จีน นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อ เฉียง

ชื่นมื่น!! ‘บิ๊กตู่’ เปิดทำเนียบต้อนรับ ‘หลี่ เค่อเฉียง’ นายกฯจีน

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดทำเนียบรัฐบาล ต้อนรับการมาเยือนของ “นายหลี่ เค่อ เฉียง” นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) ทั้งนี้ เมื่อ…

Home / NEWS / ชื่นมื่น!! ‘บิ๊กตู่’ เปิดทำเนียบต้อนรับ ‘หลี่ เค่อเฉียง’ นายกฯจีน

ประเด็นน่าสนใจ

  • ”นายหลี่ เค่อ เฉียง” นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เยือนประเทศไทย ในฐานะแขกของรัฐบาล
  • ’ประยุทธ์’ และ ‘หลี่ เค่อ เฉียง’ ร่วมลงนาม MOU ในด้านต่างๆ

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดทำเนียบรัฐบาล ต้อนรับการมาเยือนของ “นายหลี่ เค่อ เฉียง” นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit)

ทั้งนี้ เมื่อ นายหลี่ เค่อเฉียง (H.E. Mr. Li Keqiang) นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้การ ต้อนรับ พร้อมนำเดินตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ เนื่องในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล

หลังจากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน นายกรัฐมนตรีทั้งสองร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านต่าง ๆ ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า 

โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในนามของรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย ตนรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ต้อนรับ นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ในการเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ซึ่งเป็นการเยือนที่เกิดขึ้นในปีที่มีความสำคัญ เป็นปีที่ไทยได้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง รวมถึงเป็นประธานอาเซียน ขณะที่จีนก็เฉลิมฉลองการครบรอบ 70 ปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา

ขณะที่นายหลี่ เค่อเฉียง กล่าวขอบคุณที่ทางการไทยให้การต้อนรับอย่างมีน้ำใจ ซึ่งวันนี้ได้หารือกันหลายประเด็นจนประสบความสำเร็จตามที่นายกรัฐมนตรีไทยได้แจ้งให้ทุกคนทราบแล้ว พวกเราได้บรรลุการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้านการเมือง โดยจีนพร้อมผลักดันไทยทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการอีอีซี

รวมถึงส่งเสริมเสริมความร่วมมือด้านการค้าข้าว อีคอมเมิร์ซ รวมถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งจีนมีศักยภาพในการส่งเสริมการพัฒนาของไทยเป็นอย่างมาก โดยช่วงที่มาเยือนประเทศไทย ได้เห็นเรือพาณิชย์วิ่งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมาก ทำให้คิดว่าหากทางการไทย-จีน ร่วมมือกัน จะเปรียบเสมือนเป็นเรือใหญ่ วิ่งเร็ว วิ่งไกลอย่างมั่นคง ซึ่งในอนาคตจะต้องวิ่งให้เร็วเหมือนเรือหางยาวอีกด้วย

ด้านนายหลี่ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับไทยอีกครั้งที่ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ขณะที่เมื่อวานนี้ได้มีการประชุมผู้นำ 15 ประเทศผ่านเวทีอาร์เซ็ปต์ (RCEP) และได้บรรลุข้อตกลงร่วมกัน จะเห็นได้ว่าในภูมิภาคนี้ เรามีประชากรมากที่สุด มีศักยภาพในการพัฒนามากที่สุด และมีความพร้อมในการสร้างเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

แต่เราจะร่วมมือกันในการรักษาความมั่นคงเพื่อพัฒนาภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนต่อไป ซึ่งการหาแสวงหาความร่วมมือในเวที RCEP ต้องใช้ความขยันหมั่นเพียรและอดทน การเจรจาระหว่างกันก็เหมือนการเตะบอลเข้าประตู

ซึ่งขณะนี้บอลกำลังจะเข้าประตูแล้ว ตัวเองจึงได้ย้ำกับพล.อ.ประยุทธ์ไปว่า เราต้องใช้ความพยายามต่อไป ต้องผลักดันให้ลูกบอลตกลงสู่พื้น เพื่อเข้าประตูไปในเร็ววัน และเรามั่นใจว่าปีหน้า RCEP จะประกาศข้อตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการ และคิดว่าบอลที่เตะเข้าประตูไปแล้วจะเปิดกว้างไปสู่ทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงเรื่องอื่นๆด้วย

