กรุงโรม ขวดพลาสติกแลกตั๋วรถไฟ ข่าวสดวันนี้

กรุงโรมผุดไอเดียเจ๋งให้ผู้โดยสารใช้ขวดพลาสติกแลกตั๋วรถไฟใต้ดิน

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า กรุงโรมของอิตาลี ผุดไอเดียเสนอให้ผู้โดยสารระบบขนส่งสาธารณะสามารถนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว มาแลกเป็นค่าโดยสารระบบขนส่งภายในเมืองได้ฟรี เพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก ที่สถานีรถไฟใต้ดินซานจิโอวานนี ผู้โดยสารต่างถือถุงที่เต็มไปด้วยขวดพลาสติกใช้แล้ว และต่อแถวกันเพื่อนำขวดพลาสติกมาแลกเป็นเครดิต 5 เซนต์ เพื่อนำไปซื้อตั๋วโดยสารแบบดิจิทัล ผู้โดยสารสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่น “มายชิเชโร” เพื่อสแกนบาร์โค้ดของตัวเองกับเครื่องรีไซเคิลแบบพิเศษ…

Home / NEWS / กรุงโรมผุดไอเดียเจ๋งให้ผู้โดยสารใช้ขวดพลาสติกแลกตั๋วรถไฟใต้ดิน

ประเด็นน่าสนใจ

  • อิตาลีเสนอให้ผู้โดยสารนำขวดพลาสติกมาแลกตั๋วโดยสารรถไฟใต้ดินได้ฟรี
  • มาตรการนี้ มีขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า กรุงโรมของอิตาลี ผุดไอเดียเสนอให้ผู้โดยสารระบบขนส่งสาธารณะสามารถนำขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว มาแลกเป็นค่าโดยสารระบบขนส่งภายในเมืองได้ฟรี เพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก

ที่สถานีรถไฟใต้ดินซานจิโอวานนี ผู้โดยสารต่างถือถุงที่เต็มไปด้วยขวดพลาสติกใช้แล้ว และต่อแถวกันเพื่อนำขวดพลาสติกมาแลกเป็นเครดิต 5 เซนต์ เพื่อนำไปซื้อตั๋วโดยสารแบบดิจิทัล

ผู้โดยสารสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่น “มายชิเชโร” เพื่อสแกนบาร์โค้ดของตัวเองกับเครื่องรีไซเคิลแบบพิเศษ จากนั้นหย่อนขวดลงเครื่องดังกล่าว และซื้อตั๋วโดยสารดิจิทัล

ตั๋วโดยสารแบบมาตรฐาน สามารถใช้โดยสารรถไฟใต้ดินได้ 1 รอบ หรือโดยสารรถบัสได้ทุกประเภทเป็นเวลา 100 นาที ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 1.50 ยูโร หรือราว 50 บาท ซึ่งผู้โดยสารสามารถนำขวดพลาสติก 30 ขวดมาแลกเป็นค่าโดยสารจำนวนดังกล่าวได้

นายคลาวดิโอ เพอเรลลี ชาวโรมรายหนึ่ง กล่าวว่า หากมีเงินเป็นแรงจูงใจในการรีไซเคิล แม้แต่ผู้ที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมก็ต้องการรีไซเคิล

นายลูคา อัลแบร์โต ดิ เลาโร กล่าวว่า แทนที่จะทิ้งขวดพลาสติกไปอย่างเปล่าประโยชน์ เราสามารถนำขวดมาหยอดใส่เครื่องรีไซเคิลพิเศษนี้ได้ เนื่องจากการคัดแยกขยะเป็นปัญหาในกรุงโรม

กรุงโรมกำลังเผชิญปัญหาขยะล้นถังทั่วเมือง หลังปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขมานานหลายสิบปี โดยมีขยะหลายร้อยตันบนถนนหลายแห่งที่ไม่ได้ถูกเก็บรวบรวม ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นกระทบต่อภาพลักษณ์ของเมือง

นายสเตฟาโน เชียฟานี ประธานกลุ่มสิ่งแวดล้อมของอิตาลี ระบุว่า สถานการณ์ขยะล้นถังของกรุงโรมนั้น “ค่อนข้างรุนแรง” และกรุงโรมล้มเหลวที่จะสร้างระบบคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