ผลวิจัย วัคซีนโควิด-19 สถาบันวัคซีนแห่งชาติ โควิด-19

ผลวิจัยจุฬาฯ-สหรัฐ เผย ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ยับยั้งเชื้อสูงกว่า 50%

จากการตรวจภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัส (วิธี ELISA) จากจำนวนทั้งหมด 186 คน จึงมั่นใจว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ

Home / NEWS / ผลวิจัยจุฬาฯ-สหรัฐ เผย ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ยับยั้งเชื้อสูงกว่า 50%

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • รายงานผลวิจัยจุฬาฯ-สหรัฐ ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน Sinovac มีผลช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสที่ SARS-CoV-2 ได้ ร้อยละ 95
  • พบว่า การทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค หลังฉีดเข็ม 2 ยับยั้งเชื้อได้สูงกว่า 50%
  • สาเหตุคนที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นช้า อาทิเช่น เพศ อายุ โรคประจำตัว ระบบภูมิคุ้มกัน
  • รายงาน อาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนโควิด-19 ที่ผ่านมา

ผลวิจัยจุฬาฯ-สหรัฐ พบว่า หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ร้อยละ 95 มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส COVID-19

วันนี้ (24 มิ.ย.2564) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ รายงานผลการวิจัยในคนไทย หลังฉีดวัคซีนซิโนแวค ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐ) ได้ทำการทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีน ซิโนแวคครบ 2 เข็มต่อการยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องทดลอง

ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ยับยั้งเชื้อ COVID-19 ได้ ?

พบว่า พบว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน Sinovac ที่ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ มีผลช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสที่ SARS-CoV-2 ได้ โดยร้อยละ 95 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 2 มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส จากการตรวจภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัส (วิธี ELISA) จากจำนวนทั้งหมด 186 คน จึงมั่นใจว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ สำหรับการทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นาน 2 สัปดาห์ จำนวน 171 คน พบว่ามากกว่าร้อยละ 70 มีภูมิในระดับที่ยับยั้งเชื้อได้สูงกว่า 50%

สาเหตุคนที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นช้า

ในส่วนประชาชนทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจภูมิ หลังการฉีดวัคซีน แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความจำเป็นในตรวจภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีน เช่นเดียวกับแนะนำของ Center for Disease Control and Prevention และองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา

ส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นช้า มีสาเหตุจากการตอบสนองของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากัน จากหลายปัจจัย เช่น เพศ อายุ โรคประจำตัว ระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ทุกคนยังต้องป้องกันตนเอง เพื่อลดการติดเชื้อและแพร่เชื้อ

อาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนโควิด-19

กรมควบคุมโรค เปิดเผยข้อมูลข้อมูลระหว่างวันที่ 1-21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า อาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข จากระบบหมอพร้อม เเละ AEFI DDC พบ 5 อาการเเรกไม่พึงประสงค์ (ช่วงสังเกตอาการ 30 นาที)

  • ซิโนแวค: กล้ามเนื้ออ่อนแรง 4.7% คลื่นไส้ 7.3% ปวดกล้ามเนื้อ 7.9% ปวดศีรษะ 18.7% และปวด บวม บริเวณที่ฉีด 49.4%
  • แอสตราเซเนกา: ปวด บวม บริเวณที่ฉีด 12.5% เหนื่อย 14.6% ปวดกล้ามเนื้อ 19.1% ไข้ 21.1% และศีรษะ 21.4% หากเทียบอาการไม่พึงประสงค์ (หลังรับวัคซีน 1 วัน)
  • ซิโนแวค: ปวด บวม บริเวณที่ฉีด 11.6% ไข้ 11.8% เหนื่อย 15.8% ปวดศีรษะ 22.8% ปวดกล้ามเนื้อ 23.6%
  • แอสตราเซเนกา: ปวด บวม บริเวณที่ฉีด 9.9% เหนื่อย 12.7% ปวดศีรษะ 19.7% ปวดกล้ามเนื้อ 23% ไข้ 24.8%