เครนถล่ม ไซด์ก่อสร้าง

วสท. เข้าตรวจไซด์งานก่อสร้าง หลังเครนชักรอกทับคนงานเจ็บ 3 ราย

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชปลัมภ์(วสท.) และสำนักการโยธา กทม. ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุรอกชักในไซด์งานก่อสร้างย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนวรจัก พังถล่มทับคนงานสาหัส 3 ราย โดยที่เกิดเหตุในซอยเจ้าคำรบ เป็นไซต์งานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ สำหรับพักอาศัยซึ่งกำลังขึ้นโครงเหล็กความสูงประมาณ 7 เมตร โครงสร้างมีเสาเหล็กถักชักรอกชั่วคราวความสูงกว่า…

Home / NEWS / วสท. เข้าตรวจไซด์งานก่อสร้าง หลังเครนชักรอกทับคนงานเจ็บ 3 ราย

ประเด็นน่าสนใจ

  • วานนี้เกิดเหตุรอกชักในไซด์ก่อสร้างย่านป้อมปราบศัครูพ่าย พังถล่ม
  • เบื้องต้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นคนงาน สาหัส 3 ราย
  • จากการตรวจสอบพบว่าไซต์ก่อสร้างแห่งนี้ ขาดความรอบคอบในการป้องกันอุบัติเหตุ ใช่อุปกรณ์ไม่เหมาะสมกับงาน

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชปลัมภ์(วสท.) และสำนักการโยธา กทม. ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุรอกชักในไซด์งานก่อสร้างย่านป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนวรจัก พังถล่มทับคนงานสาหัส 3 ราย

โดยที่เกิดเหตุในซอยเจ้าคำรบ เป็นไซต์งานก่อสร้างอาคารพาณิชย์ สำหรับพักอาศัยซึ่งกำลังขึ้นโครงเหล็กความสูงประมาณ 7
เมตร โครงสร้างมีเสาเหล็กถักชักรอกชั่วคราวความสูงกว่า 15 เมตร สำหรับยกเหล็กโครงสร้าง สภาพหักหลุดจากตัวเสา ทำให้คาน
เหล็กน้ำหนักกว่า 10 ตัน ที่พันด้วยเชือกไนล่อนมัดขาดตกลงมาถูกนั่งร้านในขณะที่คนงานกำลังทำงานจนตกลงมาได้รับบาดเจ็บ 3
ราย ทำให้อีกคนหนึ่งบาดเจ็บสาหัสถูกเหล็กเส้นเสียบทะลุท้องด้านขวา และขณะนี้ อาการผู้บาดเจ็บทั้ง 3 คนยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกลางและมีอาการปลอดภัยแล้ว

ทั้งนี้ นายสิริวัฒน์ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบพบว่าไซต์ก่อสร้างแห่งนี้ ขาดความรอบคอบในการป้องกันอุบัติเหตุ เพราะได้ใช้รอกยกสิ่งของน้ำหนัก 1.8-2 ตัน ต้องมีผู้ควบคุมตรวจสอบ และคอยดูแลว่า อุปกรณ์ที่ใช้มีความเหมาะสมกับงานหรือไม่ เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างแห่งนี้มีจำกัด และการใช้เครนหรือปั้นจั่น ที่มีความสูงเกิน 10 เมตร จำเป็นต้องมีวิศวกรควบคุมตรวจสอบ รวมถึงแนะนำคนงานในการทำงานตลอดเวลา จึงถือเป็นความบกพร่องกับผู้เกี่ยวข้อง

ด้านนายวุฒินันท์ ปัทมวิสุทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมการยกหิ้วและปั่นจั่นไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า สำหรับวิธีการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนเหล็ก หรือสิ่งของน้ำหนักมาก อันดับแรกต้องประเมินน้ำหนักสิ่งของและดูอุปกรณ์ที่ใช้ยก จะใช้เครน หรือรอกยกก็ได้ แต่ต้องดูพิกัดน้ำหนักสิ่งของ และต้องผูกมัดด้วยสลิงที่ออกแบบ โดยเฉพาะที่จะมีมาตรฐานกำหนด ส่วนโครงสร้างชั่วคราวที่ใช้รับน้ำหนักต้องให้วิศวกรคำนวณการผูกรั้งยึดเกาะกับโครงสร้างหลักของอาคาร เพราะระหว่างการก่อสร้าง อาจเกิดแรงเคลื่อนไหวกระทบกับรอกได้ จึงต้องมีวิศวกรชำนาญการเฉพาะ ส่วนคนงานผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต้องผ่านการฝึกอบรมการทำงาน และต้องมีความรู้มากพอสมควร

อย่างไรก็ตาม พื้นที่โดยรอบที่เกิดเหตุอยู่ใกล้แหล่งที่พักอาศัยของชุมชน มีประชาชนเดินเข้าออกตลอดเวลา อีกทั้งมีร้านค้าอยู่ในซอยดังกล่าว ลักษณะอาคารแห่งนี้ ก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์สำหรับพักอาศัยความสูง 7 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน โดยได้ขออนญาดอย่างถูกต้อง เมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา