GSP นายกรัฐมนตรี

นายกฯ เผยเจรจาสหรัฐคืน GSP เคยทำสำเร็จมาหลายครั้งแล้ว

ที่ ทำเนียบรัฐบาล ตึกบัญชาการ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม. ) ในกรณีสหรัฐอเมริกามีคำสั่งระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร GSP (จีเอสพี) กับสินค้าจากไทย…

Home / NEWS / นายกฯ เผยเจรจาสหรัฐคืน GSP เคยทำสำเร็จมาหลายครั้งแล้ว

ประเด็นน่าสนใจ

  • สหรัฐฯ ประกาศตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย 573 ราย
  • นายกรัฐมนตรี เผยเราเคยเจรจากับสหรัฐฯสำเร็จมาหลายครั้งแล้ว ยันอย่ากังวล
  • ชี้หากระยะยาว จำเป็นต้องหาตลาดใหม่ทดแทน

ที่ ทำเนียบรัฐบาล ตึกบัญชาการ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม. ) ในกรณีสหรัฐอเมริกามีคำสั่งระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร GSP (จีเอสพี) กับสินค้าจากไทย

โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้ชี้แจงแล้ว ซึ่งอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ซึ่งเรื่องนี้มีการทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของกระทรวงแรงงาน และกระทรวงพาณิชย์ มาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว มีการเจรจากันมาทุกปี แต่ครั้งนี้เมื่อเขาประกาศออกมา เราก็จำเป็นต้องไปดูสิ่งที่เป็นปัญหามันอยู่ตรงไหน เพื่อหาทางเจรจาพูดคุยกัน อย่างไรก็ตาม เราเคยเจรจาขอคืนสิทธิในเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว โดยปีก่อนก็ได้คืนมา 7 รายการ

ทั้งนี้ นายกฯ กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้มีผลเฉพาะกับประเทศไทย ประเทศในอาเซียนก็โดนไปด้วย อันนี้เป็นสิทธิของเขา โดยคณะทำงานของเขา แต่ถ้าเรามองวิกฤตเป็นโอกาส ก็ต้องพยายามเจรจาในระยะสั้น ขอคืนสิทธิให้ได้โดยเร็ว จะมีการยกขึ้นเจรจาภายใต้กรอบการตกลงทางการค้าการลงทุนไทย-สหรัฐฯ ต่อไป

และในระยะยาวสิ่งที่เราต้องทำคือหาตลาดใหม่ ทดแทนตลาดเดิม ได้แก่ รัสเซีย ยุโรปตะวันออก อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา เป็นต้น ส่วนการใช้ประโยชน์จากประเทศไทยในการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี FTA13 กรอบความตกลงอาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู ฮ่องกง และการขยายการลงทุนไปยังประเทศที่ได้รับสิทธิจีเอสพีสหรัฐ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีมากกว่าไทย ถือเป็นการขยายตลาด ขยายการลงทุน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนั้นยังต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการแข่งขัน สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า ยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าให้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรองรับสถานการณ์การค้าในตลาดโลกที่แข่งขันเสรีได้ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

“ขอให้พวกเราอย่าวิตกกังวลเรื่องนี้ให้มากนัก อันนี้จำเป็นต้องหารือกับภาคเอกชนของเราด้วย ว่ามีมาตรการช่วยเหลืออะไรกันอย่างไร เป็นธรรมดาเมื่อมีการให้ ก็มีสิทธิจะเรียกคืนของเขา เราต้องไปดูในเรื่องแรงงานอีกด้วย เหตุผลก็คือในเรื่องของแรงงาน มีกฎหมายหรือบางมาตรการที่เราปฏิบัติไม่ได้ เพราะว่าเป็นเรื่องภายในของเรา

ซึ่งต้องระมัดระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอื่นๆ อีกหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิประโยชน์เรื่องของสหภาพของแรงงานต่างด้าว หลายประเทศก็ไม่ได้ทำเหมือนกับเรา เดี๋ยวไปดูอีกที ก็อย่าเอาไปยึดโยงกับเรื่องนู้นเรื่องนี้เลย มันไม่เกิดประโยชน์ วันนี้ก็ขอให้ลดผลกระทบในเรื่องเหล่านี้ ฝากไปถึงประชาชน สังคม ให้ลดในเรื่องนี้ลงไป มันจะไม่มีผลดีต่อการพูดคุยในอนาคต ”

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่ากรณีดังกล่าวเกี่ยวกับการแบน 3 สารพิษการเกษตรในประเทศไทยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้อง ถามว่าไม่เกี่ยวได้อย่างไรในเมื่อสินค้าของสหรัฐฯ มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท ไม่สามารถส่งมาไทยได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขของ WTO พล.อ.ประยุทธ์ ตอบกลับว่า ” ก็เดี๋ยวมีการเจรจา “