ผ้าอนามัย

ดราม่า ‘ผ้าอนามัย’ ปัญหาค่าครองชีพสูง

จากกรณีที่มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตข้อความระบุว่า “อยู่ในกทม.ด้วยเงินเดือน 15,000 ได้ กดเข้าไปดู อ๋อ เป็นผู้ชาย ไม่ต้องจ่ายค่าผ้าอนามัย” ทำให้ชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นประเด็นว่า ผ้าอนามัยสำหรับผู้หญิง คือ สิ่งที่ต้องใช้จ่ายแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังจากประเด็นนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีคนเข้าไปแชร์และแสดงความคิดเห็นถกเถียงกันว่าความจริงแล้ว…

Home / NEWS / ดราม่า ‘ผ้าอนามัย’ ปัญหาค่าครองชีพสูง

ประเด็นน่าสนใจ

  • ในโลกออนไลน์มีการถกเถียงประเด็น ‘ผ้าอนามัย’ ของผู้หญิง เป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองหรือไม่
  • ชาวเน็ตส่วนใหญ่มองว่า เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นสิ่งจำเป็นของผู้หญิง
  • ขณะที่ผลสำรวจจากต่างประเทศ พบว่า ในบางประเทศที่ยากจน ผู้หญิงต้องใช้กระดาษทิชชูแทนผ้าอนามัย

จากกรณีที่มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตข้อความระบุว่า “อยู่ในกทม.ด้วยเงินเดือน 15,000 ได้ กดเข้าไปดู อ๋อ เป็นผู้ชาย ไม่ต้องจ่ายค่าผ้าอนามัย” ทำให้ชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นประเด็นว่า ผ้าอนามัยสำหรับผู้หญิง คือ สิ่งที่ต้องใช้จ่ายแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้

หลังจากประเด็นนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีคนเข้าไปแชร์และแสดงความคิดเห็นถกเถียงกันว่าความจริงแล้ว ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการมีประจำเดือนนั้นสิ้นเปลืองหรือไม่ บางคนก็บอกว่าเป็นเรื่องธรรมดาและสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิง บางคนก็บอกว่าราคาผ้าอนามัยยังถูกกว่าราคาชาไข่มุก หรือบางคนก็มองว่าสิ้นเปลืองเพราะเวลามีประจำเดือนนอกจากจะต้องซื้อผ้าอนามัยแล้ว อาจจะมีเรื่องอาการปวดท้อง ที่ต้องซื้อยามากินหรือไปหาหมอ หรือบางคนรักสวยรักงามเวลาเป็นประจำเดือนก็มีสิวขึ้น จำเป็นต้องเสียเงินดูแลผิวหน้าอีก

สำหรับประเทศไทย ผ้าอนามัย ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง แต่ปัจจุบัน ถูกจัดอยู่ในหมวด ‘เครื่องสำอาง’ ซึ่งถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงทำให้ผ้าอนามัยมีราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น สร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้หญิงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อย นักเรียน นักศึกษา

ขณะที่บางประเทศในแถบเอเชียอนุญาตให้ผู้หญิงลาหยุดได้ถ้าปวดประจำเดือน โดยไม่นับรวมกับวันลาปกติ ซึ่งหากมองค่าใช้จ่ายเเล้ว ผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือน โดยเฉลี่ยตอนอายุ 10-11 ปี และมีประจำเดือนต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ 49 ปี หากคำนวนแล้วจะพบว่าในแต่ละรอบเดือน ผู้หญิงมีประจำเดือน 4-5 วัน ใช้ผ้าอนามัยวันละ 5 แผ่น คิดเป็น 25 แผ่นต่อเดือน หรือ 300 แผ่นต่อปี

ซึ่งผู้หญิงแต่ละคนต้องใช้ผ้าอนามัยตลอดช่วงวัยเจริญพันธุ์ถึง 12,000 แผ่น ถ้าราคาเฉลี่ยผ้าอนามัยตกแผ่นละ 3-4 บาท หมายความว่าตลอดชีวิตผู้หญิงจะเสียค่าผ้าอนามัยประมาณ 50,000 บาท แต่หากในบางประเทศที่ค่าครองชีพสูง ตลอดชีวิตของผู้หญิงจะต้องเสียค่าผ้าอนามัยมากกว่า 200,000 บาท เช่นกัน

ขณะที่สื่ออย่าง บีบีซี ได้เปิดผลสำรวจในปี 2018 ขององค์กรการกุศลแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล (Plan International) พบว่า ในประเทศยากจน พบว่า 40% ของผู้หญิงอายุต่ำกว่า 21 ปี ใช้กระดาษทิชชูแทน ไม่ว่าเป็นการนำทิชชูทั้งม้วนมาพันรอบกางเกงชั้นใน หรือการนำเทปกาวมาติดกระดาษทิชชูในกางเกงใน นอกจากนี้วัตถุทดแทนยอดนิยมอันดับสองคือ ถุงเท้า เศษผ้าหรือเสื้อเก่า แต่ เมื่อไม่มีทางเลือก ทางแก้ของพวกเธอคือ ใส่กางเกงในหลายชั้น