ข่าวสดวันนี้ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เสือโคร่ง

เผยแล้ว มือฆ่ากระทิงป่าแม่วงก์ ที่แท้เสือห้วยขาแข้งล่าเหยื่อ

นายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร-นครสวรรค์ สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้ออกมาเปิดเผยถึงความคืบหน้า กรณีที่ เพจ “กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช” ได้โพสต์ภาพและข้อความ ระบุกระทิงเพศเมียตัวเต็มวัยถูกฆ่าตายอยู่ภายในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ตรงจุดใกล้กับร่องน้ำทางขึ้นมอมะค่า…

Home / NEWS / เผยแล้ว มือฆ่ากระทิงป่าแม่วงก์ ที่แท้เสือห้วยขาแข้งล่าเหยื่อ

ประเด็นน่าสนใจ

  • กระทิงป่าแม่วงก์ถูกฆ่าตายโดยไม่ทราบเหตุ
  • ทาง จนท. จึงติดตั้งกล้องเพื่อตรวจจับหาคนร้าย
  • ก่อนพบว่าแท้จริงแล้วเป็นฝีมือของเสือไม่ใช่คน

นายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร-นครสวรรค์ สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้ออกมาเปิดเผยถึงความคืบหน้า กรณีที่ เพจ “กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช” ได้โพสต์ภาพและข้อความ ระบุกระทิงเพศเมียตัวเต็มวัยถูกฆ่าตายอยู่ภายในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

ตรงจุดใกล้กับร่องน้ำทางขึ้นมอมะค่า ไปแคมป์แม่กระสา เขตรอยต่อระหว่าง อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ และ อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร โดยพบซากกระทิงตัวดังกล่าว อยู่ในสภาพมีบาดแผลเป็นรอยเขี้ยวบริเวณคอ ที่ลำตัวมีรอยกรงเล็บจนเป็นแผลฉกรรณ์ และพบรอยกัดแทะที่บริเวณลำตัวด้านท้าย คาดว่า น่าจะตายจากการถูกล่า เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 22 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ว่า

จากการตรวจสอบการตายของกระทิงตัวดังกล่าว เป็นการถูกล่าโดยฝีมือของเสือโคร่ง ไม่ได้เป็นฝีมือคน หรือนายพรานแต่อย่างใด ซึ่งหลังตรวจพบ ได้มีการหาหลักฐาน จนพบรอยอุ้งเท้าเสือในบริเวณที่พบซากกระทิง

และจากนั้น ได้มีการนำกล้องดักแอบถ่ายไปติดตั้งไว้รอบๆ บริเวณ กระทั่งกล้องจับภาพได้ว่า ช่วงกลางดึกจนถึงช่วงสาย มีเสือโคร่งเพศผู้ตัวโตเต็มวัยเข้าสู่ช่วงปลาย ที่ทีมวิจัยเคยพบครั้งแรกภายที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เมื่อปี 2556 เดินกลับมากินซากกระทิงที่มันเคยล่าไว้อีกครั้ง

ซึ่งเสือตัวนี้ ทีมวิจัยระบุว่า มันได้ย้ายถิ่นมาอาศัยอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ตั้งแต่กลางปี 2557 ซึ่งจากเหตุการณ์ที่พบเสือโคร่งล่ากระทิงในครั้งนี้ จึงถือได้ว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นผืนป่าที่มีความสำคัญในการจะใช้เป็นพื้นที่รองรับการกระจายของเสือโคร่งจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตเสือโคร่งที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพรรณและสัตว์ป่าสูง จึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมยิ่งในการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างเสือโคร่งให้คงอยู่กับโลกของตลอดไป

ส่วนหลังจากนี้ ได้มีการหารือกับทีมงานนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช แล้ว ว่า จะมีการวางแผนจับเสือโคร่งตัวนี้ มาใส่ปลอกคอพร้อมกับติดวิทยุประจำตัว เพื่อเก็บข้อมูลระยะยาวของเสือโคร่งในระดับผืนป่า

อันจะสามารถติดตามประชากรเสือโคร่งได้อย่างแม่นยำและต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนและจัดการเพื่ออนุรักษ์ให้ได้อย่างประสิทธิภาพตามหลักสิชาการต่อไป