ราชกิจจาฯ ประกาศผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอาง

ประเด็นสำคัญ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกฏกระทรวง ให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอาง โดยระบุเหตุผล เนื่องจาก พ.ร.บ. เครื่องสำอาง ฉบับใหม่ได้เปลี่ยนคำนิยาม ทำให้ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ครอบคลุม จำเป็นต้องประกาศเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ทั้งผ้าอนามัยแบบใช้ภายนอกและแบบสอด ถูกประกาศให้เป็นเครื่องสำอางมาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่…

Home / NEWS / ราชกิจจาฯ ประกาศผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอาง

ประเด็นสำคัญ

  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกฏกระทรวง ให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอาง
  • โดยระบุเหตุผล เนื่องจาก พ.ร.บ. เครื่องสำอาง ฉบับใหม่ได้เปลี่ยนคำนิยาม ทำให้ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ครอบคลุม จำเป็นต้องประกาศเพิ่มเติม
  • อย่างไรก็ตาม ทั้งผ้าอนามัยแบบใช้ภายนอกและแบบสอด ถูกประกาศให้เป็นเครื่องสำอางมาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ มี พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2535
  • แต่ถูกจัดให้เป็นสินค้าควบคุม ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 53 พ.ศ. 2562

จากกรณีที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่กฎกระทรวงสาธารณสุข กำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ.2564 โดยถึง คำนิยามของคำว่า “เครื่องสำอาง” ในมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุดออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ให้ผ้าอนามัยชนิดสอดที่ใช้สอดใส่เข้าไปในช่องคลอดเพื่อซับเลือดประจำเดือน เป็นเครื่องสำอาง

โดยประกาศกฎกระทรวงได้ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ซึ่งในตอนท้ายระบุถึงสาเหตุที่ต้องประกาศให้เป็นเครื่องสำอางนั้น ได้มีการอ้างอิงตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง ปีพ.ศ. 2558 ได้บัญญัติให้วัถตุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวง เป็นเครื่องสำอาง โดยมีความจำเป็นเพื่อการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของผ้าอนามัยแบบสอด เพื่อให้สามารถคุ้มครองความปลอภัยและอนามัยของผู้บริโภคได้ จึงสมควรให้กำหนดให้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเครื่องสำอาง

ผ้าอนามัยแบบใช้ภายนอกจัดเป็นเครื่องสำอางมาก่อนแล้ว

สำหรับผ้าอนามัย ทั้งชนิดที่ใช้ภายนอกและชนิดสอด จัดเป็นเครื่องสำอางตั้งแต่ปี 2528 นับตั้งแต่ มี พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2535 โดยเข้าได้กับนิยามของพ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งต่อมา ได้มีการแก้ไข ปรับปรุง นิยามตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 กำหนดนิยาม “เครื่องสำอาง” ไว้ใน (1) โดยระบุว่า

(1) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดกับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ และให้หมายความถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏหรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่าง ๆ นั้นให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินต่าง ๆ สำหรับผิวด้วย แต่ไม่รวมถึงเครื่องประดับ และเครื่องแต่งตัว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

จากนิยามดังกล่าว นั้นทำให้ผ้าอนามัยชนิดสอด หลุดจากคำนิยามดังกล่าว จึงทำให้ต้องมีการออกกฎกระทรวงออกมาเพื่อให้ครอบคลุมอีกครั้ง และแม้ว่าผ้าอนามัยชนิดธรรมดา และผ้าอนามัยแบบสอดจะถูกจัดเป็นเครื่องสำอาง แต่อยู่ในประกาศควบคุมราคาสินค้า ใน ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 53 พ.ศ. 2562 เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ลำดับที่ 31 จึงทำให้กรมสรรพสามิต ดำเนินการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ตามปรกติเช่นเดียวกับสินค้าทั่วไป เพราะเป็นสินค้าจำเป็น

เรียกร้อง #ผ้าอนามัยไม่มีภาษี

ซึ่งหลังจากที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกฎกระทรวงฉบับนี้ออกมา ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องและวิพากษ์วิจารณ์ในส่วนประเด็นดังกล่าวที่เกิดขึ้น โดยอ้างถึงการประกาศดังกล่าว ทำให้เมื่อผ้าอนามัยแบบสอด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง ทำให้มีหลายฝ่ายกังวลว่า จะมีการดำเนินการจัดเก็บภาษีเช่นเดียวกับสินค้านำเข้าอื่น ๆ ซึ่งสูงถึง 30% นั่นเอง


เพิ่มเติม – ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 10 ปี 2536