วินิจฉัยผิด วินิจฉัยโรคผิด

ภรรยาลูกเดินหน้า “ขอรับผลเวชระเบียน” กรณี รพ.วินิจฉัยผิด ทำสามีตาย

ที่หน้าโรงพยาบาลเกษมราษฏร์​ ประชาชื่น นางกิ่งกาญจน์ หมื่นหาญ อายุ 38 ปี ภรรยาของนายศุภชัย อธิภาคย์ อายุ 45 ปี ผู้จัดการวิศวกรไฟฟ้าบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง พร้อมบุตรชาย และนายอดิศักดิ์…

Home / NEWS / ภรรยาลูกเดินหน้า “ขอรับผลเวชระเบียน” กรณี รพ.วินิจฉัยผิด ทำสามีตาย

ประเด็นน่าสนใจ

  • ทนายความพาผู้เสียหาย ซึ่งเป็นภรรยาและลูกชาย​ เดินทางติดต่อ ขอผลเวชระเบียน​ หลังทางครอบครัวร้องว่า แพทย์ผู้รักษา​ ได้วินิจฉัยโรค​ ผิดพลาดจนเป็นเหตุให้สามีเสียชีวิต
  • ภรรยาอ้าง แพทย์วินิจฉัยโรคผิดพลาด จากโรคหัวใจตีบเป็นโรคกระเพาะ

ที่หน้าโรงพยาบาลเกษมราษฏร์​ ประชาชื่น นางกิ่งกาญจน์ หมื่นหาญ อายุ 38 ปี ภรรยาของนายศุภชัย อธิภาคย์ อายุ 45 ปี ผู้จัดการวิศวกรไฟฟ้าบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง พร้อมบุตรชาย และนายอดิศักดิ์ อธิภาคย์ ทนายความ

เดินทางติดต่อขอรับผลเวชระเบียน รายชื่อแพทย์ผู้รักษา และภาพจากกล้องวงจรปิดหลังแพทย์ผู้รักษาอาการป่วยของผู้เสียหาย ได้วินิจฉัยโรคผิดพลาด จากโรคหัวใจตีบเป็นโรคกระเพาะ จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต

ทั้งนี้นางกิ่งกาญจน์ กล่าวว่า คืนวันเกิดเหตุ สามีมีอาการเจ็บหน้าอกซ้ายและแขนซ้าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เหนื่อยและหายใจลำบาก คล้ายจะเป็นโรคหัวใจ จึงรีบไปให้หมอตรวจวินิจฉัยอาการที่ รพ.ดังกล่าว

ซึ่งแพทย์ได้ตรวจอาการพร้อมซักประวัติแล้วก็ระบุว่า การที่สามีจุกเสียดแล้วเจ็บหน้าอกนั้นเป็นผลมาจากโรคกระเพาะอาหาร มีแก๊สดันทำให้จุกเสียด จึงจ่ายยาบรรเทาอาการและเฝ้าดูผู้ป่วยประมาณ 1 ชั่วโมง

ก่อนแพทย์จะปล่อยให้กลับบ้านไปนอนพักในเวลาประมาณ 23.00 น. แต่ตนได้ยินเสียงสามีสำลัก ก่อนจะชักเกร็ง ตาเหลือกและน้ำลายฟูมปาก จึงเรียกลูกชายมาช่วยปั๊มหัวใจพร้อมโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนกู้ภัย แต่ก็ไม่ทันการณ์ สามีจึงเสียชีวิตไปในเวลา 00.00น. วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา

ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นการตายผิดธรรมชาติ จึงส่งไปตรวจที่ รพ.ธรรมศาสตร์ รังสิต ผลออกมาว่าสามีเสียชีวิตจากอาการเส้นเลือดหัวใจตีบถึง 2 เส้น

ส่วนนายอดิศักดิ์ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ทางครอบครัวได้มาขอคัดลอกเวชระเบียนที่ รพ.ตามสิทธิ์ แต่ทางโรงพยาบาลกลับอ้างว่าต้องใช้เวลา 7 วัน

ขณะเดียวกัน เมื่อขอดูข้อมูลของแพทย์ พบว่าเพิ่งเป็นหมอเรียนจบใหม่แต่กลับให้มาวินิจฉัย

นอกจากนี้ จะขอตรวจดูเวชระเบียนการรักษาหลังทราบข่าวว่าทางโรงพยาบาลได้ยื่นเอกสารให้กับ สบส.แล้ว ระบุว่าแพทย์ได้ตรวจคลื่นหัวใจและเอ็กซ์เรย์ พร้อมฉีดสี แต่เนื่องจากขณะที่แพทย์ได้ตรวจรักษา

ทราบว่าใช้เวลาเพียง 10 นาที เท่านั้น จึงอยากทราบว่าเป็นเอกสารดังกล่าวเป็นของจริงหรือไม่ และเหตุใดจึงใช้เวลาขอเวชระเบียนนาน

โดยในวันนี้ทางโรงพยาบาลได้นัดมาพบในเวลา 16.00 น. ก็จะขอเอกสารต่างๆ รวมถึงรายชื่อแพทย์พยาบาลที่รักษา พร้อมกับภาพวงจรปิดเพื่อตรวจสอบต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เพื่อการนำเสนอเนื้อหาที่ดี รวมถึงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากคุณใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆนั้น แสดงว่าคุณยอมรับนโยบายคุกกี้และนโยบายส่วนบุคคลของเรา