ICT PCB ธุรกิจ เศรษฐกิจ เเผ่นวงจรพิมพ์

กสิกรไทย วิเคราะห์ การส่งออกวงจรพิมพ์ ปี 2564 จะขยายตัวมากกว่า 20%

หรือมีมูลค่าส่งออกราว 1,573 ถึง 1,626 ล้านดอลลาร์ฯ นำโดยความต้องการสินค้าในกลุ่ม ICT

Home / NEWS / กสิกรไทย วิเคราะห์ การส่งออกวงจรพิมพ์ ปี 2564 จะขยายตัวมากกว่า 20%

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย การส่งออก PCB ปี 64 จะขยายตัวถึง 20% เเละมีมูลค่าส่งออกสูงสุดถึง 1,626 ล้านดอลลาร์ฯ
  • ความต้องการอุปกรณ์การแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ ยังคงเติบโตในอัตราที่ลดลง
  • การฟื้นตัว PCB ปี 64 ยังอยู่ในความเสี่ยง ต้องจับตาต้นทุนราคาทอง หรือค่าขนส่งระหว่างประเทศ
  • ภาวะชิปตึงตัวทั่วโลกอาจส่งผลให้กดดันอุปทานของ PCB ได้บางช่วง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ การส่งออก PCB ปี 64 จะขยายตัวถึง 20% เเละมีมูลค่าส่งออกราว 1,573 ถึง 1,626 ล้านดอลลาร์ฯ

วันนี้ (25 มิ.ย. 64) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกที่เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นส่งผลให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า การส่งออกอุตสาหกรรมเเผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) ปี 2564 จะขยายตัวต่อเนื่องราว ร้อยละ 20.1 ถึง 24.1 หรือมีมูลค่าส่งออกราว 1,573 ถึง 1,626 ล้านดอลลาร์ฯ นำโดยความต้องการสินค้าในกลุ่ม ICT ซึ่งขับเคลื่อนโดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5G ที่เริ่มกลับมาดำเนินการได้หลังชะลอไปในปี 2563 และส่งผลให้ความต้องการอุปกรณ์สื่อสาร 5G ทั้งสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์โครงข่ายปรับตัวดีขึ้น

ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค อาทิ

  • อุปกรณ์ Smart devices
    • เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอัจฉริยะ (Smart home device)
    • นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart watch)

อีกทั้ง ช่วยพลิกฟื้นยอดขายยานยนต์ให้กลับมาเป็นบวก ถึงแม้การผลิตยานยนต์บางส่วนอาจยังเผชิญแรงกดดันจากการขาดแคลนชิปทั่วโลกแต่คาดว่าจะทยอยคลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของปี 2564

นอกจากนี้ ความต้องการอุปกรณ์การแพทย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งแบบพกติดตามตัวเพื่อวัดสัญญาณชีพ รวมถึงแบบวินิจฉัยทางการแพทย์ ยังคงเติบโตได้แต่ในอัตราที่ชะลอลงตามภาวะการแพร่ระบาดทั่วโลกที่ถึงแม้จะดีขึ้น แต่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่

จับตาต้นทุนราคาทอง หรือค่าขนส่งระหว่างประเทศ

การฟื้นตัวของการส่งออก PCB ไทยในปี 25​64 ยังอยู่ภายใต้สภาวะความเสี่ยงหลากหลายปัจจัยที่ยังคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะด้านต้นทุนการดำเนินงานที่ยังมีความผันผวน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนทางตรงอย่างราคาทองแดงที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง หรือต้นทุนค่าขนส่งระหว่างประเทศที่ยังอาจยังเผชิญความท้าทายหลายด้าน

ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

ขณะที่ภาวะชิปตึงตัวทั่วโลกอาจจะยังกดดันอุปทานของ PCB ได้บางช่วง ส่วนโจทย์ระยะข้างหน้าของอุตสาหกรรมการผลิต PCB ไทยนั้น ตลาดส่งออก PCB ของไทยอาจเปลี่ยนแปลงไปตามการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (De-Globalization) ที่กำลังเปลี่ยนภาพห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะการกระจายการลงทุนออกจากจีนไปยังประเทศที่อยู่ใกล้เคียงสำหรับการผลิต PCB ที่ไม่ซับซ้อนมากจนอาจส่งผลให้ประเทศที่เดิมเป็นคู่ค้าอาจก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งในด้านการผลิต PCB ของไทย อาทิ เวียดนาม

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันในสายการผลิต PCB ที่ไม่ซับซ้อนมาก ผู้ผลิต PCB สัญชาติไทยจำต้องพัฒนา PCB ที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ซึ่งมีอัตรากำไรที่สูงกว่า และสอดรับกับเทรนด์การผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะที่จะมีขนาดเล็กลงในอนาคต ​