แชร์ แชร์ลูกโซ่ แชร์ลูกโซ่แม่มณี

สังเกตลักษณะแชร์ลูกโซ่ อ้างผลตอบแทนสูง ทำสูญเสียทรัพย์สิน

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แจ้งย้ำเตือนอีกครั้งหนึ่งถึงการถูกชักชวนให้ร่วมลงทุนในแชร์ออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ โดยอ้างว่าจะให้ผลตอบแทนสูง เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังในการถูกชักชวนและถูกหลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน ซึ่ง สศค. ได้เน้นย้ำให้ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด เนื่องจากการชักชวนผู้อื่นเข้าร่วมลงทุนในแชร์ออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ)…

Home / NEWS / สังเกตลักษณะแชร์ลูกโซ่ อ้างผลตอบแทนสูง ทำสูญเสียทรัพย์สิน

ประเด็นน่าสนใจ

  • ชักชวนผู้อื่นเข้าร่วมลงทุนแชร์ลูกโซ่อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
  • สำหรับผู้เสียหายที่ถูกหลอกในลักษณะแชร์ลูกโซ่ ควรรีบดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุ เพื่อไม่ให้คดีขาดอายุความ

นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แจ้งย้ำเตือนอีกครั้งหนึ่งถึงการถูกชักชวนให้ร่วมลงทุนในแชร์ออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ โดยอ้างว่าจะให้ผลตอบแทนสูง เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังในการถูกชักชวนและถูกหลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน

ซึ่ง สศค. ได้เน้นย้ำให้ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงมาโดยตลอด เนื่องจากการชักชวนผู้อื่นเข้าร่วมลงทุนในแชร์ออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 (พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ) ซึ่งปัจจุบันมีบุคคลโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเล่นแชร์ผ่านทางเฟซบุ๊ค หรือแอปพลิเคชันไลน์ซึ่งแพร่หลายในกลุ่มบุคคลที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว เช่น กรณีคดีแชร์แม่มณี เป็นต้น

สศค. ขอแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังและอย่าหลงเชื่อกับการชักชวนให้เข้าร่วมลงทุนในแชร์ออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการกระทําความผิดตามพระราชกําหนดการกู้ยืมเงินฯ

วิธีสังเกตลักษณะของแชร์ลูกโซ่มีดังนี้

(1) มีการชักชวนให้ประชาชนเข้าร่วมลงทุน

(2) เสนอผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น

(3) ผู้ที่ชักชวนประกอบธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้ประกอบธุรกิจใด ๆ แต่ใช้วิธีการหมุนเวียนเงิน

(4) เมื่อไม่สามารถหาสมาชิกมาลงทุนเพิ่มได้ก็จะปิดกิจการหนีไป

การชักชวนให้ร่วมลงทุนในแชร์ออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ส่งผลให้สมาชิกที่ร่วมลงทุนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินจำนวนมาก สำหรับประชาชนที่ถูกชักชวนหรือถูกหลอกลวงให้เข้าร่วมลงทุนในแชร์ออนไลน์ไปแล้วและรู้ตัวว่าจะเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของท่าน

ขอให้ท่านแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ (เพื่อไม่ให้คดีขาดอายุความ)

หรือส่งเรื่องร้องเรียนมาที่สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สศค. ซึ่ง สศค. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายให้ถึงที่สุด

หากท่านมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามได้ที่ ส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ถนนพระรามที่ 6 เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2169 7128 ถึง 36 ต่อ 153 – 161 หรือศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ โทร. 1359 หรือ ตู้ปณ.1359 ปณจ.บางรัก กรุงเทพฯ 10500 หรือ e-mail 1359@mof.go.th

สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 169 7127 ถึง 36 ต่อ 158 หรือศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สายด่วน 1359 กด 1