ภาษี ภาษีความเค็ม

ความเค็มเพื่อถนอมอาหาร! อย่างปลาร้า ปลาเค็ม ไม่โดนภาษีความเค็ม

นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดเก็บภาษีความเค็ม ว่า การเก็บภาษีความเค็มจะเก็บจากโซเดียมเฉพาะที่ใช้เพิ่มรสชาติอาหารเท่านั้น แต่ร้านค้า หรือธุรกิจชุมชนที่ใช้ความเค็มเพื่อถนอมอาหาร เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ปลาร้า ปลาส้ม ปลาจ่อม…

Home / NEWS / ความเค็มเพื่อถนอมอาหาร! อย่างปลาร้า ปลาเค็ม ไม่โดนภาษีความเค็ม

ประเด็นน่าสนใจ

  • ก่อนหน้านี้ นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาขยายฐานการจัดเก็บภาษีสินค้าความเค็ม ซึ่งจะเป็นการเก็บภาษีตามสัดส่วนของความเค็ม คาดพิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้
  • สำหรับกลุ่มเครื่องปรุง อย่างปลาร้า เกลือ น้ำบูดู ไม่โดนภาษีความเค็ม
  • ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ยืนยัน นโยบายภาครัฐไม่ได้ต้องการจัดเก็บรายได้เยอะๆ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้ผู้ประกอบการลดปริมาณโซเดียมลง

นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดเก็บภาษีความเค็ม ว่า การเก็บภาษีความเค็มจะเก็บจากโซเดียมเฉพาะที่ใช้เพิ่มรสชาติอาหารเท่านั้น

แต่ร้านค้า หรือธุรกิจชุมชนที่ใช้ความเค็มเพื่อถนอมอาหาร เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ปลาร้า ปลาส้ม ปลาจ่อม กุ้งแห้ง กะปิ น้ำบูดู ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี

เช่นเดียวกับสินค้ากลุ่มเครื่องปรุง เช่น น้ำปลา เกลือ ซีอิ๊วขาว รวมถึงร้านค้าข้าวแกง อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ก็จะไม่เสียภาษีความเค็มด้วย

ส่วนอัตราการเก็บภาษีความเค็มจากโซเดียมนั้น อยู่ระหว่างพิจารณาปริมาณความเค็มว่าจะใช้มาตรฐานของหน่วยงานใดเป็นตัววัด เพราะองค์การอนามัยโลก ให้คำแนะนำปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมต่อร่างกาย คือ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

หากเฉลี่ยต่อมื้อก็ไม่ควรเกิน 600 มิลลิกรัม แต่ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้ให้คำแนะนำปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมต่อร่างกาย คือ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเฉลี่ยต่อมื้อก็สูงขึ้นอีกเล็กน้อย

ดังนั้นจะต้องหาข้อสรุปดังกล่าวก่อน รวมถึงให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัว 1-2 ปี คาดสิ้นปีนี้จะได้ข้อสรุป

นายณัฐกร ยืนยันด้วยว่านโยบายภาครัฐไม่ได้ต้องการจัดเก็บรายได้เยอะๆ เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้ผู้ประกอบการลดปริมาณโซเดียมลง เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะปัจจุบันพบว่าในผลิตภัณฑ์อาหารของไทยส่วนใหญ่ 60% มีปริมาณความเค็มเกินมาตรฐานที่ WHO กำหนดไว้ที่ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทของขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป