ข่าวสดวันนี้ งานวัดภูเขาทอง ภูเขาทอง ลอยกระทงภูเขาทอง

บรรยากาศ งานสมโภชองค์พระบรมสารีริกธาตุ และลอยกระทง ที่ ภูเขาทอง

พูดถึงงานวันลอยกระทงในกรุงเทพฯ ชื่อสถานที่จัดงานแรกๆที่ทุกคนต้องนึกถึงคือ งานภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ซึ่งจัดติดต่อกันมาหลายสิบปี แต่ละปีจะมีกิจกรรมและ ความบันเทิงมากมาย บรรยากาศทุกปีจะมีความคึกครื้นทุกปี งานภูเขาทองถือว่าเป็นงานวัดที่นักท่องเที่ยวต่างตั้งตารอ ที่จะพาครอบครัวออกมาพักผ่อน ยิ่งช่วงวันที่ 4-5 พย.นี้ตรงกับวันหยุดที่รัฐบาลให้หยุดในการประชุม อาเซียน ครั้งที่…

Home / NEWS / บรรยากาศ งานสมโภชองค์พระบรมสารีริกธาตุ และลอยกระทง ที่ ภูเขาทอง

ประเด็นน่าสนใจ

  • เริ่มแล้วเทศกาลงานสมโภชองค์พระบรมสารีริกธาตุ และลอยกระทงที่ภูเขาทอง ประจำปี 2562
  • งานเริ่มตั้งแต่ 4 – 13 พฤศจิกายน 2562 รวมระยะเวลา 10 วัน 10 คืน

พูดถึงงานวันลอยกระทงในกรุงเทพฯ ชื่อสถานที่จัดงานแรกๆที่ทุกคนต้องนึกถึงคือ งานภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ซึ่งจัดติดต่อกันมาหลายสิบปี แต่ละปีจะมีกิจกรรมและ
ความบันเทิงมากมาย บรรยากาศทุกปีจะมีความคึกครื้นทุกปี

งานภูเขาทองถือว่าเป็นงานวัดที่นักท่องเที่ยวต่างตั้งตารอ ที่จะพาครอบครัวออกมาพักผ่อน ยิ่งช่วงวันที่ 4-5 พย.นี้ตรงกับวันหยุดที่รัฐบาลให้หยุดในการประชุม อาเซียน ครั้งที่ 35 วันนี้ผู้คนจึงคึกคักเป็นพิเศษที่หลายคนได้หยุด จึงออกออกมาเที่ยวจนคนล้นวัดแน่นขนัด

และช่วงงานประเพณีลอยกระทง 2562 นักท่องเที่ยว สามารถที่จะมาลอยกระทง จะสามารถลอยกระทงได้ที่บริเวณคลองมหานาคได้อีกด้วย โดยมีกำหนดการจัดงาน 4 พฤศจิกายน 2562 พิธีอัญเชิญผ้าแดงห่มองค์พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) เริ่มเวลา 06.00 น. เป็นต้นไป

ขณะที่ 4 – 13 พฤศจิกายน 2562 งานสมโภชองค์พระบรมสารีริกธาตุ ตั้งแต่เวลา 07.00 – 24.00 น.

สำหรับ งานวัดสระเกศนั้นมีความเก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร ที่ยังจัดมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มมีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เกี่ยวเนื่องกับงานเทศกาลการละเล่นทางน้ำ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

ทรงโปรดให้ขุดคลองใหญ่ข้างวัดสระเกศขึ้นคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่า “คลองมหานาค” เพื่อให้ชาวพระนครเล่นเพลงเรือ เล่นสงกรานต์ และลอยกระทง ในเทศกาลทางน้ำ ตามแบบอย่างคลองมหานาคที่ทุ่งภูเขาทอง ครั้งกรุงศรีอยุธยา  จึงเป็นเหตุให้เกิดงานวัดสระเกศสืบต่อมา  

ครั้นต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงเห็นว่า  ที่คลองมหานาค  วัดสระเกศ เริ่มมีประชาชนมาเที่ยวงานเทศกาลทางน้ำมากขึ้นทุกปี จึงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้ที่ริมคลองท่าน้ำวัดสระเกศ 

เพื่อให้ประชาชนที่มาเที่ยวงานเทศกาลได้เคารพสักการะบูชา   และถวายพระนามว่า “หลวงพ่อโต”  ภายหลัง เมื่อบ้านเมืองเจริญมากขึ้น จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่เชิงบรมบรรพต ภูเขาทอง หันพระพักตร์ออกสู่คลองมหานาคเช่นเดิม

งานวัดสระเกศเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น และเป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างกว้างขวางในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างภูเขาทองต่อจากรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ จนแล้วเสร็จ พระองค์ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากรัฐบาลอินเดีย ที่ขุดได้จากกรุงกบิลพัสดุ์ โดยมิสเตอร์ วิลเลียม  เปปเป ชาวอังกฤษ

พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บรรจุประดิษฐานไว้บนองค์บรมบรรพต ภูเขาทอง และโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา ๗ วัน  ๗ คืน  ในช่วงเทศกาลลอยกระทง จนกลายเป็นประเพณีนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ  สำหรับชาวพระนครที่เก่าแก่ที่สุดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน