พริษฐ์ วัชรสินธุ ไอติม ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ

สัมภาษณ์พิเศษ : ไอติม พริษฐ์ ย้ำชัด! เดินหน้าทำงานการเมืองต่อ

ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ นักการเมืองรุ่นใหม่ “อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์” กับบทบาทของนักเขียน เปิดตัวหนังสือเล่มแรก “WHY SO DEMOCRACY ประชาธิปไตยมีดีอะไร?” หนังสือที่เจ้าตัวบอกว่า ผู้หลายคนบอกต่อกันว่าอ่านแล้วเข้าใจง่าย ทำให้เข้าใจประชาธิปไตยได้ง่ายขึ้น ทาง…

Home / NEWS / สัมภาษณ์พิเศษ : ไอติม พริษฐ์ ย้ำชัด! เดินหน้าทำงานการเมืองต่อ

ประเด็นน่าสนใจ

  • พริษฐ์ วัชรสินธุ – ไอติม ได้เขียนหนังสือเล่มแรก “WHY SO DEMOCRACY ประชาธิปไตยมีดีอะไร?”
  • เจ้าตัวได้เปิดเผยถึง เส้นทางการเมืองในอนาคต

ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ นักการเมืองรุ่นใหม่ “อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์” กับบทบาทของนักเขียน เปิดตัวหนังสือเล่มแรก “WHY SO DEMOCRACY ประชาธิปไตยมีดีอะไร?” หนังสือที่เจ้าตัวบอกว่า ผู้หลายคนบอกต่อกันว่าอ่านแล้วเข้าใจง่าย ทำให้เข้าใจประชาธิปไตยได้ง่ายขึ้น

ทาง MThai ได้มีโอกาสสัมภาษณ์หนุ่มไอติม เกี่ยวกับการเขียนหนังสือเล่มนี้ เจ้าตัวได้บอกเล่าถึงที่มาที่ไปของการเขียนหนังสือ พร้อมเผย ถึงการทำงานทางการเมืองในอนาคต ติดตามอ่านรายงานพิเศษนี้ได้เลย

ที่มาที่ไปทำไมถึงเขียนหนังสือเกี่ยวกับ “ประชาธิปไตย”

ภายหลังถูกสำนักพิมพ์ ทาบทามทางสำนักพิมพ์ได้สอบถามว่าอยากเขียนเรื่องอะไร ตนมีความสนใจเรื่องประชาธิปไตย และเล่นการเมืองอยู่แล้ว จึงเลือกเขียนเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เลือกเขียนเรื่องประชาธิปไตย เพราะตนมองว่า สภาพแวดล้อมการเมืองในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าระบบประชาธิปไตยค่อนข้างถดถอย

ปัจจุบันยังมีหลายสิ่งหลายอย่างในสังคมที่ยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญปี 2560 ยังไม่ได้ให้ประชาชนมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่าเทียมกันในการกำหนดทิศทางของประเทศ ทุกคนอยากเห็นความเป็นประชาธิปไตย ครึ่งหนึ่งในสังคมก็มองว่า เรามีประชาธิปไตยไปแล้วภายหลังการเลือกตั้ง

ครึ่งหนึ่งที่ยังรู้สึกว่า เรายังห่างเหินกับประชาธิปไตย ตนอยากจึงอยากเชิญชวนทุกคนถอยออกมาหนึ่งก้าว เพื่อมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันว่า ประชาธิปไตยในนิยามของเรา เราพูดถึงสิ่งเดียวกันไหม ซึ่งในหนังสือจะมีการตั้งคำถามในหลายหลายด้าน หลายมิติ ที่เกี่ยวเนื่องกับประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระจายอำนาจ เรื่องระบบรัฐสภาพควรมี ส.ว. ไหม เรื่องวิวัฒนาการของประชาธิปไตย เรื่องประชาธิปไตยมีดีอะไร

รวมไปถึงการแตกประเด็นสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุดมการเสรีนิยมว่า เราควรรักชาติไหม เรื่องของความเหลื่อมล้ำ โดยในแต่ละบทไม่ได้มีคำตอบในตัว เป็นการเริ่มให้ประชาชนตั้งคำถาม หาคำตอบร่วมกัน

ภายหลังการเลือกตั้งแล้ว ยังไม่นับว่าเรามีความเป็นประชาธิปไตยอีกหรือ?

