แร่ใยหิน สารก่อมะเร็งร้าย ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด

มะเร็ง…โรคร้ายที่คร่าชีวิตประชากรโลกอันดับ 1 ติดต่อกันมาแล้วหลายสิบปี โดยจากข้อมูลล่าสุดพบคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ถึงปีละกว่า 67,000 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยราว 120,000 คนต่อปี ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนที่ประสบกับปัญหาโรคมะเร็ง คือ… กลุ่มผู้ใช้แรงงาน…

Home / NEWS / แร่ใยหิน สารก่อมะเร็งร้าย ภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด

ประเด็นน่าสนใจ

  • แร่ใยหิน เป็นเส้นใยละเอียดฟุ้งกระจายได้ง่าย หากสูดหายใจเข้าไปจะก่อให้เกิดโรค
  • มีการรายงานว่ามีชาวไทยป่วยโรคเหตุใยหินทั้งสิ้น 385 ราย
  • เคยมีการทำ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 แต่แร่ใยหินก็ยังไม่หมดไปจากสังคมไทย
  •   สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 จึงทบทวน มาตรการทําให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน

มะเร็ง…โรคร้ายที่คร่าชีวิตประชากรโลกอันดับ 1 ติดต่อกันมาแล้วหลายสิบปี โดยจากข้อมูลล่าสุดพบคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ถึงปีละกว่า 67,000 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และพบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยราว 120,000 คนต่อปี ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนที่ประสบกับปัญหาโรคมะเร็ง คือ… กลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือช่างก่อสร้าง ที่ต้องเผชิญกับปัญหาจาก “แร่ใยหิน” โดยไม่รู้ตัว และคนส่วนใหญ่อาจยังไม่รู้จักแร่ใยหินมากนัก

รู้จัก “แร่ใยหิน” ภัยเงียบใกล้ตัว

แร่ใยหิน (Asbestos) คือ แร่ธรรมชาติที่ปนอยู่ในเนื้อหิน ประกอบด้วยธาตุแมกนีเซียม เหล็ก ซิลิเกต และธาตุอื่นๆ มีลักษณะเป็นเส้นใยละเอียดที่มีขนาดเล็กและฟุ้งกระจายได้ง่ายในบรรยากาศ ซึ่งเราสามารถสูดหายใจหรือรับประทานเข้าไปได้ตลอดเวลาหากไม่ได้รับการป้องกันอย่างถูกวิธี แร่นี้ถูกนํามาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น กระเบื้องมุงหลังคากระเบื้องแผ่นเรียบ ฝ้าเพดาน กระเบื้องยาง ไวนิลปูพื้น ผ้าเบรก ฉนวนกันความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น

โรคภัยจากแร่ใยหิน

โรคปอดอักเสบ เกิดจากการหายใจรับเส้นใยเข้าไปทําให้ปอดแข็งเป็นพังผืด และอาจลามไปที่กระบังลมและเยื่อบุช่องท้อง เมื่อปอดแข็งเป็นพังผืดจะทําให้เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หายใจลําบาก มีอาการเจ็บหน้าอกและตัวเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน โรคนี้อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงการทํางานระหว่างปีที่ 7 ถึงปีที่ 9 และอาจทําให้ผู้รับ สัมผัสเส้นใยเสียชีวิตได้ในช่วงปีที่ 13 ในรายที่ได้รับเส้นใยเป็นปริมาณมากอาจเสียชีวิตได้ในช่วงเวลาที่สั้นกว่า

โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง มักจะเกิดกับผู้ที่สัมผัส แร่ใยหิน ชนิด ครอซิโดไลท์ และ อะโมไซท์ มะเร็งชนิดนี้อาจลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ เช่น กระเพาะและคอหอย ผู้ที่เป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดชนิดนี้จะมีอาการหายใจขัด เจ็บหน้าอก และรายที่เป็นในเยื่อบุช่องท้อง จะมีอาการท้องบวมโต และปวดท้อง ยิ่งกว่านั้นผู้ที่สูบบุหรี่จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งปอด มากขึ้นอีก

ประวัติผู้ป่วยจากแร่ใยหินในไทย

จากการทบทวนรายงานผู้ป่วยโรคแร่ใยหินในฐานข้อมูล Health Data Center (HDC) ของ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2554-2559 พบว่า มีรายงานจํานวนผู้ป่วยโรคเหตุใยหินทั้งสิ้น 385 ราย โดยแบ่งเป็น มะเร็งเยื่อเลื่อม (เมโสเธลิโอมา) 243 ราย และพังผืดในปอดจากใยหินและเยื่อหุ้มปอดหนา ตัวเป็นหย่อม 142 ราย จึงมีความจําเป็นที่ต้องรีบสร้างและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพต่อไปด้วย ส่วนฐานข้อมูลความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพในกลุ่มผู้นําสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินไปใช้ ที่ยังไม่มีหลักฐานจากรายงาน การศึกษาในประเทศไทย แต่มีรายงานการศึกษาในต่างประเทศและการฟ้องคดีเรียกร้องความเสียหายอย่างมากมาย จากการใช้สินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ

“สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” มาตรการทําให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน

