ค่าแรงขั้นต่ำ

บอร์ดค่าจ้าง เลื่อนเคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 6 ธ.ค.62

นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เผยว่าคณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดไตรภาคีมีมติเลื่อนเคาะค่าจ้าง เป็นวันที่ 6 ธันวาคม เนื่องจากต้องพิจารณาข้อมูลสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน และประเมินผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการขึ้นค่าจ้าง สำหรับข้อเสนอของกลุ่มลูกจ้าง ที่ต้องการให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศเท่ากัน 400 บาท ไม่สามารถเป็นไปได้ยังคงพิจารณาตามรายจังหวัดเช่นเดิม…

Home / NEWS / บอร์ดค่าจ้าง เลื่อนเคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 6 ธ.ค.62

ประเด็นน่าสนใจ

  • รัฐบาลชี้แจงเศรษฐกิจยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง เงินลงทุนทะลุกว่า 4.3 แสนล้านบาท
  • ตัวเลขกิจการพบเปิดมากกว่าปิด 2 เท่า
  • เลื่อนเคาะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นวันที่ 6 ธันวาคมนี้ หวั่นสินค้าขึ้นราคาล่วงหน้า

นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เผยว่าคณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดไตรภาคีมีมติเลื่อนเคาะค่าจ้าง เป็นวันที่ 6 ธันวาคม เนื่องจากต้องพิจารณาข้อมูลสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน และประเมินผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการขึ้นค่าจ้าง

สำหรับข้อเสนอของกลุ่มลูกจ้าง ที่ต้องการให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศเท่ากัน 400 บาท ไม่สามารถเป็นไปได้ยังคงพิจารณาตามรายจังหวัดเช่นเดิม โดยได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานเข้าไปสำรวจ รายจ่ายของลูกจ้างแต่ละจังหวัดอย่างละเอียด พบว่ามีรายจ่ายไม่เท่ากัน

หากขึ้นปรับขึ้นค่าแรงตอนนี้ อาจกระทบราคาสินค้า

ส่วนบรรยากาศการพูดคุยกัน 3 ฝ่าย นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ มีบรรยากาศที่สมานฉันท์มีตัวเลขอยู่ในใจแล้วแต่ยังไม่สามารถบอกได้ ต้องขอเลื่อนการพิจารณาออกไป เนื่องจากเกรงว่าหากเคาะตัวเลขขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในเวลานี้จะทำให้สินค้าขึ้นราคา ไปล่วงหน้า

ขณะที่ สถานการณ์ปิดกิจการเลิกจ้างก็มีความเป็นห่วงว่า การขึ้นค่าแรงจะไปกระทบหรือซ้ำเติมปัญหาหรือไม่ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในที่ประชุม ได้นำไปพิจารณาให้รอบครอบ โดยกระทรวงเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและมีแพ็คเกจหาตำแหน่งงาน ให้กับลูกจ้างที่ตกงานเนื่องจากข้อมูลกรมโรงงาน มีโรงงานเปิดมากกว่าปิด

ส่วนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและไม่ได้ค่าชดเชยตามกฎหมายก็พร้อมที่จะเข้าไปเจรจากับนายจ้าง ซึ่งสถิติตัวเลขในการไกล่เกลี่ยระหว่างปีนี้กับปีที่แล้วไม่ต่างกันมากนัก ไม่มีความหมายในเชิงสถิติใดๆ ว่าปีนี้แย่กว่า ส่วนสถานการณ์ในปีหน้าเชื่อว่ายังคงเป็นบวก อย่างแน่นอน เมื่อเป็นคนไทย อยู่ประเทศไทยก็ยังคงจะต้องมีความหวังว่าจะต้องดีขึ้น

โฆษกรัฐบาล แจงสถานการณ์เศรษฐกิจ

ขณะที่นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมระบุว่า ตั้งแต่ 1 มกราคมถึง 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการขอยื่นเปิดกิจการโรงงานใหม่ สูงถึง 2,889 โรงงาน มีการจ้างสูงถึง 84,033 คน และมีการจ้างงานเพิ่มจากการขยายโรงงานอีกจำนวน 84,704 คน

ขณะที่การยื่นขอปิดกิจการโรงงานจำนวน 1,391 โรงงาน มีการเลิกจ้างงานจำนวน 35,533 คน กล่าวคือมีโรงงานเปิดใหม่สูงขึ้นกว่าปิดกิจการกว่า 2 เท่าตัวและพบว่าปีนี้มีเงินลงทุนเพิ่มสูงถึง 4.31 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 36.6% สอดคล้องกับข้อมูลกระทรวงแรงงานที่รายงานว่ายังมีตำแหน่งว่างถึง79,000 อัตรา

ทั้งนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือตามนโยบาลรัฐบาล ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และแขนกล ท่องเที่ยวสุขภาพ และยานยนต์ตามลำดับ