PM2.5 ข่าวสดวันนี้ ฝุ่นพิษ

คนกรุงห่วงสุขภาพ สวมหน้ากากกันฝุ่น แม้ PM2.5 แนวโน้มลดลง

แม้กรมควบคุมมลพิษ ได้ประกาศ ถึงสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในวันนี้ จะมีปริมาณลดลง โดยวัดค่า PM2.5 ในเวลา 13.00-15.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจได้…

Home / NEWS / คนกรุงห่วงสุขภาพ สวมหน้ากากกันฝุ่น แม้ PM2.5 แนวโน้มลดลง

ประเด็นน่าสนใจ

  • ค่าฝุ่น PM2.5 ช่วงเย็นวันนี้อยู่ที่ 44-75 มคก./ลบ.ม. ลดลงจากวานนี้
  • ส่วนพื้นที่ ที่มีค่า PM2.5 เกินมาตรฐานใน กทม. มีอยู่ด้วยกัน 16 เขต
  • ด้าน รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ แนะแม้ค่าฝุ่นพิษลดลง แต่ควรสวมหน้ากากป้องกันไว้ในช่วงนี้

แม้กรมควบคุมมลพิษ ได้ประกาศ ถึงสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในวันนี้ จะมีปริมาณลดลง โดยวัดค่า PM2.5 ในเวลา 13.00-15.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจได้ 44-75 มคก./ลบ.ม.- ค่าเฉลี่ย 56 มคก./ลบ.ม.- ค่าPM2.5

แต่ประชาชนในเมืองกรุงต่างห่วงใยสุขภาพของตัวเอง ด้วยการพากันสวมหน้ากากป้องกันมลพิษกันอยู่ โดยเฉพาะเวลาช่วงเญ้นที่ผู้คนได้เดินทางกลับที่พัก หลังเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานตลอดทั้งวัน

ซึ่งพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 มีค่าเกินมาตรฐาน อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ มีจำนวน 16 เขต คือ เขตสัมพันธวงศ์ เขตวังทองหลาง เขตปทุมวัน เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองสาน เขตบางกอกน้อย เขตภาษีเจริญ เขตบางเขน เขตบางพลัด เขตบางขุนเทียน เขตพระนคร เขตสาทร เขตบางซื่อ เขตหลักสี่ เขตบึงกุ่ม

ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวขอโทษชาวกรุงเทพมหานครต่อสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดซ้ำในหลายเขตพื้นที่ซึ่งมีค่าเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เนื่องจากมีแรงกดอากาศมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมคาดว่าจะมาในเดือนธันวาคมถึงมกราคม แต่ในเดือนตุลาคมก็มาแล้ว

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดซ้ำในหลายเขตพื้นที่ซึ่งมีค่าเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เนื่องจากมีแรงกดอากาศมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมคาดว่าจะมาในเดือนธันวาคมถึงมกราคม แต่ในเดือนตุลาคมก็มาแล้ว

ซึ่งเหมือนฝาชีที่ครอบกรุงเทพฯ เอาไว้ ดังนั้นมาตรการเร่งด่วนในช่วงนี้ จึงขอประชาชนและเด็กเล็กใส่หน้ากากอนามัย และขอความร่วมมือประชาชนในเขตเมืองลดการใช้รถยนต์บนถนนซึ่งจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

ทั้งนี้นายวราวุฒิ เปิดเผยว่า วันนี้เตรียมเซ็นมาตรการลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ภายหลังนายกรัฐมนตรีเรียกประชุมด่วนและกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในสามด้าน ได้แก่

  • 1.การดูแลเชิงพื้นที่ ที่มีการเกิดมลพิษแตกต่างกันทั้งกลุ่ม 9 จังหวัดภาคเหนือเกิดจากการเผาไหม้ทางการเกษตร / กรุงเทพฯ ปริมลฑล ภาคกลางเกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ / และภาคใต้ เกิดจากพัดพามาจากประเพื่อนบ้าน
  • 2.มาตรการลดการผลิต PM 2.5 ในระยะสั้น
  • 3.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมมลพิษ

ถ้ายังต่ำกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลุกบาศก์เมตร ทุกอย่างยังสามารถดำเนินการได้ปกติ แต่ถ้าขึ้นไปถึง 50-75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรก็ต้องเข้าสู่ช่วงเฝ้าระวัง แต่หากเข้าถึงระดับ 75-100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นขั้นอันตรายก็จะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละพื้นที่มีอำนาจตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร

เช่นการสั่งปิดโรงเรียน หรือไม่อนุญาตให้รถยนต์วิ่งผ่าน และหากเกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรถือว่าเข้าขั้นวิกฤตก็จะนำเรื่องเข้าคณะกรรมการ เพื่อขอเสนอมาตรการต่อนายกรัฐมนตรีเพิ่มความเข้มข้น รวมถึงมาตราการตรวจวัดที่ปัจจุบันมีเครื่องอยู่แต่ยังไม่เพียงพอ และบางส่วนยังไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งต้องทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้

อย่างไรก็ตามมาตรการเฝ้าระวังจะแบ่งออกเป็นระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้นต้องประสานกระทรวงพลังงานขอให้มีการใช้น้ำมันที่มีคุณภาพมากขึ้น เพิ่มมาตรฐานเครื่องยนต์ เพื่อลดการผลิตมลภาวะ รวมถึงการควบคุมการวางฝังเมืองและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่