ข่าวMono29 ค้าสัตว์ป่า ซื้อขายสัตว์ป่า สัตว์ป่า

ลักลอบค้าสัตว์ป่า ปัญหาที่ยังคงอยู่

ลักลอบค้าสัตว์ป่า ปัญหาอาชญากรรมที่มีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าการค้ายาเสพติดและอาวุธสงคราม ปัญหาการค้าสัตว์ป่า เป็นปัญหาอาชญากรรมที่มีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าการค้ายาเสพติดและอาวุธสงคราม ซึ่งเป็นภัยคุกคามของทุกประเทศ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยที่ค่อนข้างได้รับการโจมตีเรื่องนี้อย่างรุนแรงว่า เป็นประเทศศูนย์กลางการค้าสัตว์ป่าอันดับต้นๆของโลก แม้ไทยจะเป็นประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตส ที่มีการป้องกันปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย แต่รูปแบบ การซื้อขายสัตว์ป่าที่เปลี่ยนไปในสังคมออนไลน์ จึงทำได้ง่ายและจับกุมขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าได้ยากขึ้น ติดตามจากรายงาน ปี 2559…

Home / NEWS / ลักลอบค้าสัตว์ป่า ปัญหาที่ยังคงอยู่

ลักลอบค้าสัตว์ป่า ปัญหาอาชญากรรมที่มีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าการค้ายาเสพติดและอาวุธสงคราม

ปัญหาการค้าสัตว์ป่า เป็นปัญหาอาชญากรรมที่มีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าการค้ายาเสพติดและอาวุธสงคราม ซึ่งเป็นภัยคุกคามของทุกประเทศ หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยที่ค่อนข้างได้รับการโจมตีเรื่องนี้อย่างรุนแรงว่า เป็นประเทศศูนย์กลางการค้าสัตว์ป่าอันดับต้นๆของโลก

แม้ไทยจะเป็นประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตส ที่มีการป้องกันปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย แต่รูปแบบ การซื้อขายสัตว์ป่าที่เปลี่ยนไปในสังคมออนไลน์ จึงทำได้ง่ายและจับกุมขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าได้ยากขึ้น ติดตามจากรายงาน

ปี 2559 The Guardian สื่อยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ ระบุถึงการค้าสัตว์ป่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า ไทย-ลาว-เวียดนาม มีการอาศัยความร่วมมือของนักธุรกิจ ผู้มีอิทธิพล และข้าราชการระดับสูง เฉพาะปี 2014 ที่มีข้อมูลชัดเจน รัฐบาลลาวมีส่วนออกใบอนุญาตให้บริษัทเอกชนในลาวค้าขายชิ้นส่วนสัตว์ป่าผิดกฎหมายมีมูลค่าสูงถึง 45 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1500 ล้านบาท คิดเป็นซากเสือโคร่ง 165 ตัว นอแรดจากแรดกว่า 650 ตัว และช้างที่ถูกล่าเอางาอีกมากกว่า 16,000 ตัว

ในส่วนของประเทศไทย สถานการณ์สัตว์ป่าเองก็ยังน่าเป็นห่วง แม้จะมีการบังคับใช้กฎหมาย แต่ขบวนการค้าสัตว์ป่ายังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
โดยองค์กรคุ้มครองสัตว์ป่าระหว่างประเทศ หรือ TRAFFIC เปิดเผยรายงานผลวิจัยและสำรวจข้อมูลตลาดซื้อขายสัตว์ป่าผิดกฎหมายผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฉพาะที่เก็บข้อมูล มิ.ย. 2559 พบว่ามีสัตว์ 1,521 ตัว จาก 200 ชนิด โดยสัตว์ปีก ถูกเสนอขายมากที่สุด รวม 516 ตัว รองลงมา คือ นางอาย ถูกเสนอขาย 139 ตัว และเต่าเดือยแอฟริกัน จำนวน 115 ตัว

ขณะที่สถิติคดีเกี่ยวกับสัตว์ป่าของกลุ่มป่าตะวันตก ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพัน์พืช ตั้งแต่ปี 2553 – เดือนมกราคม 2561 พบการทำผิดคดีสัตว์ป่าทั้งหมดมีจำนวน 469 คดี ในจำนวนนี้ สัตว์ป่าหวงห้ามและไม่หวงห้ามกว่า 1.2 พันต้องตายลง

แม้ไทยจะเป็นประเทศภาคีอนุสัญญาไซเตส มีการป้องกันปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายทุกประเภท แต่ปัญหาคือ การซื้อขายสัตว์ป่าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้นทำได้ง่ายและจับกุมได้ยาก

ด้านการแก้ปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชร่วมกับตำรวจสากล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร ตั้งชุดเฉพาะกิจเหยี่ยวดงเพื่อปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่าทั้งเส้นทางทั่วไป และทางอินเตอร์เน็ต พร้อมกับเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ที่มีการปรับปรุงกฎหมายบางส่วนให้มีความเหมาะสม ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ปัญหาการลักลอบการค้าสัตว์ป่าได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่าอยู่ในชั้นการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และเมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว ทางคณะรัฐมนตรีส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาเป็นลำดับต่อไป

นอกจากนี้ในช่วงเดือนมีนาคม 2562 ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธฺพืช จะมีการจัดการประชุมในระดับภูมิภาคเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่า เพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้อย่างแท้จริง