ประเด็นน่าสนใจ
- คณะแพทย์ศิริราชคิดค้นวัคซีนรักษาภูมิแพ้ไรฝุ่น สำเร็จรายแรกในอาเซียน
- โดยไรฝุ่นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศ์ขยาย 300 เท่า
- มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าจาก 20 ปีก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะแพทย์ศิริราชคิดค้นวัคซีนรักษาภูมิแพ้ไรฝุ่น สำเร็จรายแรกในอาเซียน โดยไรฝุ่นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศ์ขยาย 300 เท่า จะพบว่า มันกำลังกินเศษรังแค หรือเศษผิวหนังที่หล่นบนหมอนหรือที่นอน ชอบความชื้น หรืออุณหภูมิ 25-30 องศา จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับแมลงหรือเห็บ ซึ่งฝุ่นเพียง 1 กรัม หรือครึ่งช้อนชา บนที่นอนที่ใช้งาน 9 ปี จะมีตัวไร เฉลี่ย 83 ตัว แม้ไม่กัด แต่ทำให้รู้สึกระคายเคือง มีผืนแดง ตาแดง น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ หากไม่รีบรักษา จะเรื้อรังนานหลายปี
จากสถานการณ์ของโรคภูมิแพ้ไรฝุ่น ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าจาก 20 ปีก่อน ทีมวิจัย นำโดยรศ นพ. พงศกร ตันติลีปิกร, รศ.ดร.พญ. อัญชลี ตั้งตรงจิต, ผศ.ดร. ณัฐ มาลัยนวล และศูนย์วิจัยไรฝุ่นพยายามคิดค้น วัคซีนโรคภูมิแพ้มานานกว่า 20 ปี
ด้วยการเพาะเลี้ยงไรฝุ่นบริสุทธิ์เอง ไม่ต้องนำเข้าไรฝุ่นจากต่างประเทศ ไร่ฝุ่น 1 กรัม หรือ 100 ล้านตัว ราคากรัมละ 9 พันบาท จากนั้นสกัดสารภูมิแพ้ จากตัวไรฝุ่นที่ผู้ป่วยแพ้ ฉีดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้ โดยฉีดทางผิวหนัง ซึ่งปริมาณที่ฉีดอยู่ที่การวินิจจัยของแพทย์
วัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่น ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจัยว่า แพ้ไรฝุ่นเท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการทดสอบ ด้วยน้ำยาสารก่อภูมิแพ้อย่างน้อย 8 ชนิด เช่น ภูมิแพ้ไรฝุ่น แพ้ขนแมว แพ้ขนสุนัข ขนแมลงสาบ หญ้าขน ผักโขม และเชื้อรา ซึ่งทางทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยไรฝุ่นและโรคภูมิแพ้ ศิริราชพยาบาล เป็นผู้ผลิตขึ้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่า เป็นภูมิแพ้ไรฝุ่น จึงจะรักษาด้วยวัคซีนไรฝุ่นนี้ได้
ในอนาคตทีมวิจัยเตรียมพัฒนาวัคซีนสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้แมลงสาบ เกสรหญ้า เนื่องจากเป็นภูมิแพ้ที่พบมากรองจากภูมิแพ้ไรฝุ่น ละจะพัฒนาวัคซีนให้สามารถหยดใต้ลิ้นแทนการฉีด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้สะดวก
ข้อมูลจาก : ข่าว3มิติ