มาตรการป้องกันโควิด-19 ศบค. โควิด-19

สรุปสาระสำคัญ ในการปรับมาตรการ ศบค. ล่าสุด ( 27 ก.ย.)

เริ่ม 1 ต.ค. นี้ เช่น ปรับเวลาเคอร์ฟิว, เปิดโรงหนัง, เล่นดนตรีในร้าน, เปิดร้านทำเล็บ-ร้านสัก ฯลฯ

Home / NEWS / สรุปสาระสำคัญ ในการปรับมาตรการ ศบค. ล่าสุด ( 27 ก.ย.)

ประเด็นสำคัญ

  • มีการปรับมาตรการในหลายเรื่องที่จะเกิดขึ้นในเดือน ต.ค. 2564 นี้
  • ปรับเวลาเคอร์ฟิว เป็น 22.00 – 04.00 น.
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ห้องสมุด, พิพิธภัณฑ์, ศูนย์การเรียนรู้, อุทยานวิทยาศาสตร์ เปิดได้
  • ร้านทำเล็บ ร้านสัก ร้านนวด สปา เปิดได้ ตามข้อกำหนด
  • โรงหนัง ห้าง ร้านสะดวกซื้อ เปิดได้ ถึง 21.00 น.
  • ร้านอาหารให้มีการเล่นดนตรีได้
  • กีฬาในร่ม / กลางแจ้ง เปิดได้ จัดแข่งขันแบบมีผู้ชมได้ ตามมาตรการ
  • ปรับการเดินทางเข้าประเทศของผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว
  • เตรียมแผนพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว ในระยะนำร่อง, ระยะที่ 1-2-3 ในช่วงปลายปีนี้
  • แผนจัดหาวัคซีนคาดว่าจะมีวัคซีนถึงธ.ค. รวม 178.2 ล้านโดส ตั้งเป้าฉีดให้ได้ครอบคลุมอย่างน้อย 80% ของประเทศ สำหรับเข็มแรก
  • เตรียมพร้อมจัดหาวัคซีนในปี 2565 กับทาง Astrazeneca 60 ล้านโดส, ไฟเซอร์ 30-50 ล้านโดส

วันนี้ ( 27 ก.ย. )  ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด19  ได้แถลงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ประจำวันนี้ โดยสถิติสถานการณ์ประจำวันในวันนี้ คือ

  • พบผู้ป่วยเพิ่ม 10,288 ราย รวมสะสม 1,571,926 ราย แบ่งเป็น
    • ผู้ป่วยรายใหม่จากระบบบริการ 9,180 ราย
    • จากการค้นหาเชิงรุก
    • ในเรือนจำ 127 ราย
    • ตปท. 12 ราย
  • หายป่วยเพิ่ม 12,494 ราย รวมหายแล้ว 1,435,401 ราย
  • เสียชีวิตเพิ่ม 101 ราย รวมเสียชีวิตแล้ว 16,368 ราย

ซึ่งแนวโน้มการระบาดในพื้นที่กรุงเทพ ปริมณทล และต่างจังหวัดมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา มีการประเมินสถานการณ์จากการคาดการณ์แนวโน้มของการระบาด ของโควิด-19 จากมาตรการล็อกดาวน์ ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ ทำให้แนวโน้มการติดเชื้อของผู้ป่วยรายใหม่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอัตราการเสียชีวิต

ซึ่งในระยะต่อไป ก็ยังคงมาตรการป้องกันต่อเนื่อง เพื่อให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยจะมีการเพิ่มมาตรการการป้องกันส่วนบุคคล ( Universal Prevention) มาตรการทางสังคม และการควบคุมการเดินทาง ร่วมกับมาตรการขององค์การ หรือ Covid Free Seeting และการคัดกรองด้วย ATK

4 มาตรการหลัก ๆ

สำหรับผลการประชุมศบค. ในวันนี้ มีประเด็นหลักๆ ที่สำคัญ 4 เรื่องด้วยกันคือ

การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

โดยที่ประชุมได้มีข้อสรุป เห็นสมควรให้มีการขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศเป็น ครั้งที่14 ตั้งแต่ 1 ต.ค. – 30 พ.ย. 2564 เนื่องจากการเตรียมการในการออก พ.ร.บ.โรคติดต่อ เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดนั้นยังไม่เรียบร้อย ทั้งการส่งต่องานให้กับหน่วยงานที่จะมารับช่วงต่อจาก ศบค. รวมถึงหน่วยงานระดับจังหวัด

ปรับมาตรการป้องกันและควบคุมโรค

เป็นการปรับมาตรการสำหรับกิจการ-กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปิดตามข้อกำหนดฉบับที่ 28 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด โดย

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก – เด็กก่อนวัยเรียน ให้เปิดได้ แต่ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด
  • ห้องสมุดสาธารณะ, ห้องสมุดชุมชน-เอกชน-บ้านหนังสือ
    เปิดได้แต่ต้องจำกัดจำนวน ห้ามรับประทานอาหาร
  • พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงโบราณสถาน เปิดได้แต่ต้องจำกัดจำนวน ห้ามรับประทานอาหาร
  • ศูนย์การเรียนรู้, อุทยานวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เปิดได้แต่ต้องจำกัดจำนวน ห้ามรับประทานอาหาร
  • ร้านทำเล็บ เปิดได้ แต่ต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า
  • ร้านสัก เปิดได้ ต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า, ลูกค้าได้รับวัคซีนครบ หรือมีผลตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ ในช่วง 72 ชม.
  • สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (นวด, สปา) เปิดดำเนินการได้ แต่ยังไม่อนุญาตให้เปิดบริการอบไอน้ำ โดยต้องนัดหมายล่วงหน้า จำกัดเวลาการให้บริการไม่เกิน 2 ชม. / คน ลูกค้าต้องได้รับวัคซีนครบหรือมีผลตรวจโควิดเป็นลบ ภายใน 72 ชม.
  • โรงภาพยนตร์ เปิดได้ถึง 21.00 น. จำนวนลูกค้าไม่เกิน 50% สวมหน้ากากตลอดเวลา และไม่รับประทานอาหารในโรงภาพยนตร์
  • การเล่นดนตรีในร้านอาหารให้ ให้ดำเนินการได้ โดยนักดนตรีไม่เกิน 5 คน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา อนุญาตให้ถอได้เฉพาะร้องเพลง หรือแสดง โดยห้ามคลุกคลี-สัมผัสกับลูกค้า
  • ศูนย์การแสดงสินค้า ศูนย์ประชุม ยังไม่ให้เปิดดำเนินการในขณะนี้

ปรับเงื่อนไขการควบคุม

ศบค. ได้มีการพิจารณาดังนี้คือ

  • ปรับลดเวลาเคอร์ฟิวส์ เป็น 22.00 น. – 04.00 น. เป็นเวลา 15 วันและจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้งหนึ่ง
  • ศูนย์การค้า ให้เปิดบริการได้ถึงเวลา 21.00 น. และให้สถาบันกวดวิชา ได้ โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดก่อน ส่วนโรงหนัง สปา ห้องออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ที่อยู่ภายในห้างให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้

    แต่ในส่วนการให้บริการตู้เกม ร้านเกม เครื่องเล่นเกม สวนสนุก สวนน้ำต่าง ๆ รวมถึงห้องประชุม ยังคงไม่อนุญาตให้เปิดให้บริการ
  • ร้านสะดวกซื้อสามารถเปิดให้บริการได้ถึง 21.00 น.
  • กีฬากลางแจ้ง / ในที่ร่ม เปิดดำเนินการได้ทุกประเภท ไม่เกิน 21.00 น โดยมีการจำกัดจำนวนตามขนาดสถานที่, ประเภทกีฬา
  • กีฬาในร่ม จัดแข่งขันได้ โดยต้องไม่มีผู้ชม ส่วนกีฬากลางแจ้งจัดแข่งขันได้ และมีผู้ชมได้ไม่เกิน 25% ของความจุ โดยผู้ชมต้องได้รับวัคซีนครบ หรือมีผลตรวจเป็นลบ ใน 72 ชม. ซึ่งกรณีที่มีการแข่งขัน จะต้องให้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดก่อน

ระดับพื้นที่สถานการณ์คงเดิม

สำหรับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในประเทศไทย หรือระดับพื้นที่สียังคงเดิม คือ พื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด, พื้นที่สีแดง 37 จังหวัด และพื้นที่สีส้ม 11 จังหวัด ซึ่งมาตรการก็จะมีการปรับตามมาตรการก่อนหน้านี้ ตามระดับสี

ปรับมาตรการสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ

สำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยนั้น ศบค.ได้มีการปรับมาตรการ โดยปรับลดระยะเวลาการกักตัว เป็นดังนี้

  • ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบถ้วนอย่างน้อย 14 วันแล้ว ให้กักตัว 7 วัน และมีการตรวจหาเชื้อในวันแรกที่มาถึง และครั้งที่สองคือ วันที่ 6-7 ของการกักตัว
  • ผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนครบตามกำหนด ที่มาทางอากาศ ให้กักตัวอย่างน้อย 10 วัน ตรวจาหเชื้อ 2 ครั้งในวันแรก และวันที่ 8 หรือ 9 ของการกักตัว
  • ผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนครบตามกำหนด ที่มาทางเรือ ให้กักตัวอย่างน้อย 14 วัน ตรวจหาเชื้อ 2 ครั้งเช่นกัน คือวันแรก และวันที่ 12-13 ของการกักตัว

นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับมาตรการในพื้นที่กักตัว ทั้ง Alternative Quaratine และ State Quarantine หรือ Organization Quarantine โดย

AQ – ให้มีการออกกำลังกายกลางแจ้ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานได้ รวมถึงการสั่งสินค้า/อาหารจากภายนอก นอกจากนี้ยังปรับให้มีการประชุมสำหรับกลุ่มนักธุรกิจที่เข้ามาระยะสั้นได้ โดยจะต้องมีการจองนัดหมายล่วงหน้า

SQ / OQ – ให้มีการออกกำลังกายกลางแจ้งได้ รวมทั้งการสั่งซื้อสินค้า/อาหารจากภายนอกได้

การเปิดพื้นที่ท่องเที่ยว

สถานการณ์ในประเทศไทย หากพิจารณาเป็นรายอำเภอแล้วพบว่า มีหลายพื้นที่ที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ บางพื้นที่มีการติดเชื้อจำนวนไม่มากนัก ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่สีเขียว

โดยจากข้อมูลดังกล่าว ทำให้มีการพิจารณาพื้นที่นำร่องที่เคยได้มีการวางแผนและเปิดไปในพื้นที่ก่อนหน้านี้คือ ภูเก็ต รวมถึงพื้นที่เชื่อมโยงอื่น ๆ อีก 7 พื้นที่ด้วยกัน

ซึ่งในรายพื้นที่เช่น เกาะสมุย มีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงกว่าภาพรวมของจังหวัด ทำให้มีศักยภาพในการเปิดพื้นที่นำร่อง โดยมีข้อกำหนดและพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า) ในด้านท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้

ซึ่งพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว จะมีการสามารถเปิดการบริการได้เพิ่มขึ้น มากขึ้น โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด

การจัดการวัคซีน

สำหรับสถานการณ์วัคซีนที่ได้มีการนำเข้ามาในประเทศ ได้มีแนวทางในการพิจารณาเลือกสูตรไขว้ สำหรับผู้ฉีดวัคซีนเข็มแรกเป็น Sinopharm ในลักษณะเดียวกันกับ Sinovac ไปยังวัคซีนชนิดอื่น ได้ ไม่ว่าจะเป็น Pfizer, Astrazeneca หรือการฉีดกระตุ้นในวัคซีนตัวอื่นในเข็มที่ 3

นอกจากนี้ คาดว่า วัคซีนจะมีเข้ามาในช่วง 3 เดือนที่เหลือ รวมกับที่มีการฉีดไปแล้ว จะทำให้มีวัคซีนในประเทศจำนวน 178.2 ล้านโดส ตามแผนการจัดหาที่วางแผนไว้

โดยนอกจากนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า มีการเสนอขายวัคซีนจากประเทศในสหภาพยุโรป ทั้งจากสเปน – ฮังการี ที่จะสามารถจัดหาได้เพิ่มเติม

ซึ่งในแผนการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ในช่วงต.ค.- ธ.ค. 64 นี้ คาดว่า แผนการจัดหาวัคซีนจะสามารถดำเนินการฉีดให้ครอบคลุมประชากรราว 62 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนประชากร โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก จะต้องครอบคลุมอย่างน้อย 80% ในเดือน ธ.ค. นี้ และผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มจะต้องครอบคลุมประชากร 70% ในเดือน ธ.ค. 64

สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็มแล้ว และผู้ที่เคยติดเชื้อและได้รับวัคซีนกระตุ้น 1 เข็มนั้น ก็จะมีแผนในการจัดหาวัคซีนกระตุ้นเพิ่มเติมให้อีกเดือนละ 1-2 ล้านโดส ในช่วงเดือน ต.ค. – ธ.ค. 64

ส่วนในปี 2565 นั้น มีแผนการจัดหาวัคซีน Astrazeneca อีก 60 ล้านโดส และวัคซีน Pfizer อีกจำนวน 30-50 ล้านโดส ซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจาและเงื่อนไข โดยหากมีผลวัคซีนในรุ่นใหม่ออกมา ก็จะมีการปรับเปลี่ยนวัคซีนเป็นรุ่นใหม่ เพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรวัคซีนกระตุ้นสำหรับในกลุ่มเด็ก อายุ 3-11 ปี และการกระตุ้นเข็มที่ 3