ข่าวสดวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคำวิจฉัยศาล รธน. ย้ำ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดความเป็น รัฐมนตรี

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่ ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ…

Home / NEWS / ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคำวิจฉัยศาล รธน. ย้ำ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดความเป็น รัฐมนตรี

ประเด็นน่าสนใจ

  • ส.ส. 110 คน ร้องศาล รธน. ให้ตรวจสอบ บิ๊กตู่ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีหรือไม่ หลังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าคสช.
  • ศาลรับคำร้องแล้ววินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี
  • ตำแหน่งหัวหน้า คสช. เป็นตำแหน่งเกิดขึ้นเฉพาะ ไม่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่ ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า

ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ระกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (15) หรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เหตุเป็นเจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (15)

เนื่องจาก ตําแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ และมีอำนาจหน้าที่เฉพาะชั่วคราวไม่ใช่สถานะ ตําแหน่งหน้าท่ี หรือลักษณะงานทํานองเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ

และมิใช่เจ้าหน้าที่อ่ืนของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (15) ผู้ถูกร้องจึงไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (6) ประกอบมาตรา 98 (15)

โดยมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้

๑. ผู้ถูกร้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บริหารราชการแผ่นดิน ต้ังแต่วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมา

ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้บัญญัติรับรองหน้าที่และอํานาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติไว้ต่อไป

จึงถือว่าตําแหน่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นตําแหน่งท่ีได้รับแต่งต้ังโดยกฎหมาย นอกจากนี้ในขณะที่ผู้ถูกร้อง ดํารงตําแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีหน้าท่ีและอํานาจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ในบังคับหรือการกํากับดูแลของรัฐและต้องกระทําการภายใต้รัฐธรรมนูญ และกฎหมายของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีหน้าที่ และอํานาจหลายประการ และยังมีอํานาจในการออกคำสั่งที่มีผลในทางนิติบัญญัติและทางบริหารได้ด้วย

ซึ่งผู้ถูกร้องได้ออกคําส่ังอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีลักษณะ เป็นงานประจํา มีการจัดโครงสร้างและกําหนดตัวบุคคลผู้ผิดชอบอย่างชัดเจน และมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมาย ไปร้องทุกข์ดําเนินคดีกับบุคคลต่าง ๆ อีกด้วย

๒. ผู้ถูกร้องในฐานะหัวหนา้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับคำตอบแทนเป็นเงินประจําตําแหน่ง ๗๕,๕๙๐ บาทต่อเดือน และเงินเพิ่มอีก ๕๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน รวมเป็นเงิน ๑๒๕,๕๙๐ บาทต่อเดือน

๓. ขณะเข้ายึดอํานาจการปกครองประเทศ บางฝ่ายอาจถือว่าผู้ถูกร้องเป็นรัฏฐาธิปไตย์แต่เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับช่ัวคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับ

ความเป็นรัฏฐาธปิไตย์สินสุดลงเนื่องจากรัฐธรรมนญู ทั้งสองฉบับดังกล่าวได้บัญญัติรับรองว่าอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล


๔. ศาลยุติธรรมมีแนวคําพิพากษาว่าการฝ่าฝืนคําสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นความผิดอาญาฐานขัดคําส่ังเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๘ วรรคหน่ึง และแนวคําพิพากษาศาลฎีกาท่ีว่า “จําเลยเป็นเจ้าพนักงานเป็นเจ้าหน้าท่ีของรัฐ”

ซึ่งคําว่า “เจ้าพนักงาน” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๖) หมายความว่า บุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงาน หรือได้รับแต่งต้ังตามกฎหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไม่ว่าเป็นประจําหรือครั้งคราว และไม่ว่าจะได้รับ ค่าตอบแทนหรือไม่

นอกจากนี้ หากพิจารณาคําว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๑๕) มิได้หมายความว่า การเป็นเจ้าหน้าที่รัฐต้องมีตําแหน่งระดับเดียวกับการเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเท่าน้ัน แต่หมายถึงเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐทุกตําแหน่ง ที่มิได้มีกฎหมายระบุไว้เป็นการเฉพาะ

คำให้การของผู้ถูกร้อง หลังศาลรัฐธรรมนูญ รับวินิจฉัย มีดังนี้

๑. ตําแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ (๑) จึงได้รับยกเว้นการมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๑๒)

ส่วนตําแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เกิดขึ้นในคราวท่ีคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ายึดอํานาจ การปกครองประเทศ เมื่อวันท่ี ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗

โดยในวันดังกล่าวหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ลงนามในประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งสําคัญ ในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ลงวันท่ี ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ระบุชื่อผู้ถูกร้องเป็นหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และต่อมาในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งต้ังผู้ถูกร้องเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

มีอํานาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน โดยมิได้อาศัยอํานาจตามความในกฎหมายใด ตําแหน่งนี้จึงมิใช่ตําแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกต้ัง ตามกฎหมายในความหมายของการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตามระบบปกติ

๒. ตําแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐตามความหมาย และความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๑๕) แม้อาจเป็นเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามกฎหมายอื่นได้ก็ตาม

ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ถ้อยคํา ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายฉบับหน่ึง อาจมีความหมาย ต่างกันออกไปตามกฎหมายอื่น และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นตําแหน่งพิเศษเฉพาะกิจ และเฉพาะกาลที่มีผู้ดํารงตําแหน่งคนเดียวในประเทศไทย

และเป็นตําแหน่งเฉพาะตัว ไม่อาจเปล่ียนแปลง หรือแต่งตั้งผู้ใดแทนได้เพราะสืบเนื่องมาจากการดํารงตําแหน่งนี้ในช่วงเวลายึดอํานาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ เม่ือวันท่ี ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗

โดยระหว่างเวลาดังกล่าวมีฐานะเป็นรัฏฐาธิปไตย์ เนื่องจากเป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยไม่มีรัฐธรรมนูญ ไม่มีรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี หรือข้อจํากัดอํานาจตามกฎหมายใด

ทั้งยังสามารถออกประกาศหรือคําสั่งท่ีมีฐานะเป็นกฎหมายได้ (คําพิพากษาศาลฎีกาท่ี ๑๖๖๒/๒๕๐๕) นอกจากนี้ยังเป็นผู้นําความกราบบังคมทูลขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗

แม้เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราวดังกล่าว เมื่อวันท่ี ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เมื่อวันท่ี ๖ เมษายน ๒๕๖๐ แล้ว ตําแหน่งดังกล่าวจะไม่มีสถานะเป็นรัฏฐาธิปไตย์อีกต่อไป

แต่รัฐธรรมนูญ ทั้งสองฉบับก็รับรองตําแหน่งดังกล่าว ท้ังยังรับรองอํานาจพิเศษบางเรื่องเสมือนเมื่อครั้งเป็นรัฏฐาธิปไตย์ไว้ สรุปได้ว่าตําแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแหง่ชาติเป็นตำแหน่งพิเศษ และไม่อาจนํามาเทียบเคียงได้กับตําแหน่งใดในระบบกฎหมายและระบบบริหารราชการแผ่นดินปกติ

ทั้งไม่ได้เกิดจากการเลือกตั้ง หรือการแต่งตั้งโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายใด และยังมีอํานาจพิเศษ ซึ่งมิได้เป็นอํานาจตามปกติของบุคคล องค์กรหรือเจ้าหน้าท่ีอ่ืนใดในประเทศไทย ตลอดจนไม่ได้เป็นการปฏิบัติงานประจําตามปกติ

หากแต่เป็นงานพิเศษ ครั้งคราวตามโอกาสพิเศษที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ได้เกิดขึ้นก็ได้เพราะมีเงื่อนไขการใช้อํานาจเป็นการเฉพาะ ดังท่ีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๔

นอกจากนี้ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกํากับดูแลของรฐั ตามความหมายของคําเหล่านี้ที่ใช้ในระบบบริหารราชการแผ่นดินไม่ว่าตามกฎหมายใด

แม้จะได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมายก็ตาม อีกท้ังการทํางานก็อยู่ในรูปของคณะบุคคลที่เรียกว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามความหมายและความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๑๕)

๓. การเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจเป็นคนละสถานะกับการเป็นเจ้าพนักงาน เพราะกฎหมาย ต้องการใช้คําให้มีความหมายและความมุ่งหมายต่างกัน การท่ีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวน ๑๑๐ คน เข้าชื่อร้องต่อผู้ร้องโดยอ้างคําพิพากษาศาลฎีกาเป็นคนละประเด็น

ไม่ตรงกับรูปเรื่องตามคําร้องในคดีน้ี เพราะคําว่า “เจ้าพนักงาน” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๘ ในข้อหาไม่ปฏิบัติตามคําส่ัง ของเจ้าพนักงานเป็นการไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าหน้าท่ีของรัฐ

นอกจากน้ี รัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ ได้จําแนกประเภทเจ้าหน้าที่ของรัฐออกเป็นกลุ่ม ๆ อย่างชัดแจ้ง ตั้งแต่ (๑๒) – (๑๖) ซึ่งหากประสงค์ จะให้คําว่า “เจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐ” ในมาตรา ๙๘ (๑๕) มีความหมายครอบคลุมถึงผู้ท่ีทํางานของรัฐ

และได้รับค่าตอบแทนจากรัฐทุกประเภทก็ควรใช้คําว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามมาตรา ๙๘ (๑๕) เพียงคําเดียว การแยกเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐต่างหาก แสดงว่าประสงค์ให้มีความหมายเฉพาะในกลุ่ม หรือประเภททํานองเดียวกันน้ีและควรตีความอย่างแคบเพราะเป็นการจํากัดสิทธิของบุคคล

ดังน้ัน คําว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ” ในมาตรา ๙๘ (๑๕) ย่อมมีความหมายโดยนัยที่เทียบเคียงหรือเทียบเท่าได้กับบุคคลซึ่งมีที่มาสถานะและอํานาจหน้าท่ีอย่างพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ

ตามที่ระบุไว้ในตอนต้นของมาตรา ๙๘ (๑๕) ซึ่งตําแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ไม่อาจเทียบเคียงหรือเทียบเท่าได้ จึงไม่ถือว่าเป็นเจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐตามมาตรา ๙๘ (๑๕)

ผู้ร้องยื่นคําร้องเพิ่มเติมขอส่งบันทึกถ้อยคํายืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของ นายชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เข้าชื่อ สรุปได้ว่า คําว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๑๕) มิได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่มีตําแหน่งในระดับเดียวกับเจ้าหน้าท่ีของรัฐตําแหน่งต่าง ๆ ตามท่ีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว

และถ้อยคํานี้ได้บัญญัติไว้ในมาตราอื่นด้วย เช่น รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ วรรคห้า เป็นต้น นอกจากนี้ ความหมายของ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ได้ถูกบัญญัติไว้ ในกฎหมายหลายฉบับ และผู้ถูกร้องในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้อํานาจรัฐ ในทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และอํานาจทางปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔๔

ผู้ถูกร้องจึงเป็นเจ้าหน้าท่ีของรัฐหรือเจ้าหน้าที่อื่น ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๑๕) และตามคํานิยามในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔ และพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าท่ี พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔

คำพิจารณาคำร้อง ของศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคําร้อง คําร้องเพิ่มเติม คําชี้แจงข้กล่าวหา และเอกสารประกอบแล้ว เห็นว่า ประเด็นแห่งคดีตามคําร้องเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ทําการไต่สวนตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง

และกําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องส้ินสุดลงเฉพาะตัว เพราะเหตุเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๖) และมาตรา ๙๘ (๑๕) หรือไม่

ข้อเท็จจริงตามคําร้อง คําร้องเพ่ิมเติมคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและเอกสารประกอบฟ้องได้ว่า เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้ายึดและควบคุมอํานาจการปกครองประเทศ

โดยในวันดังกล่าว คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง การควบคุมอํานาจการปกครองประเทศ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับท่ี ๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งสําคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ซึ่งมีชื่อผู้ถูกร้องเป็นหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อํานาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอํานาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ต่อมาวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ถูกร้องเป็นหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน และเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗

โดยมาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไป ต่อมา เมื่อวันท่ี ๖ เมษายน ๒๕๖๐ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

โดยมาตรา ๒๖๔ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีท่ีตั้งข้ึนใหม่ ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญจะเข้ารับหน้าที่

และมาตรา ๒๖๕ วรรคหน่ึง บัญญัติให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ยังคงอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปคร้ังแรก ตามรัฐธรรมนูญจะเข้ารับหน้าที่

ประเด็นท่ีศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องส้ินสุดลงเฉพาะตัว เพราะเหตุเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหน่ึง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๖) และมาตรา ๙๘ (๑๕) หรือไม่ นั้น

มีข้อที่ต้องพิจารณาว่า ตําแหน่ง “หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ” เป็น “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๑๕) หรือไม่ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ความเป็นรัฐมนตรีส้ินสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ … (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ …”

โดยมาตรา ๑๖๐ บัญญัติว่า “รัฐมนตรีต้อง … (๖) ไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามมาตรา ๙๘ …” และมาตรา ๙๘ บัญญัติว่า “บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคล ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร … (๑๕) เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐ …”

พิจารณาแล้ว เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยให้ความหมายของคําว่า “เจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐ” ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) ซึ่งเป็นบทบัญญัติท่ีมีหลักการเดียวกัน กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๘ (๑๕) ไว้ดังปรากฏตามคําวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญที่ ๕/๒๕๔๓

สรุปได้ว่า การพิจารณาความหมายของคําว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ในมาตรา ๑๐๙ (๑๑) เป็นการตีความบทบัญญัติจํากัดสิทธิของบุคคลในการสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จึงต้องตีความอย่างแคบ การตีความถ้อยคําที่มีลักษณะนี้ ควรถือว่าคําทั่วไปที่ต่อมาจากคําเฉพาะหลายคําที่นํามาก่อนน้ันย่อมมีความหมายในแนวเดียวกัน กับคําเฉพาะที่นํามาข้างหน้า (ejusdem generis)

