ข่าวสดวันนี้ แผ่นดินไหวที่ลาว

สภาวิศวกร ยัน กทม. ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว พร้อมแนะวิธีรับมือ

จากกรณีที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ และอาฟเตอร์ช็อกขนาด 6.4 ริกเตอร์ตามมาอีกหลายครั้ง ที่ประเทศลาวจนส่งผลทำให้อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ ได้รับแรงสั่นสะเทือนนั้น ทางสภาวิศวกร ได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมให้ความรู้ประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือ โดยระบุว่า สภาวิศวกร ชี้…

Home / NEWS / สภาวิศวกร ยัน กทม. ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว พร้อมแนะวิธีรับมือ

ประเด็นน่าสนใจ

  • สภาวิศวกรแถลงข่าวหลังเกิดแผ่นดินไหวที่ลาว จนตึกสุงในไทยรับแรงสั่นไหว
  • ย้ำไม่ได้นิ่งนอนใจ เล็งตรวจอาคารเก่าหาทางรับมือ

จากกรณีที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ และอาฟเตอร์ช็อกขนาด 6.4 ริกเตอร์ตามมาอีกหลายครั้ง ที่ประเทศลาวจนส่งผลทำให้อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯ ได้รับแรงสั่นสะเทือนนั้น

ทางสภาวิศวกร ได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมให้ความรู้ประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือ โดยระบุว่า สภาวิศวกร ชี้ 3 แนวทางเตรียมพร้อมคนกรุงเทพฯ รับมือแผ่นดินไหว ดังนี้

  1. จัดอบรมให้ความรู้ประชาชน เรื่องผลกระทบจากแผ่นดินไหว วิธีการดูแลอาคารให้ปลอดภัย
  2. มีการตรวจสอบอาคารตามความเสี่ยง โดยแบ่งประเภทของอาคารตามความเสี่ยง เช่น สีแดง อาคารเก่าที่เสี่ยงมาก ต้องปรับปรุง เสริมโครงสร้างทันที สีส้ม อาคารที่เสี่ยงระดับกลาง ที่ต้องหมั่นตรวจสอบ ตามกำหนด และ สีเหลือง อาจมีความเสี่ยง เช่น มีการต่อเติม
  3. มีสถานีวัดแรงสั่นสะเทือน พร้อมแจ้งเตือนประชาชนในทุกซ่องทางทันที หลังคืนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 จนถึงเช้าวันที่21 พฤศจิกายน 2562 พบแผ่นดินไหวต่อเนื่อง ต่ำสุด 2.9 และสูงสุดที่ 6.4

การเกิดแผ่นดินไหวที่จะรู้สึกได้ดีที่สุดคือ คนที่อาศัยอยู่บนตึกที่สูงๆ จะรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนมากกว่าบ้านที่มีชั้นเดียว กรุงเทพฯ จะมีความเสี่ยงแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนทางภาคเหนือ

สำหรับอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวคือ อาคารเก่าหรือมีการก่อสร้างก่อนปี 2550 เพราะอาคารลักษณะดังกล่าวได้รับการออกแบบและก่อสร้างมายาวนาน

ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไม่นิ่งนอนใจที่จะเข้าตรวจสอบความแข็งแรงเชิงโครงสร้างของอาคารอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในอนาคตอาจจะเกิดแผ่นดินไหวที่ขึ้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะในอนาคตอาจจะเกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น และรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ส่วนกลุ่มอาคารสูงรุ่นใหม่ มักเป็นอาคารที่มีโครงสร้างรองรับการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งใช้โครงสร้างเหล็กเป็นหลักตามมาตรฐาน พรบ. ควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้มีการรองรับแผ่นดินไหว

อีกทั้งการออกแบบเพื่อรับแรงลม เสมือนช่วยเรื่องแผ่นดินไหวในะดับหนึ่ง นอกจากนี้ สำหรับอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น จะได้รับผลกระทบต่ำเนื่องจากการสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว จะไม่ส่งผลกระทบต่อการสั่นไหวของตึก ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน 1303 และเว็บไซต์ www.coe.or.th