Nice Review ซีอีโอ นายณรงค์ อินลี

รวบแล้วซีอีโอ ‘Nice Review’ คาเวียงจันทน์

ชุดสืบสวนตำรวจภูธรภาค 4 ภายใต้การนำทีมของ พล.ต.ต.ยรรยง เวชโอสถ รอง ผบช.ภ 4 ติดตาม จับกุมตัว นายณรงค์ อินลี ผู้บริหารบริษัทบริษัท เอนเนอร์จี ดีดักชั่น…

Home / NEWS / รวบแล้วซีอีโอ ‘Nice Review’ คาเวียงจันทน์

ประเด็นน่าสนใจ

  • เกิดกรณีแชร์ ‘Nice Review’ ที่อ้างตัวว่าเป็นบริษัทโฆษณาแบบใหม่วงแตก ผู้ที่ลงทุนกับบริษัทดังกล่าวไม่สามารถเบิกเงินที่ลงไปกับบริษัทคืนได้ จนมีการแจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ และได้มีการออกหมายจับซีอีโอของบริษัทก่อนหน้านี้
  • มีการสืบทราบว่า นายณรงค์ อินลี ซึ่งเป็นซีอีโอของ ‘Nice Review’ ได้นำเงินหลบหนีไปต่างประเทศ
  • ล่าสุดเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัว นายณรงค์ ได้แล้วที่ประเทศเพื่อนบ้าน

ชุดสืบสวนตำรวจภูธรภาค 4 ภายใต้การนำทีมของ พล.ต.ต.ยรรยง เวชโอสถ รอง ผบช.ภ 4 ติดตาม จับกุมตัว นายณรงค์ อินลี ผู้บริหารบริษัทบริษัท เอนเนอร์จี ดีดักชั่น จำกัด (ไนท์รีวิว) โดยนายนายณรงค์เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ ศาลอาญาลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ในข้อหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน หลังจากผู้เสียหายที่ได้นำเงินไปจ่ายเป็นค่าประกันการทำงานกับบริษัท แต่ไม่สามารถเบิกเงินที่จ่ายไปให้บริษัทคืนได้ เข้าแจ้งความไว้ที่ สน.โคกคราม

นายณรงค์ อินลี ผู้บริหารบริษัทบริษัท เอนเนอร์จี ดีดักชั่น จำกัด (ไนท์รีวิว)

ทั้งนี้จากรายงานเผยว่า เจ้าหน้าที่ ติดตามจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ที่เวียงจันทน์ เมืองหลวงของสปป.ลาว โดยขณะนี้ผู้ต้องหาอยู่ในระหว่างการคุมตัว กลับมาสอบสวนและส่งตัวดำเนินคดีที่ สน.โคกคราม ตามท้องที่ที่ได้ขอศาลออกหมายจับไว้

ก่อนหน้านี้มีผู้เสียหายที่เป็นเหยื่อจากการร่วมลงเงินกับ ‘Nice Review’ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ติดต่อเข้าแจ้งความนับพันราย มูลค่าความเสียหายกว่า 20 ล้านบาท และคาดว่ามูลค่าความเสียหายทั่วประเทศอาจสูงกว่า 5,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ‘Nice Review’ อ้างตัวเป็นบริษัทโฆษณารูปแบบใหม่ ที่ใช้ทุนจดทะเบียบสูงกว่าร้อยล้านบาท โดยเปิดให้สมาชิกสมัครเข้ามาช่วยโปรโมทโพสต์ของลูกค้าด้วยการ กดไลค์ หรือเข้าไปแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก รวมไปถึงแชร์โพสต์ เพื่อเพิ่มยอดขาย หรือสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ และจ่ายค่าตอบแทนในลักษณะยิ่งโพสต์มาก ยิ่งได้มาก

โดยบริษัทมีการเรียกเก็บเงินค่าประกันจากสมาชิกที่ต้องการร่วมทำงาน โดยอ้างว่าเป็นการประกันความเสียหายให้กับทางบริษัทคล้ายกับลักษณะการเปิดพอร์ต แต่ในตอนหลังบริษัทได้ประกาศปิดปรับปรุงระบบและไม่สามารถติดตามตัวเจ้าของบริษัทได้ จนกระทั่งปรากฏเป็นข่าวในคดีแชร์ลูกโซ่ในที่สุด

อ่านบทความเจาะลึกคดี ‘Nice Review’ ได้ที่ เปิดปูม ‘Nice Review’ จากโมเดลการ ‘ทำงานผ่านเน็ต’ สู่ ‘คดีแชร์ลูกโซ่’