคลอดกันในโรงพยาบาลสนาม

*ระยะต่อมาใช้ตู้คอนเทนเนอร์เป็นโรงพยาบาลสนามแทนเต้นท์เพื่อให้ผ่าตัดรักษาได้สะดวกขึ้น

*การสื่อสารใช้วิทยุผ่านคลื่น พอสว.ติดต่อขอความช่วยเหลือและรักษาคนไข้ผู้ประสบภัยในพื้นห่างไกลช่วยชีวิตได้มาก

*จนท.ต้องแบ่งอาหาร น้ำ ให้ผู้ป่วย เด็ก คนชรา ใช้น้ำเกลือที่เหลือกินแทนน้ำอยู่หลายวัน พร้อมกับใช้ภาชนะรองรับน้ำฝนเก็บไว้

*ยา เวชภัณฑ์ถูกน้ำท่วมหมดแต่ไม่ทิ้งคัดเอามารักษาคนไข้ให้หายได้

*เสื้อผ้าใช้ชุดวอร์มชุดเดียวกว่า2สัปดาห์คนอื่นก็เช่นกัน

*ส่งคนไข้ไปตัวจังหวัดก็ไม่ได้เพราะเส้นทางขาดต้นไม้กีดขวาง น้ำท่วมถนนหลักกว่าสามกิโลเมตร ในโรงพยาบาลชุมพรน้ำท่วมหนัก ไฟฟ้าดับ เข้าไม่ถึง จึงต้องรักษาไปเท่าที่ทำได้ช่วยชีวิตไว้ก่อน หน่วยแพทย์ข้างนอกก็เข้าไม่ถึง

*ทางการส่งอาหารมาผ่านการหย่อนลงทางเฮลิคอปเตอร์ อาหารสดไม่มี อาหารแห้งก็ปรุงยากฝนตกหนักทุกวัน ต้องก่อฝืนหาไม้แห้งหลบฝนพอใช้การได้

*ต่อมาได้ขอรถเอกซเรย์เคลื่อนที่จาก รพ.ราชวิถีมาสนับสนุนเพราะมีคนไข้กระดูกหัก ปอดบวมเด็ก คนชราที่ต้องตากฝนเปียกน้ำเป็นเวลานาน รถพยาบาลจาก รพ.อรัญประเทศเป็นรถตู้โฟวิลล์ได้รับสนับสนุนจาก who

*โรงพยาบาลในพื้นที่ต้องเป็นหลักฟื้นตัวตั้งหลักให้เร็ว จากภายนอกมาสนับสนุนที่ไม่เป็นภาระ

*การเตรียมการสมัยก่อนแทบไม่ได้เตรียมอะไรเลย แต่เมื่อเกิดเหตุแล้วต้องเดินหน้าแก่ปัญหาประชาชนอย่างมีสติรวมพลังกันให้ได้

*เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่ถอดใจไม่งั้นประชาชนจะขวัญเสีย

*การสื่อสารยุคนี้ดีมากๆการเตรียมการไม่ใช่แค่100%แต่ต้อง200%ในทุกเรื่องที่สำคัญ

*น้ำท่วมไม่ร้ายแรงเท่าพายุ ภาคใต้ใกล้ทะเล วันเดียวก็แห้งแล้วภาคใต้ภูเขาทิศตะวันตก ถนนสี่เลนสายหลักเท่ากับเขื่อนดีๆนี่เอง แถมประชาชนสร้างบ้านถมแก้มลิงหายไปเรื่อยๆ แต่เราต้องอยู่กับน้ำให้ได้

*มาเจอปาบึกปีนี้ที่สิชล ยังจำเรื่องราวที่ปะทิวได้หมด รพ.เสียหายทั้งหลังซ่อมไม่ได้ ต้องสร้างใหม่ทดแทนทั้งหมด ใช้เวลาถึง4ปี ใน4ปีต้องนอนในตู้คอนเทนเนอร์และเพิงหมาแหงน เต้นท์สนามรักษาผู้ป่วย แต่เราก็ไม่ทิ้งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ต้องไม่เอาความลำบากตนเองมาเรียกร้องอะไรมากเกินไป

*ต้องรีบช่วยเหลือประชาชน ประสบการณ์เวลาเกิดเหตุแบบนี้หน่วยงานภายนอกจะระดมอาสามาในสองสัปดาห์แรกหรืออย่างมากไม่เกินหนึ่งเดือน แต่ชาวบ้านยังไม่ฟื้นตัว หน่วยงานในพื้นที่ต้องเป็นที่พึ่งประชาชนอย่าให้รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง

*การเยียวยาด้านจิตใจกลุ่มเสี่ยงต้องรีบวางแผนดำเนินการ
มีเรื่องเล่าถอดบทเรียนอีกมาก วันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับผ่านมา30ปีแล้วยังจำได้ไม่ลืมตอนนั้นอายุแค่20ปลายๆเท่านั้นจบแพทย์มาทำงานรับราชการได้ปีเดียว”

ขอบคุณ Arak Wongworachat