ฝนทิ้งช่วง สถานการณ์น้ำ

สถานการณ์น้ำในประเทศไทย เตรียมรับมือ “ฝนทิ้งช่วง”

นอกจากนี้ ปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำ มีน้อย

Home / NEWS / สถานการณ์น้ำในประเทศไทย เตรียมรับมือ “ฝนทิ้งช่วง”

ประเด็นน่าสนใจ

  • สถานการณ์น้ำในประเทศไทย มีน้ำใช้ได้ราว 42.8% จากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ
  • ปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เหลือน้ำใช้ได้เพียง 7%
  • กรมชลประทานแนะนำให้เลื่อนการปลูกไปก่อนสำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ลงมือปลูก

แม้ว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมา จะมีฝนตกมาเป็นระยะๆ แต่เนื่องจากในช่วงฤดูฝนของปี 2563 ปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำในประเทศไทยมีไม่มากนัก ซึ่งได้มีการบริหารจัดการน้ำใช้มาจนถึงในช่วงฤดูฝนปี 2564 นี้

แต่ปริมาณฝนในช่วงที่ผ่านมา มีปริมาณฝนไม่มากนัก และปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนหลักทั่วประเทศในขณะนี้ ยังมีมีไม่มากพอ และคาดว่า ในช่วงหลังวันที่ 20 มิ.ย. ไปจนถึง เดือน ก.ค. 64 จะเกิดฝนทิ้งช่วง ทำให้สถานการณ์น้ำในประเทศไทยดูเหมือนจะเพียงพอต่อการทำการเกษตร

น้ำในอ่างเก็บน้ำ/เขื่อน มีใช้งานได้ 12%

สำหรับสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ประเทศไทยมีอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ รวมทั้งประเทศ 412 อ่าง มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 2588 ล้าน ลบ.ม. จากความจุดทั้งหมด 5141 ล้าน ลบ.ม. และสามารถใช้ได้จริง 2201 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 42.8%

ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ รวม 35 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 32,197 ล้าน ลบ.ม. (ราว 45.39%) จากความจุรวม 70,928 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสามารถใช้ได้จริงเพียง 8,655 ล้าน ลบ.ม. หรือราว 12% เท่านั้น

ถ้าแบ่งออกมาเฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 7,920 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 32% ของความจุอ่างฯรวมกัน ซึ่งจะมีน้ำที่สามารถใช้การได้ 1,224 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 7% เท่านั้น

กรมชลประทานแนะนำเลื่อนปลูกไปก่อน

จากสถานการณ์น้ำต้นทุนในเขื่อนต่าง ๆ มีน้อย และคาดว่า ฝนจะทิ้งช่วงในหลังจากเดือน 20 มิ.ย. – ก.ค. 64 ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่เพียงพอต่อการส่งน้ำให้พื้นที่เกษตร จึงขอให้เกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูก ขอให้ชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อน จนกว่าจะมีปริมาณฝนตกในพื้นที่สม่ำเสมอและมีปริมาณน้ำเพียงพอ สำหรับพื้นที่ที่เพาะปลูกไปแล้ว กรมชลประทาน จะทำการจัดสรรน้ำตามรอบเวรให้กับพื้นที่การเกษตร และให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ในขณะเดียวกัน สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ลงมือเพาะปลูก ทางกรมชลประทานแนะนำให้เลื่อนการเพาะปลูกไปก่อน จนกว่าจะมีปริมาณฝนตกสม่ำเสมอ


ที่มา

  • สำนักงานทรัพยากรน้ำ
  • กรมชลประทาน