สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษากำลังประสบปัญหานักศึกษาลดลง จนทำให้ต้องปิดตัวหลักสูตรไปเป็นจำนวนไม่น้อย
ในปีช่วงปลายปี2560 ได้มีการเปิดเผยข้อมูลจากอาจารย์ และนักการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯปิดตัวไปแล้วกว่า 500 แห่ง และคาดว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า จะมีมหาวิทยาลัยทยอยปิดตัวอีกไม่น้อยกว่า 2,000 แห่ง
วิกฤตการขาดแคลนนักศึกษาไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ แต่ยังเกิดขึ้นกับอีกหลายๆประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นผลพวงจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ แต่ละมหาวิทยาลัยแข่งขันกันปรับปรุงหลักสูตร และเพิ่มวิชาน่าเรียนให้ทันสมัยดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมาย อาทิ วิชาโหราศาสตร์ / ศาสตร์แห่งความรัก และปรัชญากับการ์ตูน
ขณะที่อีกด้านหนึ่งกลับพบว่า อีกหลายมหาวิทยาลัยได้มีการปิดหลักสูตร และควบรวมหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อหวังเป็นทางรอดจากวิกฤตทางการศึกษาครั้งนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สกุลศรี ศรีสารคาม หัวหน้าสาขาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เปิดเผยมุมมองถึงการปรับตัวของบุคลากรทางการศึกษา ในฐานะอาจารย์ผู้สอนว่า การทำข้อมูลที่ยากให้กลายเป็นเรื่องเข้าใจง่ายเป็นสิ่งสำคัญ พร้อมทั้งมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความต้องการของผู้เรียน ก็จะทำให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จและตรงใจผู้เรียน
โดยสถาบันการศึกษาก็ต้องปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มุ่งเน้นการเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกประสบการณ์จริงเพื่อตอบโจทย์การทำงานในวิชาชีพให้ได้มากที่สุด
ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เคยได้กล่าวถึงออกวิกฤตอุดมศึกษาไทยในครั้งนี้ไว้ว่า นับจากนี้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวในช่วงวิกฤตสถาบันอุดมศึกษา ด้วยการยกระดับคุณภาพทางวิชาการให้อยู่ในระดับสากล พร้อมทั้งผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยกระทรวงการอุดมศึกษาที่ตั้งขึ้นใหม่ จะทำหน้าที่สนับสนุนงบประมาณในสาขา ที่แต่ละมหาวิทยาลัยเชี่ยวชาญ และตรงตามความ