นายหลี่ ยังกล่าวอีกว่า จีนยังคงแสวงหาความร่วมมือกับไทยต่อไป สร้างมิตรภาพระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เราจะเคารพบทบาทการเป็นศูนย์กลางอาเซียนของไทย ซึ่งได้พูดไปตั้งแต่แรกแล้วว่า จีนกับไทยได้ร่วมพายเรือลำเดียวกัน ถือเป็นพี่น้องกัน มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นต่อกัน ต่อไปเราจะมุ่งไปข้างหน้าที่มีอนาคตกว้างไกลรออยู่ โดยอาศัยหลักการที่มีความเสมอภาคต่อกัน เป็นหุ้นส่วนที่ดีต่อกัน ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอบรับทันทีว่า “โอเค เราเป็นเรือใหญ่ที่ต้องวิ่งให้เร็วเหมือนเรือหางยาวต่อไป”

ในช่วงท้าย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ฝากสุภาษิตจีนให้กับหลี่ เค่อเฉียง ว่า “มดน้อยบางครั้งก็สามารถช่วยพญาราชสีห์ และพญาคชสารได้ ซึ่งนี่คือสุภาษิตไทยที่ขอฝากไว้ และอยากฟังสุภาษิตจีนบ้าง ซึ่งนายหลี่ เค่อเฉียง กล่าวว่า ตนได้พูดตั้งแต่แรกแล้วว่าจีนกับไทยได้นั่งเรือลำเดียวกัน

ซึ่งทั้งจีนและไทยมีความเหมือนกัน หากดูจากประชากรและสภาพทางการเมือง การต่างประเทศ ก็ตรงกันต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ เราจึงต้องมุ่งไปข้างหน้า เพื่อให้มีอนาคตที่กว้างไกลมากยิ่งขึ้น เราต้องอาศัยหลักการความเสมอภาคต่อกันเอื้อประโยชน์ต่อกัน เป็นหุ้นส่วนที่ดี และมีความเจริญก้าวหน้าด้วยกัน แม่น้ำเจ้าพระยาก็สามารถเชื่อมต่อไปถึงประเทศจีนได้ซึ่งทั้งสองประเทศก็จะเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จึงกล่าวตอบว่า จะเป็นเรือเหล็กหรือเรือหางยาวเราก็จะไปด้วยกัน

สำหรับนายกรัฐมนตรีทั้งสองร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านต่าง ๆ มีดังนี้

โดยฉบับที่ 1 เป็นหนังสือแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับคณะกรรมการบริหารงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะลงนามโดยกระทรวงกลาโหม (กห.) ที่มอบหมายให้ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ร่วมกับฝ่ายจีน

ฉบับที่ 2 เป็นบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่รัฐบาลไทย มอบหมายให้ นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ฉบับที่ 3 เป็นบันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ที่ให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ลงนาม

มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการในการบริหารจัดการงบประมาณของโครงการอบรมการยกระดับการพัฒนานโยบายอุตสาหกรรมสำหรับประเทศในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Training on Enhancement of Industrial Policy Development for Lancang-Mekong Countries)

ซึ่งเป็นโครงการที่กระทรวงอุตสาหกรรมขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนพิเศษกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (MLC Special Fund) ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation : MLC) จำนวนเงิน 450,000 หยวน หรือประมาณ 2 ล้านบาท

ฉบับที่ 4 เป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับรัฐบาลมณฑลกวางตุ้ง ที่ให้ นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี เป็นผู้ลงนามของฝ่ายไทย มีสาระสำคัญเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน

ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับมณฑลกวางตุ้งและเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ความร่วมมือในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้านการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รวมทั้งด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารกลางวัน เพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีจีนและคณะ ก่อนที่นายหลี่ เค่อเฉียง พร้อมคณะจะเดินทางกลับ