จีเอสพี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

จุรินทร์ ย้ำ! สหรัฐฯตัดสิทธิ์จีเอสพี “เป็นประเด็นเรื่องแรงงาน”

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิทางภาษี หรือ จีเอสพี โดยยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับการแบน 3 สารเคมีทางการเกษตรแต่อย่างใด แต่เป็นประเด็นเรื่องแรงงาน เพราะสหรัฐต้องการให้ไทยเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าว ที่มาทำงานอยู่ในประเทศไทยสามารถตั้งสหพันธ์แรงงานได้ โดยปัจจุบัน…

Home / NEWS / จุรินทร์ ย้ำ! สหรัฐฯตัดสิทธิ์จีเอสพี “เป็นประเด็นเรื่องแรงงาน”

ประเด็นน่าสนใจ

  • นายจุรินทร์ รมว.พาณิชย์ ยืนยัน สหรัฐฯตัดสิทธิ์จีเอสพี ไม่เกี่ยวกับการแบน 3 สารเคมีทางการเกษตร
  • แต่การที่ สหรัฐฯ ตัดสิทธิ์จีเอสพีเป็นประเด็นเรื่องแรงงาน
  • ผลกระทบต่อจากนี้ สินค้าของไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ จะต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐ จากเดิมที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ยังสามารถอุทธรณ์หรือขอให้ทบทวนใหม่ได้

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิทางภาษี หรือ จีเอสพี โดยยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับการแบน 3 สารเคมีทางการเกษตรแต่อย่างใด แต่เป็นประเด็นเรื่องแรงงาน เพราะสหรัฐต้องการให้ไทยเปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าว ที่มาทำงานอยู่ในประเทศไทยสามารถตั้งสหพันธ์แรงงานได้

โดยปัจจุบัน สหรัฐฯให้สิทธิจีเอสพี สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ รวมทั้งหมด 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยไม่ได้ใช้สิทธิ์เต็มตามจำนวนที่ให้สิทธิ์ โดยใช้สิทธิ์แค่ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

ส่วนประเด็นของการตัดจีเอสพี หมายความว่า ต่อไปนี้ สินค้าของไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ จำนวนยอดขายรวมกัน 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ จะต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐ จากเดิมที่ไม่ต้องเสียภาษี โดยภาษีที่ต้องเสียตกร้อยละ 4-5 โดยประมาณ ซึ่งทั้งหมดนี้หมายความว่าต่อไปนี้สินค้าไทย ที่จะส่งไปขายสหรัฐฯจะต้องมีภาระภาษีแทนที่จะไม่ต้องจ่ายภาษี

ซึ่งภาระทางภาษีแต่ละปี เมื่อคำนวณแล้วประมาณ 1,500 ถึง 1,800 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยสามารถที่จะอุทธรณ์หรือขอให้ทบทวนใหม่ได้ แต่ก็เป็นอำนาจของสหรัฐฯด้วยเช่นกัน ที่จะให้หรือไม่ให้ประเทศใดก็ได้

ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยอมรับว่า ในเรื่องนี้มีผลประโยชน์เกี่ยวพันหลายส่วนและเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง โดยกระทรวงแรงงานก็พร้อมร่วมมือหากมีการร้องขอข้อมูล แต่ยอมรับว่าแรงงานไทยเป็นไปตามมาตรฐานไทย และยังไม่เป็นมาตรฐานสากล ตามที่สหรัฐฯ ต้องการ

เนื่องจากส่วนตัวมองว่า ไม่เหมาะสมที่ชาวต่างด้าวที่อยู่เมืองไทยจะได้สิทธิ์มากกว่าคนไทย เช่น การก่อตั้งสหภาพใหญ่ แทนสหภาพโรงงาน หรือสหภาพยูเนี่ยน เพราะหากเกิดการประท้วงอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพใหญ่ได้

ม.ร.ว.จัตุมงคล ยังย้ำด้วยว่า ไม่มีประเทศใดสามารถจัดแรงงานทุกชนิดได้ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในฉบับที่ 87 และ 98 ที่สำคัญต่อแรงงานไทยและแรงงานต่างชาติ

อีกทั้ง ทางการไทยมีการต่อรองและเจราจากับสหรัฐฯตลอดเวลา แต่ยอมรับว่า ไม่คิดว่าจะยอมรับอนุสัญญาดังกล่าว เพราะเป็นรูปแบบของต่างชาติ เนื่องจากไทยต้องการใช้รูปแบบของไทย

อย่างไรก็ตาม ถือว่าเรื่องนี้ไม่ปกติและรุนแรง จึงอยากเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนั้นโดยตรง มากกว่าการเจรจาทางการทูต