พาราควอต แบนสารเคมีเกษตร

กลุ่มเกษตรกร ค้านการแบน 3 สารเคมี ชี้สารใช้แทนต้นทุนสูงประสิทธิภาพต่ำ

สมาคมเกษตรปลอดภัยสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนและมังคุดแห่งประเทศไทย สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดชุมพรชมรมผู้ปลูกมะนาวแห่งประเทศไทย ศูนย์ประสานงานโรงานน้ำตาลลุ่มน้ำแม่กลอง กลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมข้าวโพดหวาน สมาคมส่งเสริมธุรกิจพืชอาหารสัตว์ สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย ประกาศความร่วมมือคัดค้านแบน 3 สาร พาราควอตไกลโฟเชต และคลอร์ไพรีฟอส วอนรัฐหยุดปล้นเกษตรกร…

Home / NEWS / กลุ่มเกษตรกร ค้านการแบน 3 สารเคมี ชี้สารใช้แทนต้นทุนสูงประสิทธิภาพต่ำ

ประเด็นน่าสนใจ

  • เกษตรกร 5 ล้านครัวเรือน คัดค้านการแบน 3 สาร
  • ชี้สารที่ให้ใช้ทดแทน มีคุณภาพต่ำกว่าของเดิม แถมต้นทุนสูงขึ้น
  • พร้อมเดินทัพกว่า 1,000 ราย ฟังการตัดสิน 22 ตุลาคม นี้

สมาคมเกษตรปลอดภัยสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนและมังคุดแห่งประเทศไทย สมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดชุมพรชมรมผู้ปลูกมะนาวแห่งประเทศไทย ศูนย์ประสานงานโรงานน้ำตาลลุ่มน้ำแม่กลอง กลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมข้าวโพดหวาน สมาคมส่งเสริมธุรกิจพืชอาหารสัตว์ สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย ประกาศความร่วมมือคัดค้านแบน 3 สาร พาราควอตไกลโฟเชต และคลอร์ไพรีฟอส วอนรัฐหยุดปล้นเกษตรกร พร้อมเกษตรกรกว่า 100 รายเดินทางไปรับฟังผลการตัดสินวันที่ 22 ตุลาคมนี้ ที่ กระทรวงอุตสาหกรรม

นายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย เปิดเผยว่าไทยเป็นประเทศกสิกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ต้องพึ่งพาน้ำฝนเอาแน่เอานอนไม่ได้บางปีก็แล้งบางปีก็ท่วม รวมทั้งพืชที่ปลูกส่วนใหญ่ก็ป้อน โรงงานอุตสาหกรรมหรือเรียกว่าเกษตรอุตาหกรรม สารเคมีเกษตรจึงเป็นปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการทำเกษตร อุตสาหกรรม เพราะไม่เพียงผลิตเพื่อใช้อุปโภหรือบริโภคในประเทศเท่านั้น แต่ยังแข่งขันกับตลาดโลก ไม่ได้ปลูกไว้ กินเองเหลือค่อยมาขายเหมือนในอดีต

เกษตรอุตสาหกรรมนี้เองคือตัวสำคัญที่สร้าง GDP ให้ประเทศได้มาที่สุดสร้างน็ดเงินหมุนเวียนให้กลับมากระจายในประเทศต่อไป

กลูโฟซิเนต มีราคาที่สูงประสิทธิภาพต่ำ

การจัดการแก้ไขปัญหาสารเคมีตัวยการยกเลิกสารนิดหนึ่ง แล้วภาครัฐแนะนำให้ใช้สารเคมีอีกชนิดหนึ่งแทน โดยเฉพาะกลูโฟซิเนต เป็นสิ่งที่เกษตรกรยอมรับไม่ได้ เนื่องจากสารดังกล่าวมีราคาที่สูงกว่าประสิทธิภาพต่ำกว่า และมีข้อมูลที่บอกว่าจะสะสมเป็นผลระยะยาวกับสุขภาพ

โดยหนึ่งเหตุผลที่ต้องการแบนสารเคมี เนื่องจากไม่ต้องการให้เกษตรกรใช้สารเคมี แต่กลับแนะนำสารเคมีให้ใช้อีกแสดงว่าหน่วยงานรัฐไปรับอะไรมาหรือไม่ ถึงมีความพยายามแบน และผลักดันกลูโฟชิเนตให้เกษตรกรใช้มากขนาดนี้

นอกจากนี้ ข้อเสนอแนะที่ให้เษตรกรใช้แรงงานหากคิดแค่เพียง 60 ล้านไร่ เฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้พาราควอต ได้แก่ผู้ปลูกอ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพาร ข้าวโพด กวานข้าโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ทุเรียน มะพร้าว ยังไม่รวมผลไม้ชนิดอื่น อาทิ แก้วมังกร มังคุด ฝรั่ง และอื่นๆ จะเสียคำใช้จ่ายแรงงานสูงถึง 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี

ธุรกิจเกษตรกลุ่มเก่า และ ธุรกิจเกษตรกลุ่มใหม่

การแบนสาร 3 ตัวนี้ เป็นการเปลี่ยนขั้วของภาคธุรกิจเกษตรสารเคมีเดิมยังอยู่ก็อยู่ในธุรกิจกลุ่มเก่า แต่ถ้าแบนได้ ก็ ไปสู่ธุรกิจกลุ่มใหม่ สุดท้ายเกษตรกรับกรรม เกษตรกรไมได้โง่แต่ไร้วาสนาใครที่รู้ตัวว่า “โดนหลอกใช้เป็นเครื่องมือ” หรือ “ไปรับอะไรมา” ขอให้กลับตัวเสียยังไม่สาย แต่ที่แน่นอนเกษตรกรหลายครอบครัว ขอประกาศไว้ ณ วันนี้ พรรคใดที่เป็นตันเหตุการแบน เลือกตั้งสมัยหน้าจะไม่ให้มีโอกาสมามีอำนาจเป็น ส.ส. อีก เกษตรกรจะแบนอย่างถึงที่สุด”