พบเลียงผา สัตว์ป่าสงวน พลัดหลงเข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 นายจรัส คำแพงหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จ.อุทัยธานี เผยว่า ได้รับแจ้งจากกำนันเฉลียว วัฒนธรรม กำนันตำบลน้ำรอบ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ว่ามีชาวบ้านหนองแหน หมู่…

Home / NEWS / พบเลียงผา สัตว์ป่าสงวน พลัดหลงเข้าไปอยู่ในหมู่บ้าน

ประเด็นน่าสนใจ

  • ชาวบ้านแจ้งพบเลียงผา อยู่บริเวณลำคลองวังรี
  • เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือไปอนุบาล เฝ้าระวัง และสังเกตอาการ ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้งแล้ว

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 นายจรัส คำแพงหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จ.อุทัยธานี เผยว่า ได้รับแจ้งจากกำนันเฉลียว วัฒนธรรม กำนันตำบลน้ำรอบ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ว่ามีชาวบ้านหนองแหน หมู่ 6 ตำบลประดู่ยืน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

แจ้งว่าพบเลียงผา อยู่บริเวณลำคลองวังรี หลังบ้านของชาวบ้าน บ้านหนองแหน หมู่ 6 ตำบลประดู่ยืน อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี จึงได้รีบออกไปพร้อมเจ้าหน้าที่ของสถานีเพาะ งสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่อช่วยเหลือและตรวจสอบเมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงจุดที่รับแจ้งพบเลียงผา อยู่ในคลอง เมื่อเลียงผา เห็นเจ้าหน้าที่ ได้วิ่งหนีลงไปในสระน้ำของชาวบ้าน หมดทางหนี เจ้าหน้าที่จึงใช้ตาข่ายเข้าล้อมจับสัตว์

ผลการตรวจสอบ พบว่า เป็นเลียงผา เพศผู้ จำนวน 1 ตัว อายุประมาณ 5-7 ปี น้ำหนักประมาณ 50-70 กิโลกรัม เป็นสัตว์ป่าสงวน หายาก มีเหลือน้อย อยู่เฉพาะที่ ใกล้สูญพันธุ์

จากนั้นนายสัตวแพทย์ไพโรจน์ พรมวัฒ สัตวแพทย์ประจำสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้ฉีดยาคลายกล้ามเนื้อ และให้ยาบำรุง แล้วเคลื่อนย้ายไปอนุบาล เฝ้าระวัง และสังเกตอาการ ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพื่อจะได้ปล่อยคืนสู่ป่าอนุรักษ์ต่อไป

สำหรับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุนนั้น ได้ประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อปี 2542 มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 13,052 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน จึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมยิ่งสำหรับเป็นถิ่นอาศัยของเลียงผา

เลียงผา เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 8 ตามพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 เป็นสัตว์กีบคู่ในวงศ์มหิงสาเช่น เดียวกับวัว ควาย แพะ แกะ อยู่ในวงศ์ย่อยแพะแกะ เลียงผาเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายแพะแต่มีรูปหน้ายาวกว่า มีลำตัวสั้นแต่ขายาว ตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขายาวต่อเนื่องทุกปี อาจยาวสูงสุด 32 เซนติเมตร เส้นรอบวงโคนเขาประมาณ 15 เซนติเมตร

ลักษณะของกะโหลกเมื่อเปรียบเทียบกับกวางผาที่มีกะโหลกโค้งเว้าแล้ว เลียงผามีกะโหลกแบน ขนตามลำตัวมีสีดำ แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีสีขาวแซม ขนมีทั้งที่เป็นสีดำและสีแดงขึ้นอยู่กับสภาพถิ่นที่อยู่อาศัย

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช