คกก.โรคติดต่อฯ ซิโนแวค วัคซีนโควิด-19 เเอสตร้าเซเนกา

คกก.โรคติดต่อฯ อนุมัติให้ฉีดวัคซีนสลับชนิด “ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา”

ผลวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุ ฉีดวัคซีนสลับชนิดเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น

Home / NEWS / คกก.โรคติดต่อฯ อนุมัติให้ฉีดวัคซีนสลับชนิด “ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา”

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ อนุมัติให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับยี่ห้อ เข็ม 1 ซิโนแวค เข็มที่ 2 แอสตร้า
  • ฉีด’บูสเตอร์โดส’บุคลากรการแพทย์ด่านหน้า ใช้แอสตร้าฯเป็นหลัก เเละควรได้รับการกระตุ้นในเดือน ก.ค.ได้ทันที
  • เห็นชอบแนวทางการใช้ชุดตรวจแอนติเจน โควิด 19 หรือ แอนติเจน เทสต์(Antigen Test Kit)ในการตรวจเชื้อ
  • แยกกักที่บ้านและในที่ชุมชน สำหรับผู้ป่วยโควิดที่เงื่อนไขเหมาะสมในการแยกกักที่บ้าน
  • ผลวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุ ฉีดวัคซีนสลับชนิดเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น

คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ อนุมัติให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับยี่ห้อ เข็ม 1 ซิโนแวค เข็มที่ 2 แอสตร้า – ฉีด’บูสเตอร์โดส’บุคลากรการแพทย์ด่านหน้า ใช้แอสตร้าฯเป็นหลัก

วันนี้ (12 ก.ค. 64) ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข เป็นประธาน พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์ขรจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีมติเห็นชอบ 4 ประเด็น ได้เเก่

  • คณะกรรมการโรคติกต่อฯเห็นชอบ ให้มีการฉีดวัคซีนสลับชนิด โดยเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค และเข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ เพื่อประสิทธิภาพ ป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ให้เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น โดยรพ.ดำเนินการได้ทันที เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า
  • ที่ประชุมรับทราบการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือ บูสเตอร์โดสสำหรับบุคลการทางการแพทย์ด่านหน้า โดยให้เข็ม 3 ห่างจาก เข็ม 2 ในระยะ 3-4 สัปดาห์ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแรก เกิน 4 สัปดาห์แล้วจึงให้กระตุ้นได้เลย วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันสูงและเร็วที่สุดต่อบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อจากการทำงานประจำในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งเชื้อสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์เป็นเดลตานั้น มีความจำเป็นที่จะต้องต้องบูสเตอร์โดสให้กับุคลากรทางการแพทย์ด่าหน้า เพื่อให้เกิดความมั่นใจและปลอดภัยแก่บุคลากรจะได้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ส่วนบูสเตอร์โดสนั้นจะเป็นแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลัก เนื่องจากมีข้อมูลวิชาการระบุว่าการให้วัคซีนคนละชนิดเป็นเข็มกระตุ้น มีผลดีต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในบุคคลเพื่อป้องกันโรคโควิด-19เพิ่มมากขึ้น
  • เห็นชอบแนวทางการใช้ชุดตรวจแอนติเจน โควิด 19 หรือ แอนติเจน เทสต์(Antigen Test Kit)ในการตรวจเชื้อ เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโรคโควิด ซึ่งในสถานการณ์ที่มีการระบาดหลายพื้นที่ จะได้ไม่ต้องรอคิวนานในการตรวจหาเชื้อโดยวิธีRT-PCRซึ่งใช้เวลานาน โดยการนำใช้ ตรวจแอนติเจนที่จะให้ประชาชนใช้ได้ จะต้องผ่านการรับรองและขึ้นเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ปัจจุบันมี 24 ราย โดยจะอนุญาตให้ตรวจในสถานพยาบาลที่รับรองมีมากกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ เพื่อลดระยะเวลารอคอย และในเร็วๆนี้ จะอนุญาตให้ตรวจได้เองที่บ้าน เพื่อทราบผลที่เร็วและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โดยกรมควบคุมโรคจะมอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.กำกับดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติ
  • เห็นชอบแนวทางการแยกกักที่บ้านและในที่ชุมชน สำหรับผู้ป่วยโควิดที่เงื่อนไขเหมาะสมในการแยกกักที่บ้าน ส่วนผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเข้ารับการักษาในรพ.ได้ แต่ที่ไม่มีอาการรุนแรงใช้Home Isolation หรือการแยกกันในชุมชนุม(Communication Isolation) เป็นการแยกกักในผู้ที่ในบ้านมีผู้คนจำนวนมาก และในการแยกกักจะมีอุปกรณ์วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจน วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และมียา โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)จัดทำแนวทางแล้ว และมีอาหาร โดยสปสช.จะร่วมมือกัลบรพ.ที่เป็นเจ้าภาพในการดูแลโอมของผู้ป่วย จะให้การดูแลเต็มที่

ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Booster dose) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้านั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบแล้วนานกว่า 3 เดือน จึงควรได้รับการกระตุ้นในเดือน ก.ค.ได้ทันที ซึ่งอาจเป็นวัคซีนแอสตราเซนเนกา หรือไฟเซอร์

ผลวิจัย ระบุ ฉีดวัคซีนสลับชนิดเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น

นพ.โอภาส เปิดเผยอีกว่า มีข้อมูลอ้างอิงอย่างน้อย 3 แหล่ง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีข้อมูลตรงกันว่า การฉีดวัคซีนสลับชนิดกัน จะมีประโยชน์ในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น และเชื่อว่าจะสามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาว่า หากฉีดวัคซีนเข็ม 1 เป็นซิโนแวค หลังจากนั้น 3-4 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนเข็ม 2 เป็นแอสตราเซเนกา การฉีดลักษณะนี้จะเป็นตัวกระตุ้นประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น และเชื่อว่าจะต่อต้านสายพันธุ์เดลตาได้ดีขึ้น แต่หากฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา เป็นเข็มแรก ก็ยังมีข้อแนะนำให้ใช้วัคซีนแอสตราเซเนกาเป็นเข็มที่ 2 โดยไม่ต้องสลับชนิดกัน