ภาษีความเค็ม

สรรพสามิต เผย อยู่ระหว่างการเร่งศึกษา จัดเก็บภาษีความเค็ม

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการเร่งศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ขยายฐานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าความเค็ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ โดยจะเก็บภาษีตามสัดส่วนของความเค็ม หรือปริมาณโซเดียม หากเค็มมากจะเสียภาษีในอัตราสูง คาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอให้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง พิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้…

Home / NEWS / สรรพสามิต เผย อยู่ระหว่างการเร่งศึกษา จัดเก็บภาษีความเค็ม

ประเด็นน่าสนใจ

  • อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาขยายฐานการจัดเก็บภาษีสินค้าความเค็ม
  • ซึ่งจะเป็นการเก็บภาษีตามสัดส่วนของความเค็ม คาดพิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้
  • ทั้งนี้การจัดเก็บภาษีความเค็ม เป็นภาษีที่ไทยยังไม่เคยมีมาก่อน

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการเร่งศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ขยายฐานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าความเค็ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ

โดยจะเก็บภาษีตามสัดส่วนของความเค็ม หรือปริมาณโซเดียม หากเค็มมากจะเสียภาษีในอัตราสูง คาดว่าจะได้ข้อสรุปเพื่อเสนอให้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง พิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้

นายพชร กล่าวว่า ภาษีความเค็ม ถือเป็นภาษีตัวใหม่ที่กรมคิดจะจัดเก็บ ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยยังไม่มีมาก่อน มีแค่การจัดเก็บภาษีความหวาน แต่ในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วได้จัดเก็บไปหลายประเทศแล้ว

ซึ่งขั้นตอนขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัดส่วนความเค็มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขอยู่ หากได้ข้อมูลครบก็จะพิจารณาได้ว่าจะมีการจัดเก็บภาษีดังกล่าวหรือไม่มี

อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ามีความจำเป็นต้องเก็บภาษีความเค็ม กรมจะไม่ได้จัดเก็บในอัตราเดียวทันที แต่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการปรับตัว เพื่อลดปริมาณความเค็มในสินค้า หรือปรับสูตรผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพก่อน โดยจะให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัวประมาณ 1-2 ปี ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ระบุอัตราการจัดเก็บที่ชัดเจน

สำหรับสินค้าที่จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีความเค็ม เบื้องต้นจะคำนวณจากปริมาณโซเดียมต่อความต้องการบริโภค และจัดเก็บจากกลุ่มสินค้าอาหารปรุงสำเร็จ เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น แต่จะยังไม่มีการจัดเก็บภาษีความเค็มในสินค้าปรุงรส เช่น น้ำปลา เกลือ รวมถึงขนมขบเคี้ยวสำหรับเด็ก เนื่องจากมองว่าขนมเป็นอาหารที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ ในการประชุมองค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงกลุ่มสหประชาชาติ (UN) พยายามผลักดันให้หลายประเทศมีการออกนโยบายภาษีเพื่อลดการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะจะเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ตามมา อาทิ โรคไต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคความดันโลหิต กรมสรรพสามิต จึงมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องพิจารณา