ตก แรงงานไทย

สถิติชี้ชัด เดือน ต.ค. เด็กจบใหม่เตะฝุ่นกว่า 3 แสนคน

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชน เดือนตุลาคม 2562 ว่า มีจำนวนผู้ว่างงานกว่า 355,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.9 และพบว่าผู้ว่างงานในระดับอุดมศึกษามีมากที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกงานของบัณฑิตจบใหม่ เกิดจากการเลือกงาน และภาษาอังกฤษที่ไม่แข็งแรง…

Home / NEWS / สถิติชี้ชัด เดือน ต.ค. เด็กจบใหม่เตะฝุ่นกว่า 3 แสนคน

ประเด็นน่าสนใจ

  • สาเหตุหลักของการยังไม่งานของเด็กจบใหม่ คือการเลือกงาน
  • จนท.การผลิต, พนักงานขาย, เสมียน ยังเป็นตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุด

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชน เดือนตุลาคม 2562 ว่า มีจำนวนผู้ว่างงานกว่า 355,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.9 และพบว่าผู้ว่างงานในระดับอุดมศึกษามีมากที่สุด

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกงานของบัณฑิตจบใหม่ เกิดจากการเลือกงาน และภาษาอังกฤษที่ไม่แข็งแรง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงาน ที่ต้องการทักษะในด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลมากขึ้น เมื่อบวกกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงท้าทายความสามารถของนักศึกษาจบใหม่มากพอสมควร

หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ว่างงานแบ่งตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ ในเดือนตุลาคม พบว่าผู้ว่างงานที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มี 147,000 รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับประถมศึกษา ตามลำดับ

ซึ่งผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่า นักศึกษาจบใหม่ที่ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดเเรงงานได้ ถือเป็นค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ

ซึ่ง รศ.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ประเทศที่พัฒนาแล้ว จะใช้เเรงงานปริญญาตรีจำนวนมาก ตรงข้ามกับไทย เพราะลักษณะฐานการผลิตของไทย ใช้แรงงานที่มีทักษะไม่สูงมาก คือ

เซมิ-สกิล คิดเป็นสัดส่วน มากกว่าร้อยละ 70 ขณะที่แรงงานทักษะสูง มีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 10 รัฐต้องหาวิธีนำเเรงงานเหล่านี้ไป อัพ-สกิล หรือ รี-กิล เพื่อให้สามารถทำงานได้

แรงงานด้านการผลิต พนักงานขาย เสมียน พนักงานทั่วไป เป็นแรงงานที่ภาคต่างๆ ต้องการมากสุด

ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย คาดการณ์ว่า จำนวนผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในปี 2563 จะมีประมาณ 524,893 คน เพิ่มจากปีนี้ ร้อยละ 9.27 โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 60.75 เป็นผู้ที่จบปริญญาตรี

ขณะที่แนวโน้มภาคส่งออก ภาคการผลิต ภาคก่อสร้าง ภาคโลจิสติกส์ ค้าปลีก-ค้าส่ง และภาคบริการต่างๆ อยู่ในช่วงชะลอตัว ส่วนใหญ่ลดการรับแรงงาน และมีการปรับใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งจะทำให้การจ้างลดลง

ดังนั้น ในปี 2563 จึงมีปัจจัยเสี่ยงต่อการตกงานสูง หากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงไร้ปัจจัยบวก สำหรับสถานการณ์การจ้างงานในปัจจุบัน อธิบดีกรมการจัดหางาน ระบุว่า ตำแหน่งงานที่ต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

แรงงานด้านการผลิต พนักงานขาย เสมียน พนักงานทั่วไป พนักงานธุรการ พนักงานบริการลูกค้า และเจ้าหน้าที่คลังสินค้า ตั้งแต่ระดับ ปวช.- ปวส. จนถึงปริญญาตรี ยังเป็นที่ต้องการอยู่