ประเด็นน่าสนใจ
- 5 วันแรก จากมาตรการ ชิมช้อปใช้ มีผู้ใช้สิทธิ์จำนวน 706,450 ราย มีการใช้จ่ายรวมประมาณ 628 ล้านบาท
- จังหวัดที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ ประมาณ 87 ล้านบาท
- กลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 22-30 ปี
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การใช้จ่าย 5 วันแรก จากมาตรการ ชิมช้อปใช้ มีผู้ใช้สิทธิ์จำนวน 706,450 ราย มีการใช้จ่ายรวมประมาณ 628 ล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 1 ประมาณ 621 ล้านบาท
โดยเป็นการใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” ซึ่งเป็นร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร้านธงฟ้าประชารัฐกว่าร้อยละ 50 หรือประมาณ 330 ล้านบาท
ส่วนร้าน “ชิม” หรือร้านอาหารและเครื่องดื่ม มียอดใช้จ่ายประมาณ 98 ล้านบาท ร้าน “ใช้” เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ เป็นต้น มียอดใช้จ่ายประมาณ 10 ล้านบาท และร้านค้าทั่วไป มียอดใช้จ่ายประมาณ 183 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า มีการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาประมาณ 142 ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 22 ของยอดใช้จ่ายทั้งหมด
สำหรับการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 2 มีผู้ใช้สิทธิ์แล้วจำนวน 2,962 ราย มียอดใช้จ่ายประมาณ 7.5 ล้านบาทหรือเฉลี่ยรายละประมาณ 2,532 บาท โดยเป็นการใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” ประมาณ 5 ล้านบาท ส่วนร้าน “ชิม” และร้าน “ใช้” มียอดใช้จ่ายใกล้เคียงกันที่ประมาณ 1 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาจากจังหวัดที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด พบว่า 10 อันดับแรก ได้แก่
- กรุงเทพฯ ประมาณ 87 ล้านบาท
- ชลบุรี ประมาณ 48 ล้านบาท
- สมุทรปราการ ประมาณ 29 ล้านบาท
- ระยอง ประมาณ 20 ล้านบาท
- ปทุมธานี ประมาณ 20 ล้านบาท
- พระนครศรีอยุธยา ประมาณ 19 ล้านบาท
- ลำพูน ประมาณ 18 ล้านบาท
- เชียงใหม่ ประมาณ 17 ล้านบาท
- นครปฐม ประมาณ 17 ล้านบาท
- นนทบุรี ประมาณ 15 ล้านบาท
กลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 22-30 ปี ประมาณร้อยละ 35 รองลงมาคือช่วงอายุ 31-40 ปี ประมาณร้อยละ 30
- เช็คร้านค้าชิมช้อปใช้ ภาคใต้
- เช็คร้านค้าชิมช้อปใช้ ภาคเหนือ
- เช็คร้านค้าชิมช้อปใช้ ภาคกลาง
- เช็คร้านค้าชิมช้อปใช้ ภาคอีสาน
- เช็คร้านค้าชิมช้อปใช้ ภาคตะวันตก
- เช็คร้านค้าชิมช้อปใช้ ภาคตะวันออก
ขั้นตอนการลงทะเบียน : >>>คลิ๊ก<<<
รวมคำถาม-ตอบ เกี่ยวกับ ‘ชิมช้อปใช้’ : >>>คลิ๊ก<<<