อดีตมนุษย์เงินเดือน ผันตัวปลูก ‘เมล่อน’ เชิงเกษตรสังคมเมือง สร้างรายได้หลักแสน!!

ท่ามกลางตึกรามบ้านช่องที่ผุดขึ้นมาใหม่ทั่วพื้นที่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญของมนุษย์เรา ที่จะเสาะแสวงหาที่พัก ที่อยู่อาศัย แต่ก็ยังมีเกษตรกรอีกหลายรายใน จ.นนทบุรี ยังคงทำอาชีพทางการเกษตร ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน วันนี้ MThai News ขอพาทุกคน ไปพบกับหนึ่งในเกษตรกร บนเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด…

Home / NEWS / อดีตมนุษย์เงินเดือน ผันตัวปลูก ‘เมล่อน’ เชิงเกษตรสังคมเมือง สร้างรายได้หลักแสน!!

ท่ามกลางตึกรามบ้านช่องที่ผุดขึ้นมาใหม่ทั่วพื้นที่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญของมนุษย์เรา ที่จะเสาะแสวงหาที่พัก ที่อยู่อาศัย แต่ก็ยังมีเกษตรกรอีกหลายรายใน จ.นนทบุรี ยังคงทำอาชีพทางการเกษตร ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน วันนี้ MThai News ขอพาทุกคน ไปพบกับหนึ่งในเกษตรกร บนเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และเป็นเกษตรกรที่ปลูก ‘เมล่อน’ ที่เดียวบนเกาะเกร็ดเลยก็ว่าได้

นั้นคือ ‘กาญจนาฟาร์ม’ สวนเมล่อน ของคุณวุฒิพร เคี่ยมสมุทร หรือ คุณกื้อ อายุ 33 ปี อดีตพนักงานไอที ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ที่ผันตัวมาเป็นเกษตรกร เนื่องจากเบื่องานประจำ งานออฟฟิศที่จำเจ

โดยคุณวุฒิพร เปิดเผยว่าครอบครัวยึดอาชีพทางการเกษตรมานานหลายสิบปี ซึ่งแต่เดิมฟาร์มแห่งนี้เป็นสวนทุเรียน โดยปลูกหลากหลายสายพันธุ์ อาทิทุเรียน พันธุ์หมอนทอง ก้านยาว ต่อมาปี 2538 เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เกาะเกร็ด จนทำให้ต้นทุเรียนที่อยู่ภายในสวนเสียหายหมด

แต่ก็กลับมาเริ่มปลูกใหม่อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งปี 2554 ก็ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่อีกครั้ง จนครอบครัวตัดสินใจเลิกการปลูกทุเรียน

s__35020898

 

ทำไมถึงเห็นมาปลูก ‘เมล่อน’ ….?

“เนื่องจากเมล่อนเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว และมีช่องทางการตลาดที่กว้างเมื่อเทียบกับทุเรียนแล้ว ก็มีข้อแตกต่างกันมาก จริงๆแล้ว ได้เริ่มศึกษาและทดลองปลูกเมล่อนมาก่อนหน้านี้แล้ว ในช่วงก่อนปี 2554 โดยปลูกในพื้นที่ อ.ไทรน้อย แต่เนื่องจากเมล่อนเป็นพืชที่เปราะบาง เมื่อถูกสารเคมีจากนาข้าวรอบข้าง ก็จะเกิดความเสียหายทันที”

s__35020908

หลังผ่านช่วงวิกฤตน้ำท่วมปี 54 จึงตัดสินใจนำเมล่อนเข้ามาปลูกที่ฟาร์มแทนการปลูกทุเรียนทันที โดยเป็นสายพันธุ์ ‘เมล่อนญี่ปุ่น’
ใช้ระยะเวลาประมาณ 70-75 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว โดยที่ฟาร์มมีพืนที่ประมาณ 20 ไร่ แต่จะปลูกแบบสลับแปลงกันไป
ซึ่งต่อเดือน ในพื้นที่ 4-5 ไร่ จะปลูกต้นเมล่อนได้ประมาณ 5,000 ต้น และได้ผลผลิตประมาณ 3 ตัน

ซึ่งจะปลูกครั้งละ 6 ไร่ หมุนเวียนกันไปเพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การเพาะปลูกในแต่ละช่วงจะไม่เหมือนกันอย่างเช่นถ้าเป็นช่วงน้ำขึ้น จะลดจำนวนการเพาะปลูกลงเพื่อป้องความเสียเสียจากปริมาณน้ำ ในช่วงที่มีน้ำขึ้นสูง จึงทำให้ที่ฟาร์มต้องวางแผนเตรียมการในแต่ละช่วงเป็นพิเศษ

s__35020912

ในส่วนการเพาะปลูกหลังจากลงเมล็ดแล้ว ต้องพ่นยาป้องกันแมลงศัตรูพืชทันที ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 วัน ต้นเมล่อนก็จะมีขนาดความสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร หลังจากนั้นอีก 15 วัน ก็จะเริ่มติดดอก ซึ่งเริ่มเป็นช่วงที่ต้องดูแลเพิ่มขึ้นอีกเนื่องจาก จะมี ‘เพลี้ยไฟ’ ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจ ในช่วงหน้าร้อนจะมีปริมาณเยอะ

หากมี ‘เพลี้ยไฟ’ อยู่ในต้นนั้นๆ ก็จะรื้อถอนทันที เนื่องจากเพลี้ยไฟจะมีเชื้อโรคที่สร้างความเสียหากส่งผลกระทบต่อผลผลิตอย่างมาก
จึงต้องมีการฉีดยาฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ และหลังจากนั้นอีกประมาณ 30-35 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตมาจำหน่ายได้

อย่างไรก็ตามในแต่ละช่วงฤดู ปัญหาก็จะไม่เหมือนกันอาทิ ถ้าเป็นช่วงหน้าร้อน แมลงศัตรูพืชก็จะมีเยอะกว่าปกติ ช่วงหน้าฝนก็จะมาพร้อมโรคพืชต่างๆ และในฤดูหนาวลูกเมล่อนก็จะมีขนาดเล็กลง ซึ่งที่ผ่านมาลองผิดลองถูกหลายต่อหลายครั้ง

s__35020897

สำหรับช่องทางการตลาดในช่วงแรกๆ ถือว่าลำบาก เนื่องจากมีคู่แข่งเยอะ ซึ่งปัจจุบันนี้จะมีบริษัทเข้ามารับผลผลิตโดยตรง กว่า 80 % ส่งขายภายในประเทศ หากคิดเป็นราคาขายส่งเฉลี่ย 40-50 บาท/กิโล ราคาปลีก 90 บาท/กิโล ในกรณีที่มีนักท่องเที่ยวสนใจเข้ามาซื้อในฟาร์มโดยตรง ซึ่งคุณวุฒิพรเผยว่าต่อเดือนแล้วสามารถสร้างรายได้ถึง 6 หลักต่อเดือน ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตด้วย

ทั้งนี้ยังเตรียมต่อยอดจาก ‘เมล่อน’ ที่มีตำหนิไม่ได้จำหน่าย นำมาแปรรูปเป็นน้ำเมล่อน โดยจะทดลองจำหน่ายภายในฟาร์มพร้อมจัดสถานที่มีมุมถ่ายรูปสวยๆ ให้กับนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาเที่ยวชมภายในฟาร์ม

เรื่อง/ภาพ ธเนตร พุทธิตระกูล

ติดตามสกู๊ปข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ news.mthai.com

MThai News

s__35020896

s__35020907
s__35020899

s__35020900

s__35020901

s__35020906

s__35020910