ข่าวสดวันนี้ น้ำท่วม พายุปาบึก โรคระบาด

กรมควบคุมโรคเฝ้าระวัง 3 โรคสำคัญ หลังพายุถล่มภาคใต้

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวัง 3 โรคสำคัญ หลังจากที่ฝนตกหนัก และน้ำเริ่มลดลงในหลายจังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้ฉี่หนู และโรคจากยุงลาย โดยขอความร่วมมือประชาชนหลังน้ำลด ในขณะกลับเข้าบ้าน ขอให้สำรวจบริเวณโดยรอบตัวบ้าน และในชุมชน ตามภาชนะ หรือวัสดุต่าง ๆ ที่อาจมีน้ำขัง และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง พร้อมสั่งการหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ของโรคอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง วันนี้ (9 มกราคม 2562) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ได้กลับเข้าพักอาศัยในบ้านตนเอง หลังจากเหตุการณ์ลมพายุ และฝนตกหนักเข้าสู่ภาวะปกติ น้ำที่ท่วมขังเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง กรมควบคุมโรค เป็นห่วงสุขภาพประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะ 3 โรคสำคัญ ที่ประชาชนอาจเจ็บป่วย และพบได้ง่ายในช่วงน้ำลด ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้ฉี่หนู และโรคจากยุงลาย โรคอุจจาระร่วง มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ไม่สะอาด ค้างคืน มีแมลงวันตอม รวมถึงดื่มน้ำ หรือน้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยหมั่นล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนปรุงประกอบอาหาร และหลังการใช้ห้องน้ำ กำจัดขยะมูลฝอยเศษอาหารเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน รับประทานอาหารที่ปรุง “สุก ร้อน สะอาด” และควรรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมง หลังจากปรุงเสร็จ ดื่มน้ำสะอาด ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ส่วนโรคไข้ฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรสิส เนื่องจากสภาพพื้นดินในบริเวณที่พักอาศัย หรือทางเดินชื้นแฉะ เป็นแอ่งน้ำขัง เชื้อโรคอาจอยู่ตามบริเวณดังกล่าวได้ เชื้อจะสามารถเข้าทางบาดแผล หรือตามรอยถลอก รวมถึงผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานานได้ โดยในช่วงกลับเข้าบ้านจะพบขยะมูลฝอยในพื้นที่จำนวนมาก มักเป็นแหล่งอาศัยของหนู ซึ่งเป็นสัตว์นำโรคที่สำคัญของโรคดังกล่าว จึงขอให้ประชาชนได้ช่วยกันแยกขยะเปียก และขยะแห้ง ถุงเศษอาหารควรใส่ภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อป้องกันสัตว์กัดแทะ ควรแต่งกายให้มิดชิด สวมรองเท้าบูท และหน้ากากอนามัยเวลาเก็บขยะมูลฝอย ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนที่ชื้นแฉะ หากจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูท เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าสัมผัสน้ำ หรือดินโดยตรง นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย กล่าวอีกว่า อีกโรคที่สำคัญในช่วงน้ำลด คือ โรคจากยุงลาย โดยหลังจากฝนตกหนัก และน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เกิดน้ำขังตามภาชนะ หรือวัสดุต่าง ๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามมา อาจทำให้พบผู้ป่วยโรคจากยุงลายในพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงขอความร่วมมือประชาชนหลังจากน้ำลด และกลับเข้าบ้านแล้ว ขอให้สำรวจ และร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบริเวณโดยรอบตัวบ้าน และในชุมชน เพื่อดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ลดลง โดยขอให้ยึดหลัก “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาด โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค ได้สั่งการให้กองควบคุมโรค และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 5 จังหวัดราชบุรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 12 จังหวัดสงขลา ดำเนินการเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ของโรคอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

Home / NEWS / กรมควบคุมโรคเฝ้าระวัง 3 โรคสำคัญ หลังพายุถล่มภาคใต้

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวัง 3 โรคสำคัญ หลังจากที่ฝนตกหนัก และน้ำเริ่มลดลงในหลายจังหวัดทางภาคใต้ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้ฉี่หนู และโรคจากยุงลาย โดยขอความร่วมมือประชาชนหลังน้ำลด ในขณะกลับเข้าบ้าน ขอให้สำรวจบริเวณโดยรอบตัวบ้าน และในชุมชน ตามภาชนะ หรือวัสดุต่าง ๆ ที่อาจมีน้ำขัง และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง พร้อมสั่งการหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ของโรคอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง

วันนี้ (9 มกราคม 2562) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ได้กลับเข้าพักอาศัยในบ้านตนเอง หลังจากเหตุการณ์ลมพายุ และฝนตกหนักเข้าสู่ภาวะปกติ น้ำที่ท่วมขังเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง กรมควบคุมโรค เป็นห่วงสุขภาพประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะ 3 โรคสำคัญ ที่ประชาชนอาจเจ็บป่วย และพบได้ง่ายในช่วงน้ำลด ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้ฉี่หนู และโรคจากยุงลาย

โรคอุจจาระร่วง มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ไม่สะอาด ค้างคืน มีแมลงวันตอม รวมถึงดื่มน้ำ หรือน้ำแข็งที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยหมั่นล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนปรุงประกอบอาหาร และหลังการใช้ห้องน้ำ กำจัดขยะมูลฝอยเศษอาหารเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน รับประทานอาหารที่ปรุง “สุก ร้อน สะอาด” และควรรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมง หลังจากปรุงเสร็จ ดื่มน้ำสะอาด ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ

ส่วนโรคไข้ฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรสิส เนื่องจากสภาพพื้นดินในบริเวณที่พักอาศัย หรือทางเดินชื้นแฉะ เป็นแอ่งน้ำขัง เชื้อโรคอาจอยู่ตามบริเวณดังกล่าวได้ เชื้อจะสามารถเข้าทางบาดแผล หรือตามรอยถลอก รวมถึงผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานานได้ โดยในช่วงกลับเข้าบ้านจะพบขยะมูลฝอยในพื้นที่จำนวนมาก มักเป็นแหล่งอาศัยของหนู ซึ่งเป็นสัตว์นำโรคที่สำคัญของโรคดังกล่าว จึงขอให้ประชาชนได้ช่วยกันแยกขยะเปียก และขยะแห้ง ถุงเศษอาหารควรใส่ภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อป้องกันสัตว์กัดแทะ ควรแต่งกายให้มิดชิด สวมรองเท้าบูท และหน้ากากอนามัยเวลาเก็บขยะมูลฝอย ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนที่ชื้นแฉะ หากจำเป็นควรสวมใส่รองเท้าบูท เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าสัมผัสน้ำ หรือดินโดยตรง

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย กล่าวอีกว่า อีกโรคที่สำคัญในช่วงน้ำลด คือ โรคจากยุงลาย โดยหลังจากฝนตกหนัก และน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เกิดน้ำขังตามภาชนะ หรือวัสดุต่าง ๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามมา อาจทำให้พบผู้ป่วยโรคจากยุงลายในพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงขอความร่วมมือประชาชนหลังจากน้ำลด และกลับเข้าบ้านแล้ว ขอให้สำรวจ และร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบริเวณโดยรอบตัวบ้าน และในชุมชน เพื่อดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ลดลง โดยขอให้ยึดหลัก “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาด โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค ได้สั่งการให้กองควบคุมโรค และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 5 จังหวัดราชบุรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 12 จังหวัดสงขลา ดำเนินการเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ของโรคอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422