พยากรณ์อากาศ

พยากรณ์อากาศ – 9 ก.ย. ไทยยังมีฝนตกต่อเนื่อง – ฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนพายุโกนเซิน ยังไม่มีผลกระทบต่อไทยในขณะนี้

Home / NEWS / พยากรณ์อากาศ – 9 ก.ย. ไทยยังมีฝนตกต่อเนื่อง – ฝนตกหนักบางแห่ง

ประเด็นน่าสนใจ

  • ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในหลายพื้นที่
  • ขอให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม เช่นน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
  • คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น
  • เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ และมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมเริ่มมีกำลังแรงขึ้น
  • พายุโซนร้อน “โกนเซิน” (CONSON) อยู่ในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 12-13 กันยายน 2564

พยากรณ์อากาศ
ตั้งแต่เวลา 06.00 วันนี้ – 06.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร
กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส
  • ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี และราชบุรี

  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
  • ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่
บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา :
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป :
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง

  • อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา :
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป :
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
  • ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ผ่านปีใหม่ 2565 มาแล้ว สถานการณ์สภาพอากาศในประเทศไทย ยังคงได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศเย็น หรือความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาเป็นระลอก ๆ ทำให้สภาพอากาศยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว บริเวณประเทศไทยตอนบน แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่จะพัดเอาความชื้นจากอ่าวไทย เข้าไปยังบริเวณภาคใต้ ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง, ฝนตกหนักบางแห่งได้

ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 19 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส

ดังนั้นการติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศ สภาพอากาศวันนี้ จึงเป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพดินฟ้าอากาศ