ก้อนเนื้อมดลูก ข่าวสดวันนี้

ภาพชวนขนลุก เนื้องอกยักษ์ในมดลูก แนะหญิงสาวกลุ่มเสี่ยงดูแลตัวเอง อย่าอายไปพบแพทย์

นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้โพสต์ภาพ เนื้องอกในมดลูกขนาดใหญ่ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งโรคนี้เจอได้บ่อยในผู้หญิง ประมาณ 1 ใน 5 คน หรือ…

Home / NEWS / ภาพชวนขนลุก เนื้องอกยักษ์ในมดลูก แนะหญิงสาวกลุ่มเสี่ยงดูแลตัวเอง อย่าอายไปพบแพทย์

ประเด็นน่าสนใจ

  • ภาวะนี้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นถึง 50%
  • แม้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพียง 0.1-0.3% แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เป็นเลย
  • หากมีภาวะสุ่มเสี่ยงโรคนี้ควรรักษาทันที ไม่ต้องเขินอาย

นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้โพสต์ภาพ เนื้องอกในมดลูกขนาดใหญ่ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งโรคนี้เจอได้บ่อยในผู้หญิง ประมาณ 1 ใน 5 คน หรือ 20% และการศึกษาบางชิ้นก็บอกว่า ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 50%

ส่วนกรณีที่ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเป็นโรคเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก นายแพทย์โอฬาริก ระบุว่า จะต้องมีการวินิจฉัยเพื่อดูว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้หรือไม่ คือต้องดูประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยประวัติของคนที่ต้องตรวจเนื้องอกมดลูก มีดังนี้

  1. ประจำเดือนผิดปกติ อาจจะเกิดจากการที่ประจำเดือนมาเยอะ หรือเลือดออกผิดปกติ
  2. อาการที่ก้อนเนื้อโต แล้วไปกดอวัยวะต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ จนปัสสาวะบ่อย หรือไปกดลำไส้ จนท้องผูก บางคนไปกดจนท่อไต ก็ทำให้ไตบวม และเกิดอาการปวดเอว ปวดหลัง
  3. มีอาการตั้งครรภ์ยาก ตั้งครรภ์แล้วมีปัญหา
  4. การตรวจร่างกายก็พอจะบอกได้ แต่เนื้องอกในมดลูกมีหลายตำแหน่ง มีหลายขนาด การตรวจภายในบางครั้งไม่สามารถบอกได้ชัดเจน ก้อนที่จะเริ่มคลำได้ จะเหมือนคนท้องประมาณ 3 เดือน หรือประมาณ 4-5 ซม. แต่หากก้อนเนื้อไปอยู่ในโพรงมดลูก จะคลำไม่ได้
  5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การอัลตราซาวด์ ถ้าก้อนใหญ่จริง ๆ จะเห็น แต่ถ้าก้อนเล็กและอยู่ในโพรงมดลูก อาจจะไม่เห็น ต้องมีการทำ MRI เพิ่มเติม หรืออัลตราซาวด์แบบพิเศษ คือ ฉีดน้ำเข้าไปในมดลูก แล้วอัลตราซาวด์

นายแพทย์โอฬาริก ระบุอีกว่า ก้อนเนื้องอกเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยมาก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งเลย ประมาณ 0.1-0.3% หรือประมาณ 1,000 คน จะมีโอกาสเป็น 1 คน และต้องมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ก้อนเนื้อโตเร็ว ก้อนเนื้อเจอในคนแก่

ส่วนการรักษาจะเป็นไปตาม 3 อ. คือ อาการ อายุ และอยากมีลูก ดังนี้

  1. อาการ : มีเลือดออกเยอะหรือไม่ ก้อนเนื้องอกใหญ่มากขนาดไหน กดเบียดอวัยวะไหน
  2. อายุ : อายุน้อยหรืออายุมาก จะเป็นตัวแปรสำคัญว่า จะต้องรักษาอย่างไร
  3. อยากมีลูก : คนไข้อายุน้อยแล้วยังคงอยากมีลูก หรืออายุมากแล้วไม่อยากมีลูกหรือไม่

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวแปรผัน โดยการรักษาเป็นไปได้หลายแบบ ทั้งการใช้และไม่ใช้ยา หากใช้ยาก็มีทั้งยาฉีด ยากิน การผ่าตัดทั้งแบบเปิดหน้าท้อง ผ่าตัดส่องกล้อง ทั้งนี้ นายแพทย์โอฬาริก ยังแนะนำด้วยว่า เรื่องแบบนี้ควรมาพบแพทย์ หากผู้หญิงมัวแต่เขินอายจะไม่หายจากโรค