ในมุมมองของตน ตนยังไม่คิดว่า เราอยู่ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ แม้เราจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว ลำดับแรกอ้างอิงจากข้อมูล หากดูการจัดอันดับความเป็นประชาธิปไตยของแต่ละประเทศทั่วโลก โดยองก์กรนานาชาติ The Economist Intelligence Unit ประเทศไทยในปี 2018 อยู่อันดับที่ 106 เพราะฉะนั้นความเป็นประชาธิปไตยยังไม่เต็มใบ ในมุมมองของตน หาถามว่าอะไรในที่เป็นปัญหามากที่สุด ตนมองว่าวุฒิสภา

หากถามว่า ประชาธิปไตยในความหมายของแต่ละคนคืออะไร ตนคิดว่าทุกคนคงเห็นพ้องต้องกันว่า ประชาธิปไตยคือระบบ ที่ให้ประชาชนทุกคนมีหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงเท่ากัน ในการกำหนดทิศทางของประเทศ

หากเรามาดูรัฐธรรมนูญปัจจุบันเราจะเห็นว่า 30-40 ล้านเสียงของประชาชนในวันเลือกตั้งถูกแปลงมาเป็น 500 เสียงในสภา หรือ 500 ส.ส. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี ในขณะที่มี 250 ส.ว. ถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ 10 คน ถูกคัดเลือกมาเป็น 250 เสียงในสภา

เพราะฉะนั้นในเชิงคณิตศาสตร์ 30-40 ล้านเสียง ถูกแปลงเป็น 500 เสียง แต่อีก 10 คนจิ้มเลือก 250 เสียง นี่คือการแสดงให้เห็นถึงความไม่สมดุลย์ เป็นอุปสรรคสำคัญ ท้ายที่สุดแล้วคงหลีกเลี่ยงการบอกว่า ปัจจุบันเป็นไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้

การพัฒนาประชาธิปไตย ในมุมมองของไอติม พริษฐ์

สำหรับพัฒนาประชาธิปไตยตนมองแยกเป็นสองด้านด้านแรกคือเรื่องระบบตนมองว่า ปัจจุบัน ระบบมันมีปัญหา เรื่องรัฐธรรมนูญที่เขียนในส่วนของวุฒิสภา ทางตนได้มีการตั้งกลุ่มแล้วธรรมนูญก้าวหน้า เป็นกลุ่มที่พยายามแลกเปลี่ยนและยื่นข้อเสนอต่างๆ ที่เรามองว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา อาจจะทำให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นจะไปแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต

ในอีกมุมบนก็มองว่าประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมด้วยเหมือนกัน นั่นหมายความว่าประชาชนทั่วไปในสังคมมีความเชื่อศรัทธาในประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน ในโรงเรียนครูให้สิทธิในการแสดงออกกับนักเรียนมากน้อยแค่ไหน ในบริษัทมีการรับฟังเสียงพนักงานมากน้อยแค่ไหน ที่กล่าวมาคือส่วนของวัฒนธรรม ที่เราสามารถช่วยกันสร้างได้ ไม่ว่ารัฐธรรมนูฐจะเขียนไว้อย่างไร

อยากให้สนใจการอภิปราย พ.ร.บ. งบประมาณฯ เพราะทุกคนจ่ายภาษี

ไอติม พริษฐ์ กล่าวว่า ได้มีโอกาสดูการอภิปราย พ.ร.บ. งบประมาณฯ63 ที่ผ่านมา พร้อมระว่า อยากให้ประชาชนให้ความสำคัญ เพราะท้ายที่สุดแล้วประชาชนทุกคนคือคนที่จ่ายภาษี ถึงแม้บางท่านอาจจะไม่ได้มีรายได้ในระดับที่ต้องเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคล แต่ก็จ่ายภาษี (vat) ในทุกๆ สินค้าที่เราซื้อ เพราะฉะนั้นเงินของเราถูกนำไปใช้ทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนควรจะติดตาม

เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันบ่อย สำหรับประเด็นการใช้งบประมาณ ที่เยอะหรือน้อย สำหรับการใช้จ่ายงบประมาณในมุมมองของตนมองว่า สิ่งที่สำคัญกว่าปริมาณคืองบถูกใช้อย่างคุ้มค่าหรือเปล่า ตนมองว่า เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องความคุ้มค่า และไม่ควรยึดติดเรื่องของปริมาณว่ามันมากขึ้นหรือน้อยลง

(ปัจจุบันพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ผ่านวาระแรกไปแล้ว ขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาในวาระที่ 2 และวาระที่ 3)

อนาคตทางการเมือง วางแผนไว้อย่างไร

ตนยังมีความเชื่อมั่น ว่าการทำงานการเมืองในระบบรัฐสภาเป็นการแก้ไขปัญหา สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนที่สุด เพราะฉะนั้นยังคงมีความต้องการที่จะกลับเข้ามาทำงานการเมือง และในวันที่พร้อมก็อยากจะมาขอโอกาสจากประชาชนผ่านการเลือกตั้งอีกครั้ง

ปัจจุบันตนมีสถานะที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง หากมีการลงเลือกตั้งอีกครั้ง ก็ต้องมองหาพรรคการเมืองที่มีอุดมการตรงกันกับตัวเอง หากไม่มีพรรคใดเลย ท้ายที่สุดอาจเป็นไปได้ว่า จะตั้งพรรคการเมืองใหม่