พยากรณ์อากาศ – 11 ก.ค. มีฝนตกต่อเนื่อง-ฝนตกหนักบางแห่ง

ฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ตะวันตก

Home / NEWS / พยากรณ์อากาศ – 11 ก.ค. มีฝนตกต่อเนื่อง-ฝนตกหนักบางแห่ง

ประเด็นน่าสนใจ

  • ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ตะวันตก
  • ขอให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
  • เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุม
  • ทะเลอันดามันตอนบน ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา มีคลื่นสูง 2-34 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.ค. 64
  • 12 – 13 ก.ค. 64 ร่องมรสุม และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะอ่อนกำลังลง
พื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก-หนักมาก

….

พยากรณ์อากาศ
ตั้งแต่เวลา 06.00 วันนี้ – 06.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง

  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา:
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป:
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

  • อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา:
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป:
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง

  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ผ่านปีใหม่ 2565 มาแล้ว สถานการณ์สภาพอากาศในประเทศไทย ยังคงได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศเย็น หรือความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาเป็นระลอก ๆ ทำให้สภาพอากาศยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว บริเวณประเทศไทยตอนบน แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่จะพัดเอาความชื้นจากอ่าวไทย เข้าไปยังบริเวณภาคใต้ ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง, ฝนตกหนักบางแห่งได้

ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 19 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส

ดังนั้นการติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศ สภาพอากาศวันนี้ จึงเป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพดินฟ้าอากาศ