กระทงลายการ์ตูน ข่าวสดวันนี้ จับลิขสิทธิ์

เปิด 8 ข้อปฏิบัติ หากถูกตั้งข้อกล่าวหาละเมิดลิขสิทธิ์

จากกรณีที่เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ หลังจากมีกลุ่มคนอ้างเป็นเจ้าหน้าที่วางแผนล่อด้วยการสั่งให้ ด.ญ. วัย 15 ปีรายหนึ่งทำกระทงลายการ์ตูนรูปแบบต่างๆ มาส่งจากนั้นได้แสดงจับกุมอ้างว่าละเมิดลิขสิทธิ์ โดยได้เสนอเรียกรับเงิน 5 หมื่นบาท และกับการปล่อยตัวและไม่ต้องติดคุก สุดท้ายผู้ปกครองเจราจายอมจ่ายเงินให้ 5 พันบาท ต่อมาทำให้เกิดข้อสงสัยว่าตัวแทนจับลิขสิทธิ์ดังกล่าวทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ จนกระทั่งมีการสืบสาวต่อมาว่าคนกลุ่มนี้อาจเป็นมิจฉาชีพ…

Home / NEWS / เปิด 8 ข้อปฏิบัติ หากถูกตั้งข้อกล่าวหาละเมิดลิขสิทธิ์

ประเด็นน่าสนใจ

  • ข้อปฏิบัตินี้เป็นคำแนะนำจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • ต้องขอดูใบแจ้งความ และการจับกุมต้องมี ตร.มาด้วยทุกครั้ง
  • คดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นคดีที่สามารถยอมความได้

จากกรณีที่เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ หลังจากมีกลุ่มคนอ้างเป็นเจ้าหน้าที่วางแผนล่อด้วยการสั่งให้ ด.ญ. วัย 15 ปีรายหนึ่งทำกระทงลายการ์ตูนรูปแบบต่างๆ มาส่งจากนั้นได้แสดงจับกุมอ้างว่าละเมิดลิขสิทธิ์

โดยได้เสนอเรียกรับเงิน 5 หมื่นบาท และกับการปล่อยตัวและไม่ต้องติดคุก สุดท้ายผู้ปกครองเจราจายอมจ่ายเงินให้ 5 พันบาท ต่อมาทำให้เกิดข้อสงสัยว่าตัวแทนจับลิขสิทธิ์ดังกล่าวทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ จนกระทั่งมีการสืบสาวต่อมาว่าคนกลุ่มนี้อาจเป็นมิจฉาชีพ เพราะการดำเนินการดังกล่าวทางบริษัทแม่ไม่ได้ติดต่อมอบอำนาจให้เข้าจับกุมแต่อย่างใดนั้น

ล่าสุดในโลกออนไลน์ ได้พากันส่งต่อข้อแนะนำจากทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ได้โพสต์การปฏิบัติตัวหากมีเจ้าหน้าที่ หรือตัวแทนลิขสิทธิ์มาอ้างตัวเพื่อจับกุมดำเนินคดี จะได้นำสอบถามที่มาที่ไป ก่อนจะตกเป็นเหยื่อเหมือนกรณีข้างต้น ดังนี้

  1. ตรวจสอบหลักฐานว่าผู้กล่าวหาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ (เป็นผู้สร้างสรรค์) จริงหรือไม่ หรือได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยวิธีใด เช่น เป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ เป็นต้น
  2. ตรวจสอบว่ามีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ เนื่องจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนต้องร้องทุกข์ก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจะทำการจับกุม และคดีสามารถระงับได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันตามกฎหมาย
  3. ตรวจสอบว่าผู้กล่าวหามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วยหรือไม่และเป็นผู้ทำการจับกุม เนื่องจากการจับกุมเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น โดยอาจขอดูบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  4. การตรวจค้นในที่รโหฐาน เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีหมายค้นของศาลมาแสดงก่อนจึงจะทำการค้นได้
  5. คดีละเมิดลิขสิทธิ์สามารถยอมความกันได้ ดังนั้นจึงควรยอมความต่อหน้าพนักงานสอบสวนและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
  6. ตรวจหลักฐานการมอบอำนาจให้ตัวแทนดำเนินคดี เช่น เอกสารหมดอายุหรือไม่ การมอบอำนาจถูกต้องหรือไม่ มีอำนาจร้องทุกข์ ถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความหรือไม่ เป็นต้น
  7. ควรติดต่อหรือประสานทนายความเพื่อมาอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับคดี (ถ้ามี)
  8. ของกลางในคดี ได้แก่ ทรัพย์สินที่ได้ทำ หรือมีไว้เป็นความผิด หรือทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เป็นความผิด

สำหรับผู้ที่ถูกผู้จับย่อมมีสิทธิดังต่อไปนี้

  1. มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก (ป.วิอาญา ม.7/1)
  2. มีสิทธิรับทราบข้อกล่าวหาในการกระทำความผิด (ป.วิอาญา ม.83 ว.2)
  3. มีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ เนื่องจากถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี (ป.วิอาญา ม.83 ว.2)
  4. มีสิทธิในการพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (ป.วิอาญา ม.7/1 และม.83 ว.2)

ที่มา : กรมทรัพย์สินทางปัญญา https://1th.me/OSbzi