หมายความว่า ในกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมาย มีถ้อยคําเฉพาะต้ังแต่สองคําขึ้นไป และมีถ้อยคําที่เป็นคําทั่วไปตามหลังคําเฉพาะ คําทั่วไปน้ัน ต้องมีความหมายแคบกว่าความหมายธรรมดาของคํานั้น

โดยจะต้องมีความหมายเฉพาะในเรื่อง และประเภทเดียวกันกับคําเฉพาะที่มาก่อนหน้าคําทั่วไปนั้น สําหรับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๙ (๑๑) ที่บัญญัติว่า “เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐ” นั้น

คําว่า พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น เป็นถ้อยคําที่เป็นคําเฉพาะ สามารถบ่งบอกได้ว่าหมายถึงบุคคลใดบ้างอย่างชัดเจน ส่วนคําว่า “เจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐ” เป็นถ้อยคําท่ีมีลักษณะเป็นคําทั่วไป ยังไม่อาจบ่งชี้ได้ว่าหมายถึงบุคคลใดบ้าง

การตีความคำว่า เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

การตีความคําวา “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ซึ่งเป็นคําทั่วไป จึงต้องตีความโดยให้มีความหมายคล้ายคลึงกัน หรือในแนวเดียวกันกับคําว่า “พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการ ส่วนท้องถิ่น”

โดยคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๕/๒๕๔๓ ได้สรุปลักษณะของเจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐไว้ดังนี้

(๑) ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมาย
(๒) มีอํานาจหน้าที่ดําเนินการหรือหน้าท่ีปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจํา
(๓) อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกํากับดูแลของรัฐ
และ (๔) มีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทน ตามกฎหมาย

ดังน้ัน เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัตินิยามของคําว่า เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตามมาตรา ๙๘ (๑๕) ไว้ การตีความคําว่า เจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐ จึงต้องตีความให้สอดคล้องกับบริบท และเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติถึงคําว่า เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

กล่าวคือ รัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ ที่จะไม่ให้ข้าราชการเข้า มาเป็นนักการเมือง ดังที่ได้บัญญัติไว้ก่อนแล้วนมาตรา ๙๘ (๑๒) คือ “เป็นข้าราชการ ซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํานอกจากข้าราชการการเมือง”

แต่คําว่า ข้าราชการยังไม่ครอบคลุมถึงบุคคล ที่มีลักษณะเดียวกับข้าราชการ จึงได้บัญญัติมาตรา ๙๘ (๑๕) ไว้อีกว่า “เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐ”

อันเป็นเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนญู ท่ีนอกจากไม่ต้องการให้ข้าราชการเป็นนักการเมืองแล้ว ยังให้รวมถึงพนักงานหรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจด้วย ถ้อยคําท่ีบัญญัติถึงเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐจึงเป็นการบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมถึงบุคคลผู้มีคุณสมบัติและสถานะเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้าง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ

ซึ่งอาจมีช่ือเรียกเป็นอย่างอ่ืน ประกอบกับลักษณะ ต้องห้ามเป็นกฎหมายที่จํากัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความอย่างแคบ การตีความถ้อยคําท่ีมีความหมายทั่วไป ต่อท้ายคําเฉพาะหลายคํา ที่นําหน้ามาก่อนนั้น

จะต้องตีความคําท่ัวไปให้มีความหมายสอดคล้องกับคําเฉพาะ และแคบกว่าความหมายธรรมดาของคํานั้น โดยจะต้องมีความหมายเฉพาะในเร่ืองและประเภทเดียวกับคําเฉพาะ ซึ่งเป็นไปตามหลักการสากลทั่วไป

ตําแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมาจากการยึดอํานาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ และต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งต้ัง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ถูกร้อง เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน

เห็นได้ว่าการแต่งตั้งตําแหน่ง “หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ” เป็นผลสืบเนื่องมาจากการยึดอํานาจ และเป็นตําแหน่งที่ใช้อํานาจรัฏฐาธิปไตย์ซึ่งเป็นอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

โดยเห็นได้จาก การออกประกาศและคําสั่งหลายฉบับ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือกํากับดูแลของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐใด ทั้งเป็นตําแหน่งที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งโดยกฎหมาย

และไม่มีกฎหมายกําหนดกระบวนวิธีการได้มาหรือการเข้าสู่การดํารงตําแหน่ง โดยมีอํานาจหน้าท่ี เป็นการเฉพาะชั่วคราวในช่วงระยะเวลาหน่ึงเพื่อให้มีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศและประชาชน

ดังน้ัน ตําแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงไม่มีสถานะ ตําแหน่งหน้าท่ี หรือลักษณะงานทํานองเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และมิใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๑๕) ผู้ถูกร้องจึงไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๖) ประกอบมาตรา ๙๘ (๑๕)

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เพราะเหตุเป็นเจ้าหน้าท่ีอื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหน่ึง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๖) และมาตรา ๙๘ (๑๕)