กุ้งเครย์ฟิช ข่าวต่างประเทศ จีน อุตสาหกรรม

‘เครย์ฟิชในนาข้าว’ อุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 2.5 แสนล้านบาท ในจีน

20 ปีในการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งในนาข้าวสู่ระดับอุตสาหกรรม สร้างรายได้ให้เกษตรกรมากกว่า 4 เท่าตัว

Home / NEWS / ‘เครย์ฟิชในนาข้าว’ อุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 2.5 แสนล้านบาท ในจีน

ประเด็นน่าสนใจ

  • จีนใช้เวลาราว 20 ปีในการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งในนาข้าวเพื่ออุตสาหกรรม
  • มีการพัฒนาต่อยอดทั้งในแง่ของสายพันธุ์กุ้ง – การขนส่ง – แปรรูป – เมนูอาหาร
  • ทำให้กลายเป็นอุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 2.5 แสนล้านบาท
  • ส่งผลให้เกษตรกรที่เคยมีรายได้หลักจากข้าวปีละ 3-4 แสนบาท/ปี มีรายได้จากกุ้งเครย์ฟิชมากกว่า 1.2 ล้านบาทต่อปี

หลังผ่านพ้น 20 ปีแห่งการสำรวจ สร้างสรรค์ และพัฒนา ในที่สุด ‘เมืองเฉียนเจียง’ แห่งมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน ก็กลายเป็นผู้นำในการสร้างระบบมาตรฐานทางเทคนิคของห่วงโซ่อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชในนาข้าว

ณ สิ้นปี 2020 เมืองเฉียนเจียงมีพื้นที่นาข้าวเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชรวมทั้งหมด 850,000 หมู่ (ราว 354,166 ไร่) และมีมูลค่าผลผลิตประจำปีในอุตสาหกรรมดังกล่าวสูงถึง 5.2 หมื่นล้านหยวน (ราว 2.52 แสนล้านบาท)

ปัจจุบัน เมืองเฉียนเจียงเป็นที่ตั้งของกลุ่มธุรกิจการแปรรูปอุตสาหกรรมกุ้งเครย์ฟิชเฉียนเจียงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และมีการส่งออกผลิตภัณฑ์จากบริษัทเหล่านี้ไปยังประเทศและภูมิภาคกว่า 30 แห่ง

กุ้งเครย์ฟิชเป็นที่ต้องการ/ใช้น้ำไม่มาก

กุ้งเครย์ฟิชเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมในประเทศจีน และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งออกได้อีกด้วย ซึ่งการเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิชมีการประยุกต์ปรับปรุงจากผู้ปลูกข้าว และการเลี้ยงปลามาก่อน เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์น้ำในนาข้าวไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมาก และเป็นการผสมผสานการใช้ประโยชน์

ซึ่งในประเทศจีนมีการใช้แนวทางนี้ในการทำการเกษตรแบบผสมผสานมาเป็นเวลาหลายปีก ทำให้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ปลา-กั้ง ที่สามารถเลี้ยงได้ร่วมกับการปลูกข้าวในนา อีกทั้งราคาของกุ้งเครย์ฟิชมีราคาสูงกว่าข้าว จึงทำให้จากการเลี้ยงเพื่อเสริมรายได้ กลับกลายเป็นอีกหนึ่งรายได้หลักที่ร่วมกับการทำเกษตรแบบเดิมที่ได้รายได้ราว 6-70,000 หยวนต่อปี (ราว 3-3.5 แสนบาท/ปี) จากการปลูกข้าว เพียงอย่างเดียว กลายเป็นรายได้จากกุ้งเครย์ฟิชราว 250,000 หยวนต่อปี หรือกว่า1.2 ล้านบาทต่อปี จากราคากุ้งที่สูงกว่า และความต้องการที่มีมากกว่า

การต่อยอดอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมกุ้งเครย์ฟิช ยังมีการพัฒนาในแง่ของการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์กุ้ง เพื่อให้ดีขึ้น ร่วมกับการพัฒนาวิธีการเลี้ยงโดยไม่ต้องใช้สารเคมีอันตราย เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชมีความปลอดภัยอีกด้วย

ในขณะเดียวกันยังเพิ่มการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการรักษาความสดใหม่ ของกุ้ง เพื่อใช้ในการทำอาหารในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อคงสภาพความสด-อร่อยของกุ้งเครย์ฟิชให้ได้มากที่สุด เพื่อคุณภาพที่ดีอีกด้วย ทั้งยังมีการศึกษา-ค้นคว้าเพิ่มเติมในอุตหกรรมอาหารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น สูตรอาหารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกุ้งเครย์ฟิชทั้งในจีน-ยุโรป เพื่อเข้าใจถึงกรรมวิธีการปรุงในแต่ละเมนู เพื่อนำกลับมาประยุกต์ใช้สำหรับการพัฒนาการจัดส่ง, การแช่แข็ง,การแปรรูปในแบบต่าง ๆ

นอกจากนี้ เปลือกของกุ้งเครย์ฟิชยังมีการนำไปใช้ในการสกัดสารไคติน ซึ่งถูกใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ จึงทำให้สามารถนำไปใช้และส่งออกได้อย่างครบวงจร

ซึ่งถือเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำในนาข้าว ไปจนถึงปลายน้ำที่อาหารบนโต๊ะ ตลอดในช่วงเวลาราว 20 ปีที่ผ่านมา จนทำให้กุ้งเครย์ฟิชกลายเป็นอุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้าน และกลายเป็นรายได้หลักของชาวนาอีกด้วย


ที่มา – ซินหัว