ข่าวสดวันนี้ วันวิชัยทศมี

รวมภาพใน พิธี ‘นวราตรี’ บูชาพระแม่อุมาเทวี เมื่อคืนที่ผ่านมา

ที่ วัดพระศรีมหาอุมาเทวีหรือวัดแขก สีลม ศิษยานุศิษย์ศาสนาพราหมณ์ฮินดู นิกายศักติ ร่วมกันจัดงานแห่ประเพณีเนื่องในวันวิชัยทศมี หรือ วันฉลองชัยชนะขององค์พระแม่มหาทุรคา (พระอุมาเวทวี) ที่ได้นำความสงบและความสันติกลับมาสู่มวลมนุษย์อีกครั้ง ซึ่งเป็นพิธีกรรมสุดท้ายของเทศกาลนวราตรีบวงสรวงบูชาองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี 9 วัน 9 คืน…

Home / NEWS / รวมภาพใน พิธี ‘นวราตรี’ บูชาพระแม่อุมาเทวี เมื่อคืนที่ผ่านมา

ประเด็นน่าสนใจ

  • เสร็จสิ้นแล้วอย่างยิ่งใหญ่ งานบูชาพระแม่อุมาเทวี ‘นวราตรี’ ปี62
  • เทศกาลนวราตรี เป็นเทศกาลประจำปีของชาวฮินดู ซึ่งคำว่า “นวราตรี” หมายถึง “เก้าคืน” ในภาษาสันสกฤต
  • มหาชนจากทุกสารทิศแห่ร่วมเนื่องแน่น ที่วัดแขก ย่านสีลม

ที่ วัดพระศรีมหาอุมาเทวีหรือวัดแขก สีลม ศิษยานุศิษย์ศาสนาพราหมณ์ฮินดู นิกายศักติ ร่วมกันจัดงานแห่ประเพณีเนื่องในวันวิชัยทศมี หรือ วันฉลองชัยชนะขององค์พระแม่มหาทุรคา (พระอุมาเวทวี)

ที่ได้นำความสงบและความสันติกลับมาสู่มวลมนุษย์อีกครั้ง ซึ่งเป็นพิธีกรรมสุดท้ายของเทศกาลนวราตรีบวงสรวงบูชาองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี 9 วัน 9 คืน ตามคติความเชื่อของชาวฮินดู ที่จัดมาตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา อย่างยิ่งใหญ่

วันวิชัยทศมี
วันวิชัยทศมี ที่วัดแขก

ทั้งนี้มีคลื่นมหาชนเดินทางจากทั่วทุกสารทิศเพื่อมาร่วมงานอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นจำนวนมาก สำหรับพิธีกรรมดังกล่าว ได้มีการจัดขบวนแห่อัญเชิญเเทวรูปพระพิฆเนศวร เทวรูปพระศรีมหาอุมาเทวี และเทวรูปพระแม่ซูลัมกาลี จากหน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ไปตามถนนสีลม

เข้าสู่ถนนนราธิวาส ถนนสาทร และถนนสุรศักดิ์ ก่อนวนกลับมาหน้าวัดตามเดิม ท่ามกลางมีบรรดาผู้ศรัทธาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาร่วมพิธีกรรมอย่างเนืองแน่น ส่วนใหญ่แต่งกายด้วยชุดขาวหรือชุดสาหรีแบบชาวอินเดีย นอกจากนี้ยังมีการตั้งโต๊ะหมู่บูชาองค์เทพ เพื่อรอรับพรจากมหาเทพตลอดเส้นทางขบวนแห่ผ่านกันอย่างคึกคัก

วันวิชัยทศมี
มหาชนจากทุกสารทิศเข้าร่วมเนืองแน่น

สำหรับ เทศกาลนวราตรี เป็นเทศกาลประจำปีของชาวฮินดู ที่หนึ่งปีจะมีเพียงครั้งเดียว สำหรับในปี 2562 นี้ เทศกาลนี้จะมีช่วงวันที่ 29 กันยายน ถึง 8 ตุลาคม 2562 ซึ่งคำว่า “นวราตรี” หมายถึง “เก้าคืน” ในภาษาสันสกฤต

ซึ่งในช่วงเก้าคืนนี้จะมีการบูชาพระแม่ทุรคา และพระแม่ปารวตีในปางต่างๆ 9 ปางด้วยกัน ในวันสุดท้ายของเทศกาลจะเรียกว่าเป็น วันวิชยาทศมี หรือ วันดูเซร่า ซึ่งเป็นวันที่สำคัญสุดของเทศกาลนี้ และจะมีการเฉลิมฉลองทั่วไปทั้งประเทศอินเดีย