ประเด็นน่าสนใจ
- นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปอท. แถลงจับกุมผู้ต้องหาเขียนโปรแกรม “LINE Group Hacker”
- ผู้ต้องหารายดังกล่าว มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
- ผู้ต้องหาใช้โปรแกรมดังกล่าว ในการหาผลประโยชน์ในการโฆษณาสินค้า หรือล่อลวงให้เหยื่อกดเข้าเว็บไซต์
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 13 พ.ย. ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) พร้อมด้วยพล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท. พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. พ.ต.อ.วัชรพันธ์ ศิริพากย์ ผกก.1 บก.ปอท. พ.ต.อ.ขวัญชัย พัฒรักษ์ ผกก.3 บก.ปอท. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน กก.1 บก.ปอท. และกก.3 บก.ปอท. ได้จับกุมนายกุมภา ปุยฝ้าย อายุ 29 ปี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 1540/2562 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2562 จำนวน 1 รายได้ที่ซอยบุปผาบุรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม.
เจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนเขียนโปรแกรม “LINE Group Hacker” ในความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 มาตรา 7 มาตรา 12 จากการสอบสวนเพิ่มเติมได้มีผู้ต้องหามาจอมอบตัว 1 ราย
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เปิดเผยว่า ภายหลังมีกระแสการร้องเรียนว่าผู้เสียหายถูกแฮกไลน์-เฟซบุ๊กไปใช้ยืมเงิน จากเพื่อนหรือคนรู้จักของเหยื่อ หรือไปโหวตให้คะแนนการประกวดโดยอ้างว่าลูกหลานคนรู้จักได้เข้าแข่งขันการประกวดดังกล่าวก่อนจะลวงเอาข้อมูลส่วนตัวไป ซึ่งได้ดำเนินการสืบสวนติดตามกระทั่งพบว่ามีผู้ต้องหารายนี้ ทำลิ้งค์เว็บไซต์ลามก หรือลิ้งค์ใบ้ห้วยแฝงโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ส่งไปล่อลวงเหยื่อให้กดเข้าเว็บ และดูดข้อมูลส่วนตัวจนเกิดความเสียหายแล้วหลายสิบราย มูลค่าเป็นเงินนับแสนบาท โดยใช้ไลน์อวตารแฝงตัวเข้าไปในไลน์กลุ่มขนาดใหญ่เพื่อเผยแพร่ลิ้งค์ดังกล่าว โดยที่สมาชิกในกลุ่มอาจจะไม่ทราบ
“สอบสวนให้การรับว่า ตนเองเรียนรู้การเขียนโปรแกรมจากอินเตอร์เน็ตเพราะเรียนจบเพียงชั้นมัธยม ซึ่งได้ทำลิ้งค์แฝงโฆษณาขึ้นมาเพื่อรับเงินจากยอดคลิกของลิ้งค์ดังกล่าว ที่ได้กระทำมานานกว่า 4 เดือนแล้ว ผู้ต้องหาในคดีนี้ได้นำโปรแกรมสร้างลิงค์ดูดข้อมูลกลุ่มไลน์ เมื่อสร้างลิงค์ ไลน์แล้วและมีผู้ใช้งานกดลิงค์ จะถูกดูดข้อมูลลิงค์เชิญเข้ากลุ่มไลน์ เมื่อผู้ต้องหาได้ข้อมูลลิงค์ เชิญเข้ากลุ่มไลน์แล้ว จะส่งผู้ใช้งานไลน์นิรนามเข้ากลุ่ม และแชร์เว็บไซต์ลักษณะลามก ซึ่งแฝงโฆษณา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม แล้วผู้ต้องหารายแรกก็ได้เงินค่าโฆษณาจากสินค้าพวกนั้น เขาเลยจ้างอีก 2 คนให้ไปกดเงินให้” พ.ต.อ.ศิริวัฒน์กล่าวปิดท้าย
นายพุทธิพงษ์ เปิดเผยว่า จากการดำเนินการของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) จากสรุปผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีจำนวนข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 7,962 ข้อความซึ่งมีข้อความที่ต้องดำเนินการ Verify ทั้งหมดจำนวน 45 ข้อความ
โดยแบ่งเป็น ช่องทาง Social Listening Tool ช่องทาง Line Official ช่องทาง Website Manual Social Listening ซึ่งมาจากการแจ้งเรื่องเข้ามาด้วย โดยแบ่งได้ดังนี้ เรื่องยาเสพติด 7.6 % ภัยพิบัติ 13.6 % การเงิน หุ้น 13.6 % ข่าวอื่น ๆ 13.6 % ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 21.2 % ความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง 15.2 % นโยบายรัฐบาล 16.7 %
“ส่วนใหญ่จะพบเรื่องที่เป็นกระแสของสังคม และมีความน่าเป็นห่วงพี่น้องประชาชน คือพบมากที่สุดจะเป็นเรื่องของกลุ่มข่าวผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพที่อ้างการรักษาต่างๆ โดยไม่เคยถูกขึ้นทะเบียนยา แอบอ้างสรรพคุณการรักษาต่างๆ ซึ่งควรให้ประชาชนรับรู้และทราบดังนี้ จากการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย.การขายยาที่ยังไม่ได้รับอนุญาติให้ขายและยังไม่ได้รับอนุญาติให้โฆษณามีความผิด และหากมีการโฆษณาขายยา จะต้องขออนุญาตก่อน
พร้อมเตือนผู้บริโภคควรระวังการซื้อยาจากเว็บไซต์ อาจมีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริงเพราะเสี่ยงอันตราย ทั้งอาจได้รับยาปลอม ยาไม่มีคุณภาพ และผลข้างเคียงจากยาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิติได้ การขายยาต้องได้รับการอนุญาติก่อน เนื่องจากยาไม่ใช่สินค้าทั่วไป ต้องขายในสถานที่อนุญาต การขายยาบนอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าข่ายกระทำความผิด อาจต้องระวังโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท และอาจเข้าข่ายผิดโฆษณายาอีก การโฆษณายาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท ในส่วนนี้ มี พ.ร.บ.ที่ควบคุมอยู่คือ พ.ร.บ. อาหาร และ พ.ร.บ. ยา” นายพุทธิพงษ์ กล่าวปิดท้าย
ส่วนอีกหนึ่งกรณี พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. พร้อมด้วยพ.ต.อ.ขวัญชัย พัฒรักษ์ ผกก.3 บก.ปอท. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน กก.3 บก.ปอท. ได้จับกุมนายทัตฐพงษ์ พรหมพิมาน อายุ 34 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 1705/2562 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ในข้อหา “ฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น, เข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง มาตรการนั้นมิได้มีไว้สาหรับตนและ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่า ทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือ ประชาชน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเตมิ ”
พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ เปิดเผยว่า จากการสอบสวนผู้ต้องหาได้นำข้อมูลเลขบัตรประชาชนของผู้เสียหาย มาลงทะเบียนซิมการ์ดเพื่อเปิด ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายอีกหมายเลขหนึ่ง ภายใต้หมายเลขบัตรประชาชนเดียวกัน
ซึ่งการเปิดซิม การ์ดดังกล่าวนั้น มีเจตนาทุจริตเข้าถึงคะแนนสะสมของผู้เสียหาย ซึ่งทางระบบของผู้ให้บริการจะทาการเก็บ คะแนนสะสมไว้ภายใต้หมายเลขบัตรประชาชนเดียวกัน ต่อมาผู้ต้องหาจะทาโอนคะแนนสะสมทั้งหมดมายัง หมายเลขโทรศัพท์ที่ผู้ต้องหาทาการเปิดไว้ เพื่อไปทำการแลกคะแนนจากแอพพลิเคชั่นกระเป๋าเงินออนไลน์ โดยมีการแลกเป็นคูปอง สินค้า และบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการ เช่น บัตรชมภาพยนตร์ คูปองแลกสินค้าอุปโภค บริโภคจากร้านสะดวกซื้อฯ
ต่อมาผู้ต้องหาจึงได้นาคูปองสินค้าเหล่านั้นมาทาการประกาศขายในเฟซบุ๊กของ ตนเอง ซึ่งการกระทาของผู้ต้องหาดังกล่าวทาให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย