สุริยุปราคา สุริยุปราคาบางส่วน

สวยงาม!! ปรากฏการณ์ ‘สุริยุปราคาบางส่วน’ ในกรุงเทพ

ปรากฏการณ์ สุริยุปราคาวงแหวน เกิดจากดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ บังดวงอาทิตย์ไม่มิด มีลักษณะปรากฏคล้ายวงแหวน เราเห็นสุริยุปราคาชนิดนี้ได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก สุริยุปราคาครั้งนี้แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นในตะวันออกกลาง ผ่านซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน จากนั้นลงสู่ทะเลอาหรับ แนวคราสวงแหวนเคลื่อนผ่านอินเดียและศรีลังกา หลังจากผ่านมหาสมุทรอินเดียจะไปขึ้นฝั่งที่อินโดนีเซีย ผ่านมาเลเซีย สิงคโปร์ ทางใต้สุดของเกาะมินดาเนาในฟิลิปปินส์ สิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยผ่านเกาะกวม จุดกลางคราสของสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้อยู่ในทะเลใกล้อินโดนีเซียและสิงคโปร์ ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 40 วินาที (สิงคโปร์อยู่ในแนวที่ขอบเขตด้านทิศเหนือของแนวคราสวงแหวนลากผ่าน จะเห็นสุริยุปราคาวงแหวนได้ก็ต่อเมื่ออยู่ทางตอนใต้ของเกาะ หากอยู่ทางตอนเหนือจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน) สำหรับที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวคราสเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ 3 นาที สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 09:30 – 15:06 น. ตามเวลาประเทศไทย ศูนย์กลางเงาที่ทำให้เกิดคราสวงแหวนสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 10:36 – 13:59 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ตะวันออกกลาง ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา ส่วนใหญ่ของเอเชียและมหาสมุทรอินเดีย บางส่วนทางเหนือและตะวันตกของออสเตรเลีย ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาในวันนี้ได้โดยเห็นเป็นแบบบางส่วน คือ ดวงอาทิตย์แหว่งเนื่องจากถูกดวงจันทร์บังไปบางส่วน โดยต้องใช้แผ่นกรองแสงสำหรับดูดวงอาทิตย์ เส้นทางคราสวงแหวนอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของประเทศไทย ภาคใต้จึงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกมากกว่าภาคอื่น กรุงเทพฯ เกิดสุริยุปราคาบางส่วนระหว่างเวลา 10:18 – 13:58 น. ดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดในเวลา 12:05 น. โดยดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ไปเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือคิดเป็นพื้นที่ 57% ของวงกลมดวงอาทิตย์

Home / NEWS / สวยงาม!! ปรากฏการณ์ ‘สุริยุปราคาบางส่วน’ ในกรุงเทพ

ประเด็นน่าสนใจ

  • วันนี้ (26 ธ.ค.62) เกิดปรากฏการณ์ ‘สุริยุปราคา’
  • โดยในกรุงเทพฯ เกิดสุริยุปราคาบางส่วนระหว่างเวลา 10:18 น. ถึง 13:58 น.
  • ดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดในเวลา 12:05 น.

ปรากฏการณ์ สุริยุปราคาวงแหวน เกิดจากดวงจันทร์อยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ บังดวงอาทิตย์ไม่มิด มีลักษณะปรากฏคล้ายวงแหวน เราเห็นสุริยุปราคาชนิดนี้ได้เมื่ออยู่ในแนวเส้นทางแคบ ๆ ตามศูนย์กลางเงาดวงจันทร์ที่ลากผ่านผิวโลก สุริยุปราคาครั้งนี้แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นในตะวันออกกลาง ผ่านซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโอมาน จากนั้นลงสู่ทะเลอาหรับ

แนวคราสวงแหวนเคลื่อนผ่านอินเดียและศรีลังกา หลังจากผ่านมหาสมุทรอินเดียจะไปขึ้นฝั่งที่อินโดนีเซีย ผ่านมาเลเซีย สิงคโปร์ ทางใต้สุดของเกาะมินดาเนาในฟิลิปปินส์ สิ้นสุดในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยผ่านเกาะกวม จุดกลางคราสของสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้อยู่ในทะเลใกล้อินโดนีเซียและสิงคโปร์ ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 40 วินาที (สิงคโปร์อยู่ในแนวที่ขอบเขตด้านทิศเหนือของแนวคราสวงแหวนลากผ่าน จะเห็นสุริยุปราคาวงแหวนได้ก็ต่อเมื่ออยู่ทางตอนใต้ของเกาะ หากอยู่ทางตอนเหนือจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน) สำหรับที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแนวคราสเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ 3 นาที

สุริยุปราคาครั้งนี้เงามัวของดวงจันทร์สัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 09:30 – 15:06 น. ตามเวลาประเทศไทย ศูนย์กลางเงาที่ทำให้เกิดคราสวงแหวนสัมผัสผิวโลกระหว่างเวลา 10:36 – 13:59 น. บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ตะวันออกกลาง ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา ส่วนใหญ่ของเอเชียและมหาสมุทรอินเดีย บางส่วนทางเหนือและตะวันตกของออสเตรเลีย ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก

ประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาในวันนี้ได้โดยเห็นเป็นแบบบางส่วน คือ ดวงอาทิตย์แหว่งเนื่องจากถูกดวงจันทร์บังไปบางส่วน โดยต้องใช้แผ่นกรองแสงสำหรับดูดวงอาทิตย์ เส้นทางคราสวงแหวนอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของประเทศไทย ภาคใต้จึงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งลึกมากกว่าภาคอื่น กรุงเทพฯ เกิดสุริยุปราคาบางส่วนระหว่างเวลา 10:18 – 13:58 น. ดวงอาทิตย์แหว่งลึกที่สุดในเวลา 12:05 น. โดยดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ไปเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือคิดเป็นพื้นที่ 57% ของวงกลมดวงอาทิตย์