ประเด็นสำคัญ
- เกาหลีใต้ปล่อยจรวด NURI ที่ได้พัฒนาและสร้างเองทั้งหมดในประเทศขึ้นสู่อวกาศ
- ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญของเกาหลีใต้และถือเป็นชาติที่ 7 ที่ปล่อยจรวดพร้อมสัมภาระขนาดเกิน 1 ตันขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ
- โดยโครงการนี้ใช้เวลาในการพัฒนากว่า 10 ปีและเงินลงทุนอีกกว่า 1.7 พันล้านเหรียญฯ
…
วันนี้ (21 ต.ค. 2564) ประเทศเกาหลีใต้ได้ปล่อยจรวด NURI หรือ KSLV II ขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่สู่อวกาศของเกาหลีใต้ เนื่องจากจรวดลำนี้ เป็นจรวดที่ได้รับการพัฒนาและผลิตในประเทศเกาหลีใต้ทั้งหมด
สำหรับจรวด NURI นี้เป็นจรวด แบบ 3 ตอนที่พัฒนาและออกแบบ โดยสถาบันวิจัยการบินอวกาศสาธารณรัฐเกาหลี หรือ KERI ทั้งหมด มีน้ำหนัก 200 ตัน ยาว 47.2 ม. ติดตั้งเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลว จำนวน 6 เครื่อง และได้บรรทุกดาวเทียมจำลอง 1.5 ตันขึ้นไปด้วย
โดยจรวด NURI ได้ถูกปล่อยตัวขึ้นสถานีปล่อยจรวดนาโร ในเขตโกฮึง จังหวัดช็อลลาใต้ ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศ ห่างจากกรุงโซลออกไปทางใต้ราว 470 กม.
หลังจากที่ถูกปล่อยขึ้นไปแล้ว จรวดจะเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ของคาบสมุทรเกาหลี และจะทิ้งตัวของ First Stage จะแยกตัวออกและตกห่างจากฐานปล่อยจรวดราว 413 กม. หลังจากนั้นเตรียมการแยกตัวในส่วนของ second stage ซึ่งหลังจากแยกตัวออกมาก็จะตกในทะเลห่างจากฐานปล่อยราว 2,800 กม.
หลังจากนั้นก็จะทำการปล่อยในส่วนของดาวเทียมจำลอง ที่ระดับความสูงราว 700 กม. เหนือพื้นดิน
ซึ่งที่ผ่านมาในโครงการนี้ เกาหลีใต้ใช้เวลากว่า 10 ปีในการพัฒนาระบบทั้งหมด และใช้เงินลงทุนไปอีกราว 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาจรวด NURI เพื่อก้าวขึ้นสู่ประเทศที่ 7 ในโลก ในการพัฒนาจรวดพร้อมบรรทุกสัมภาระขนาดมากกว่า1 ตัน ขึ้นสู่อวกาศ ตามหลัง รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย
ที่มา – 한국항공우주연구원