กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย น้ำล้นตลิ่ง เขื่อนเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยา

แจ้ง 10 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาและกรุงเทพฯ เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง

หลังเขื่อนเจ้าพระยามีความจำเป็นในการระบายน้ำเพิ่มขึ้น

Home / NEWS / แจ้ง 10 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาและกรุงเทพฯ เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง

ประเด็นสำคัญ

  • ปภ. แจ้งเตือน 10 จังหวัดในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง
  • เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เขื่อนเจ้าพระยามีความจำเป็นในการระบายน้ำเพิ่มขึ้น
  • คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำบริเวณท้ายน้ำ สูงขึ้นอีกราย 1 ม.
  • อาจจะทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ 10 จังหวัดได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร เกิดน้ำล

วันนี้ (24 ก.ย.64) เวลา 17.00 น. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 10 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูลการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา และประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ ระดับน้ำ และประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด ตลอดจนประสาน อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะผู้อำนวยการกลาง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำกับ กรมชลประทาน พบว่า

ในห้วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยมีฝนตกสะสมและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 24 – 26 กันยายน 2564 ส่งผลให้มีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น

กรมชลประทานจำเป็นต้องปรับเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 1 เมตร ในระหว่างวันที่ 24 – 26 กันยายน 2564

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสาน 10 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ตลอดจนศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูลการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้านที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหารริมน้ำ แพเรือโดยสารสาธารณะ เป็นต้น และประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด รวมถึงเตรียมพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม และระมัดระวังอันตรายจากการสัญจรทางน้ำ ตลอดจนประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง