ครม. ธุรกิจก่อสร้าง มาตรการเยียวยาโควิด ร้านอาหาร

ครม.ไฟเขียว 7.5 พันล้านบาท เยียวยาก่อสร้าง-ร้านอาหาร ใน 6 จังหวัด

การเยียวยาในระบบ ลูกจ้างได้เงินชดเชย ร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน กับเงิน 2,000 บาท นายจ้าง ได้รับ 3,000 บาท/หัวลูกจ้าง

Home / NEWS / ครม.ไฟเขียว 7.5 พันล้านบาท เยียวยาก่อสร้าง-ร้านอาหาร ใน 6 จังหวัด

ประเด็นที่สำคัญ

  • ล่าสุด ครม. เตรียมเยียวยาช่วยเหลือ ลูกจ้าง-นายจ้าง 6 จังหวัด ทั้งในและนอกระบบ
  • ใช้วงเงินประมาณ 7.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นเงินจากกองทุนประกันสังคม และเงินกู้ตามพ.ร.ก.
  • การเยียวยาในระบบ ลูกจ้างได้เงินชดเชย ร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน กับเงิน 2,000 บาท นายจ้าง ได้รับ 3,000 บาท/หัวลูกจ้าง
  • การเยียวยานอกระบบ ลูกจ้างได้รับ 2,000 บาทต่อหัว เเต่ไม่ได้จ่ายชดเชย นายจ้างได้รับ 3,000 บาท/หัวลูกจ้าง

ครม. เห็นชอบ เยียวยาลูกจ้าง-นายจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดไซต์งานก่อสร้าง และร้านอาหาร

วันนี้ (29 มิ.ย.2564) ที่ประชุมคณะคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการสั่งปิดไซต์งานก่อสร้าง และร้านอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจากการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร เป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยแบ่งออกเป็น

  • ธุรกิจไซต์งานก่อสร้าง
  • ธุรกิจร้านอาหาร

โดยมาตรการที่ออกมาเป็นมาตรการพิเศษที่ออกมาในช่วงเวลา 1 เดือนในการดูแลทั้งแรงงาน ลูกจ้าง และนายจ้างทั้งในระบบและนอกระบบโดยใช้วงเงินประมาณ 7.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นเงินจากกองทุนประกันสังคม 3.5 พันล้านบาท และเงินกู้ตามพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจากโควิด-19 วงเงิน 1 ล้านล้านบาทจำนวน 4 พันล้านบาท ที่ยังมีวงเงินเหลืออยู่มาใช้จ่ายในส่วนนี้โดยมีมาตรการต่างๆ

การเยียวยาช่วยเหลือทั้งในและนอกระบบ ดังนี้

ระบบประกันสังคม

  • กรณีลูกจ้าง จ่ายชดเชยกรณีเหตุสุดวิสัย ร้อยละ 50 ของฐานเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท นอกจากนี้ยังได้ “เงินเพิ่มเติม” จำนวน 2,000 บาทต่อราย
  • กรณีนายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง ในบริษัท ที่มีแรงงานสูงสุดไม่เกิน 200 คน

นอกระบบประกันสังคม

  • กรณีลูกจ้าง จะได้รับเงิน 2,000 บาทต่อหัว แต่ไม่ได้เงินชดเชยร้อยละ 50 เนื่องจากจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน
  • ส่วนกรณีนายจ้าง จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างเช่นเดียวกัน

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง สามารถขึ้นทะเบียนผ่าน “ถุงเงิน” (หมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม) ได้ภายใน 1 เดือน โดยกระทรวงมหาดไทยจะลงไปตรวจสอบ

ทั้งนี้ กรอบวงเงินที่รัฐบาลเตรียมไว้ทั้งหมด 7,500 ล้านบาท แบ่งเป็นกองทุนประกันสังคม 3,500 ล้านบาท และเงินกู้ 4,000 ล้านบาท