สายพันธุ์มิว โควิด-19 โควิดกลายพันธุ์

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย โควิดสายพันธุ์มิว ยังไม่พบระบาดในไทย

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย สายพันธุ์ที่อยู่ในไทยวันนี้ มี 3 สายพันธุ์ คือ อัลฟา เดลตา และเบตา

Home / NEWS / กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย โควิดสายพันธุ์มิว ยังไม่พบระบาดในไทย

ประเด็นน่าสนใจ

  • อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย สายพันธุ์ที่อยู่ในไทยวันนี้ มี 3 สายพันธุ์ คือ อัลฟา เดลตา และเบตา
  • สำหรับสายสายพันธุ์ Mu (B.1.621) ยังพบการแพร่รบาดในประเทศไทย
  • ทั่วโลกยังพบน้อยมากเพียง 0.1% โดยยังไม่ได้พบในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันนี้ (6 ก.ย.64) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นายแพทย์บัลลังก์ อุปพงศ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนายแพทย์อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมแถลงข่าวในประเด็นเรื่อง “ข้อมูลการจำแนกตามสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทยที่เฝ้าระวังและการกลายพันธุ์ของเชื้อ และแผนดำเนินการตรวจสายพันธุ์พร้อมทั้งถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม”

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า สายพันธุ์ที่อยู่ในไทยวันนี้ มี 3 สายพันธุ์ คือ อัลฟา เดลตา และเบตา โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา 1,500 ตัวอย่าง พบว่า เป็นอัลฟา 75 ตัวอย่าง เดลตาพบ 1,417 ตัวอย่าง และเบตา 31 ตัวอย่าง โดยภาพรวมประเทศ 93% เป็นเดลตา เฉพาะในกรุงเทพฯ เป็นเดลตาสัดส่วน 97.6% ส่วนภูมิภาคสัดส่วนอยู่ที่ 84.8% ดังนั้น สถานการณ์ปัจจุบันเดลตาครองเมือง

ทั้งนี้สายพันธุ์ Mu (B.1.621) ที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ให้ความสนใจและจับตาอยู่ พบว่า ทั่วโลกยังพบน้อยมากเพียง 0.1% โดยในสหรัฐเจอ 2,400 ตัวอย่าง โคลัมเบียเจอ 965 ตัวอย่าง เม็กซิโก 367 ตัวอย่าง สเปน 512 ตัวอย่าง เอกวาดอร์ 170 ตัวอย่าง มีญี่ปุ่นเล็กน้อย โดยยังไม่ได้พบในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อย่างไรก็ตามในโคลัมเบียเจอเป็นที่แรก ซึ่งเจอสายพันธุ์ Mu ประมาณ 40% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบแล้วใน 39 ประเทศ องค์การอนามัยโลกจัดอันดับเป็น VOI และ ขอย้ำว่า สายพันธุ์ Mu ยังต้องติดตามต่อไป เพราะมีการกลายพันธุ์ที่พบว่า หลีกหนีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้ดีกว่าเดิม เนื่องจากพบการกลายพันธุ์ที่ส่งผลให้ Antigenic change ได้แก่ E484K แต่ยังไม่มีรายงานเรื่องอื่น

ส่วนที่ว่าแพร่เร็วหรือไม่ ข้อมูลยังไม่ได้ยืนยันได้ถึงขนาดนั้นเมื่อเทียบกับเดลตา ส่วนการติดเชื้อง่ายหรือไม่นั้น ก็ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ ขณะที่หลบภูมิต้านทานก็อาจมีปัญหา แต่วันนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าคนที่ป่วยแล้วกลับมาป่วยอีกมากน้อยแค่ไหน โดยรวมจึงยังไม่น่าวิตก แต่เรายังติดตามต่อเนื่อง

ข้อมูล : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์