แร่ใยหิน จึงมีผลร้ายต่อสุขภาพของคนเรา โดยเฉพาะกับคนที่ทํางานสัมผัสแร่ใยหินในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา, กระเบื้องแผ่นเรียบ , ฝ้าเพดาน, ผ้าเบรก ฯลฯ  จึงถูกหยิบยกเป็นหนึ่งในวาระการประชุม สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง มาตรการทําให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน และคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554 เห็นชอบให้ดําเนินการตามมติ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่สามารถทําให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินได้เท่าที่ควร ปัจจุบัน จึงเกิดการทบทวนเรื่องดังกล่าวอีกครั้งและนำเข้าสู่การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมปลายปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยการสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่นและชุมชนยกเลิกการใช้แร่ใยหิน ส่งเสริมการใช้สารทดแทนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เผยแพร่ความรู้ พัฒนา ระบบเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยง รวมถึงการวิจัย เพื่อผลักดันสังคมไทยยกเลิกการใช้แร่ใยหินในที่สุด

จากการรวบรวมข้อมูลปริมาณการนําเข้าแร่ใยหิน 16 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 – 2560 พบว่าปริมาณนําเข้าสูงสุด คือ พ.ศ. 2545 คือ 181,344 ตัน และเริ่มลดลงในปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากมี ผู้ผลิตบางรายปรับวิธีการผลิตโดยใช้วัสดุทดแทนแร่ใยหิน หลังจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ 2553 ปริมาณการนําเข้าแร่ใยหินในปี 2554-2559 มีแนวโน้มลดลง แต่ในปี 2560 เริ่มมีการเพิ่มขึ้นของปริมาณการนําเข้าแร่ใยหิน

“ทบทวนมาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12

การทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทําให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ถูกนำเข้าสู่การประชุม สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ในวันที่ 18 – 20 ธันวาคม 2562 เพราะตระหนัก | กังวล | ชื่นชม | รับทราบ | ห่วงใย | ตระหนัก

ตระหนัก ว่าแร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ที่มีผลต่อสุขภาพไม่เฉพาะต่อคนงานที่ทํางานในสถานประกอบกิจการที่ใช้แร่ใยหินเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบทางสุขภาพต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย อีกทั้งใน ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่ใช้สารทดแทนที่ปลอดภัยผลิตวัตถุชนิดต่าง ๆ ทดแทนชนิดที่ใช้แร่ใยหินแล้ว โดยมีคุณสมบัติเสมอกันกับผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินไครโซไทล์

กังวล ต่อปริมาณการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศ ที่ยังคงมีการนําเข้าอย่างต่อเนื่อง และใช้ในผลิตภัณฑ์หลายประเภท จากข้อมูลปี 2559 ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีอัตราการนําเข้าแร่ใยหินสูง อันดับ 5 ของโลก ขณะที่ทั่วโลกยกเลิกการใช้แร่ใยหินไปแล้ว 66 ประเทศ

ชื่นชม การทํางานของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมผลักดันมาตรการทําให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ภาคธุรกิจเอกชนที่มีการใช้สาร ทดแทนแร่ใยหินไครโซไทล์ ภาครัฐที่ให้ความสนับสนุน รวมถึง สื่อมวลชนที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

รับทราบ ว่าการจัดการสิ่งที่รื้อถอนที่มีแร่ใยหินต้องจัดการแบบขยะอันตราย และมีวิธีการรื้อถอน สิ่งก่อสร้างที่มีแร่ใยหินได้อย่างปลอดภัยต่อคนงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการความรู้ไปอย่างกว้างขวาง และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งนําไปเป็นข้อบังคับท้องถิ่นในการรื้อถอน

ห่วงใย ว่าหากประเทศไทยยังไม่มีมาตรการที่มุ่งไปสู่การเลิกใช้แร่ใยหิน และไม่มีนโยบาย และมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการกระจายของฝุ่นแร่ใยหินสู่สิ่งแวดล้อม จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคร้ายแรง ที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลทั้งทางด้านทรัพยากรบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ตระหนัก ว่าการทําให้สังคมไทยปลอดภัยจากแร่ใยหินควรเป็นการจัดการแบบบูรณาการทั้งทางด้าน การรณรงค์สร้างความรู้ ความตระหนัก ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ปลอดแร่ใยหิน การเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยง รวมถึงการพัฒนาให้มีกฎหมายที่เข้มงวดและนําไปใช้อย่างจริงจัง เพื่อมุ่งไปสู่การเลิกใช้แร่ใยหินในที่สุด โดยภาคส่วนที่มีบทบาทสําคัญ ได้แก่ภาคการศึกษา องค์กรที่ดูแลและบังคับใช้กฎหมาย องค์กรที่ดูแลระบบหลักประกันสุขภาพ ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม สื่อมวลชน ภาคประชาชน และ ภาคประชาสังคม

          ถึงวันนี้กว่า 60 ประเทศทั่วโลกประกาศยกเลิกแร่ใยหินไปแล้ว แต่ประเทศไทยมีการนำเข้ากันอยู่และยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยมะเร็งจากแร่ใยหิน ปีละไม่ต่ำกว่า 10-12 ราย

“เมื่อไหร่…สังคมไทยจะไร้แร่ใยหิน”