ผู้พิพากษายิงตัวเอง

สภานิสิตจุฬาฯ ออกแถลงการณ์ ถึงกรณี “ผู้พิพากษาคณากร”

สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย I Student Council of Chulalongkorn University ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับกรณีของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ เนื้อหาในแถลงการณ์มีดังนี้ จากกรณีที่นายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นศาลจังหวัดยะลา…

Home / NEWS / สภานิสิตจุฬาฯ ออกแถลงการณ์ ถึงกรณี “ผู้พิพากษาคณากร”

ประเด็นน่าสนใจ

  • สภานิสิตจุฬาฯ มองเรื่องที่เกิดขึ้นกับ นายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาที่ยิงตัวเอง ถือเป็นการชี้ให้เห็นถึงรอยด่างแห่งกระบวนการยุติธรรม
  • ออกแถลงการณ์ขอให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ตามข้อเรียกร้อง

สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย I Student Council of Chulalongkorn University ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับกรณีของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ

เนื้อหาในแถลงการณ์มีดังนี้

จากกรณีที่นายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นศาลจังหวัดยะลา ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองภายในห้องพิจารณาคดี อาคารสำนักงานศาลจังหวัดยะลา จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ผู้พิพากษาคณากรได้เผยแพร่คำแถลงการณ์จำนวน ๒๕ หน้า มีประเด็นสำคัญที่ว่า

คดีความที่ผู้พิพากษาคณากรได้รับหน้าที่ให้ทำการพิจารณาตัดสินคดี เพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมอันเป็นคุณค่าสำคัญยิ่งของสังคม ได้รับกล่าวอ้างว่าถูกแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจในโครงสร้างระบบกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย อีกทั้งแถลงการณ์ของผู้พิพากษาคณากร ได้ระบุถึงข้อเรียกร้องจำนวน ๒ ข้อ หนึ่งในนั้นคือ

“เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติ ออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เพื่อห้ามการตรวจร่างคำพิพากษาก่อนอ่านให้คู่ความฟัง ทั้งห้ามกระทำใด ๆ อันมีผลเป็นการแทรกแซงผลคำพิพากษา”

อันถือเป็นแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดการแทรกแซง เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหาของคำพิพากษา การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาจะต้องเป็นอิสระจากการแทรกแซงทั้งปวง เพื่อให้คงไว้ซึ่งความยุติธรรมอันสะท้อนผ่านคำพิพากษาของศาล ซึ่งได้ระบุถึงเจตนารมณ์และหลักการของกฎหมาย ที่ได้รับการปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม

ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาคนหนึ่งซึ่งถือเป็นหนึ่งในตัวแทนของกระบวนการยุติธรรมออกมาพูดถึง “ความไม่เป็นอิสระของการพิจารณาพิพากษาคดี” เรื่องนี้ถือเป็นการชี้ให้เห็นถึงรอยด่างแห่งกระบวนการยุติธรรม ซึ่งก็ไม่มีสิ่งใดที่จะรับประกันได้ว่า จะไม่มีรอยด่างเช่นนี้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมอีก

สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อมั่นความยุติธรรมในฐานะ “คุณค่าอันจำเป็นอย่างยิ่งในสังคม”

ดังนั้น จึงใคร่ขอให้ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เป็นสมาชิกรัฐสภา ทั้งในส่วนสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี รวมถึงผู้มีอำนาจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามข้อเรียกร้อง

รวมถึงให้ความคุ้มครองดูแลผู้พิพากษาคณากรโดยเร็ว เพื่อให้สมดังแถลงการณ์ตอนหนึ่งของผู้พิพากษาคณากรที่ว่า คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน

เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน

[สรุป] ปมคดีต้นเหตุ ผู้พิพากษายิงตัวเอง ที่ศาลจังหวัดยะลา